Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศาสนาชินโต, ศาสนา, ชินโต , then ชนต, ชินตา, ชินโต, ศาสน, ศาสนา, ศาสนาชินโต, สาสนา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ศาสนาชินโต, 260 found, display 1-50
  1. ชินโต : น. ชื่อศาสนาดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง มีคําสอนให้เคารพบูชาธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แม่นํ้า.
  2. ศาสน, ศาสนา : [สาสะนะ, สาดสะนะ, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือ ของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรม เกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อม ทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความ เชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).
  3. เลิกพระศาสนา : ก. ยกย่องพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง.
  4. สัตถุศาสนา : น. คําสั่งสอนของพระศาสดา คือพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศาสฺตฺฤ).
  5. ศาสนิกชน : ดู ศาสน, ศาสนา.
  6. ศาสนูปถัมภก : ดู ศาสน, ศาสนา.
  7. คตินิยม : น. แบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกัน ที่เป็นลักษณะของกลุ่มชน เช่น คตินิยมของกลุ่มวิชาชีพ คตินิยมทาง ศาสนา คตินิยมทางการเมือง. (อ. ideology).
  8. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและ บําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้ สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือ ส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
  9. ชาติ ๒, ชาติ ๒ : [ชาด, ชาดติ] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมือง ของประเทศ, กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกันหรืออยู่ในปกครองรัฐบาล เดียวกัน, ประชาชาติ ก็ว่า.
  10. เทศน์, เทศนา : [เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทาง ศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยาย หมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์ เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).
  11. มนุษยศาสตร์ : [มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทาง จิตใจและงานของคนมีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย+ศาสฺตฺร). (อ. humanities).
  12. ล้างโลก : ก. ทำลายโลก เช่นสงครามล้างโลก; (ศาสนา) ทำให้โลก หมดความชั่วเช่น ไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก.
  13. ศาสนจักร : [สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อํานาจปกครองทาง ศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่าย คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความ ว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
  14. ศาสนกิจ : น. งานทางศาสนาที่ภิกษุสามเณรเป็นต้นปฏิบัติ เช่น การทำวัตรสวดมนต์และการเผยแผ่ศาสนาเป็นศาสนกิจของสงฆ์.
  15. ศาสนธรรม : น. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติ ตามศาสนธรรมในศาสนาของตน.
  16. ศาสนบุคคล : น. นักบวชในศาสนา เช่น ภิกษุสามเณรเป็น ศาสนบุคคลของพระพุทธศาสนา.
  17. ศาสนพิธี : น. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธี อุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา.
  18. ศาสนวัตถุ : น. วัตถุที่เกี่ยวเนื่องทางศาสนา มักเป็นสิ่งที่เคารพบูชา เช่น พระพุทธรูปเป็นศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนา.
  19. ศาสนสถาน : น. สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา มัสยิดเป็น ศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม.
  20. ศาสนสมบัติ : น. ทรัพย์สินของพระศาสนาทั้งที่เป็นสังหา ริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ มี ๒ อย่าง คือ ศาสนสมบัติกลาง และศาสนสมบัติของวัด.
  21. ศาสนศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยศาสนาต่าง ๆ.
  22. ศาสนสมบัติกลาง : น. ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม ส่วนใหญ่ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และดอกผลที่เกิดขึ้นจากที่ดินและ อาคารนั้น ๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศ ยุบเลิกวัดแล้ว.
  23. กมัณฑลุ : [กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกน้ำเต้า, เต้าน้ำ, หม้อน้ำ, ภาชนะใส่น้ำเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจําของนักบวชนอก พระพุทธศาสนา ทําด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะ ใส่น้ำ คือ เต้าน้ำ. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).
  24. กลอนสวด : น. กลอนที่อ่านเป็นทํานองสวด แต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ข้อความที่แต่ง มักเป็นเรื่องในศาสนา.
  25. กะดี : น. โรงที่ประชุมทําพิธีฝ่ายศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซ็น เช่น กะดีเจ้าเซ็นแขกเต้น ตีอก. (นิ. ประธม). (เทียบ ฮินดี คัดดี ว่า พระแท่น).
  26. กัลปนา : [กันละปะนา] ก. เจาะจงให้. น. ที่ดินหรือสิ่งอื่นเช่นอาคารซึ่งเจ้าของ อุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา; ส่วนบุญที่ผู้ทําอุทิศให้แก่ผู้ตาย. (ส.; ป. กปฺปนา).
  27. กำลังภายใน : น. กําลังที่เร้นอยู่ภายใน, กําลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้ จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทําสิ่งที่คนทั่วไปทําไม่ได้.
  28. กินบวช : ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคํา ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกําหนด ของการถือพรตในลัทธิศาสนา.
  29. เกศธาตุ : น. ผม (มักใช้ทางศาสนา) เช่น พระเกศธาตุ หมายถึง พระเกศาของพระพุทธเจ้า.
  30. แก่น : น. เนื้อไม้แข็งและมีสีเข้ม อยู่ถัดกระพี้เข้าไป, เนื้อแท้, หลักสําคัญ เช่น แก่นพระศาสนา. ว. ดื้อรั้นซุกซนไม่เกรงกลัวใคร.
  31. ไกรลาส, ไกลาส : [ไกฺรลาด, ไกลาด] น. ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. ว. สีขาวเหมือนเงินยวง. (ส. ไกลาส).
  32. ขงจื๊อ : น. ชื่อศาสนาสําคัญศาสนาหนึ่งของจีน มีศาสดาชื่อขงจื๊อ.
  33. เข้าเงียบ : ก. ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา.
  34. เข้าฌาน : ก. ทําใจให้สงบตามหลักทางศาสนา, โดยปริยายหมายถึง นั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร. (ดู ฌาน).
  35. เข้าที่ : ก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม.
  36. เข้ารีต : ว. เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น. น. เรียกผู้เปลี่ยนไปถือคริสต์ศาสนา ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิกว่า ผู้เข้ารีต เช่น ญวนเข้ารีต.
  37. เข้าสุหนัต : ก. เข้าพิธีขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตามข้อกำหนด ในศาสนาอิสลาม.
  38. คริสต์ : [คฺริด] น. ชื่อหนึ่งของพระเยซู ผู้ตั้งศาสนาคริสต์.
  39. คริสต์ศาสนิกชน : น. ผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนา.
  40. คริสตัง : น. ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก.
  41. คริสเตียน : น. ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์.
  42. คว่ำบาตร : (สํา) ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่ พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น.
  43. คอนแวนต์ : น. สํานักชีในคริสต์ศาสนา, เรียกโรงเรียนซึ่งชีในสํานักนั้น ๆ ตั้งขึ้น และเป็นผู้ดําเนินการสอนว่า โรงเรียนคอนแวนต์. (ฝ. convent).
  44. คัมภีร-, คัมภีร์ : [คําพีระ-, คําพี] น. หนังสือตําราที่สําคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์ เป็นต้น; ลักษณนามเรียกหนังสือตําราเหล่านี้ เช่น คัมภีร์หนึ่ง คัมภีร์ โหราศาสตร์ ๒ คัมภีร์. ว. ลึกซึ้ง. (ป.).
  45. คาทอลิก : น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็น พระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวช เรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. (อ. Catholic, Roman Catholic).
  46. โคตรภู : [โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับ อริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนามีขนบธรรมเนียมห่าง จากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).
  47. โคมเวียน : น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพ ลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้ว ที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ; ชื่อเพลงโยนกลองในบทปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง.
  48. จตุปัจจัย : [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.).
  49. จตุรเวท, จตุรเพท : [จะตุระเวด, จะตุระเพด] น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และ อถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-).
  50. จรณะ : [จะระ-] น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. (ป.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-260

(0.1370 sec)