Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศีรษะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ศีรษะ, 93 found, display 1-50
  1. ศีรษะ : [สีสะ] น. หัว (เป็นคําสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส).
  2. ศีรษะโค : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
  3. ศีรษะเนื้อ : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือดาวอาครหายณี ก็เรียก.
  4. ศีรษะกระบือ : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์วิศาขา มี ๕ ดวง, ดาวคันฉัตร หรือ ดาววิสาขะ ก็เรียก.
  5. ศีรษะช้าง : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์หัสตะ มี ๕ ดวง, ดาวศอกคู้ ดาวหัสตะ หรือ ดาวหัฏฐะ ก็เรียก.
  6. คาราเต้ : น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดยการใช้อวัยวะต่าง ๆ เช่น มือ เท้า ศอก ศีรษะ ที่ฝึกจนแข็งแกร่งแล้ว มีแพร่หลายในญี่ปุ่นและเกาหลี. (ญิ.).
  7. กบาล : [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คําไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้ว นําไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้า ข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
  8. กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
  9. กระบาล : [-บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบาน ศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).
  10. กระพอง ๑ : น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, ตระพอง ตะพอง หรือ กะพอง ก็ว่า.
  11. กระมึน : (โบ) ว. สูงค้าฟ้า, สูงเด่น, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา. (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน ก็ใช้, โดยมากเป็น ทะมื่น.
  12. กระหมวด ๒ : น. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสําคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สาย ประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดู ลักษณะช้างเผือกใช้ตรวจขนทั้ง๕ฐานนี้ เป็นทาง ประกอบการพิจารณา.
  13. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  14. กราบ ๒ : [กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็น กราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบ ติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็น คําแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. กราบพระ (โบ) น. ผ้ากราบ.
  15. กราย ๓ : [กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.
  16. กะพอง : น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กระพอง ตระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า.
  17. กะอูบ : (ถิ่น-พายัพ) น. ผอบ เช่น จึงแก้เอาเสื้อและผ้าคาดศีรษะ ใส่ในกระอูบคำ. (ประชุมพงศ. ๑๐).
  18. กำด้น : น. ท้ายทอย, ส่วนที่คอกับศีรษะต่อกัน, เช่น เหมือนกดคอยอกําด้นลูกสาวศรี. (มณีพิชัย).
  19. แกละ : [แกฺละ] น. ผมเด็กผู้ชายที่เอาไว้เป็นแหยมตรงแง่ศีรษะ เรียกว่า ผมแกละ.
  20. ขม่อม : [ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่า ส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะ มีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่อ อ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.
  21. ขึงอูด : ก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะ ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.
  22. ไข้ความร้อน, ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจ มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke).
  23. ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกแดดจัด อาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. solar fever, sunstroke).
  24. ไข้เหลือง : น. โรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงเป็นพาหะ ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นเหียน อาเจียน ปวดศีรษะ และปวดหลัง ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ชีพจรเต้นช้าลง ผิวและตาเหลือง อาจมีอันตรายถึง แก่ชีวิตภายใน ๖-๗ วัน. (อ. yellow fever).
  25. คอ : น. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว, ราชาศัพท์ว่า พระศอ; ส่วนของ ภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก เช่น คอหม้อ; เรียกส่วนลําต้นของ พรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด เช่น คอมะพร้าว คอตาล; โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นอาจิณ เช่น คอเหล้า คอเบียร์ คอหนัง คอละคร.
  26. คันฉัตร : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์วิศาขา มี ๕ ดวง, ดาวศีรษะกระบือ หรือ ดาววิสาขะ ก็เรียก.
  27. คำนับ ๑ : ก. ทําความเคารพ, ทําความเคารพโดยก้มศีรษะให้. (โบ) น. คําที่ต้อง นับถือ, หลักฐาน, เช่น ธก็ให้โกษาธิบดีลําดับคํานับนี้ไว้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  28. จุฑา : (แบบ) น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ, จุฬา ก็ว่า. (ส. จูฑา; ป. จูฬา).
  29. จุฬา ๑ : น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ, จุฑา ก็ว่า. (ป. จูฬา; ส. จูฑา).
  30. ชฎา : [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย สูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).
  31. ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
  32. ชันนะตุ : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นที่ศีรษะ เกิดจากเชื้อรา บนผิวหนังศีรษะก่อนแล้วลุกลามกินลึกลงไปถึงรากผม ทําให้ผมร่วง (มักเกิดแก่เด็กผู้ชาย).
  33. เชริด : [เชฺริด] (โบ) น. เทริด, เครื่องสวมศีรษะ.
  34. เซปักตะกร้อ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้ขา เท้า เข่า ลําตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตําแหน่ง ที่กําหนดไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ. (ม. sepak ว่า เตะ).
  35. ตกแสก : ว. ที่หวีแหวกกลางศีรษะ (ใช้แก่ผม).
  36. ตระพอง : [ตฺระ-] น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กะพอง กระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า.
  37. ตะกรวย : [-กฺรวย] (โบ) น. กรวย เช่น สานตะกร้อตะกรวยครอบศีรษะ. (สามดวง).
  38. ตะพอง : น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กระพอง กะพอง หรือ ตระพอง ก็ว่า.
  39. ถอนสายบัว : ก. ถวายคํานับแบบผู้หญิง โดยยืนตรงแล้วชักขา ข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังพร้อมกับย่อเข่าและก้มศีรษะเล็กน้อย เป็นการแสดงความเคารพของสตรีต่อเจ้านายชั้นสูง.
  40. ท้ายทอย : น. ส่วนสุดของกะโหลกศีรษะด้านหลัง, กําด้น.
  41. ทูน ๑ : ก. เทิน, เอาของไว้บนศีรษะ, เช่น เอาของทูนหัว.
  42. เทพีปักษี : น. ชื่อโรคซึ่งเกิดแก่เด็ก ตําราแพทย์แผนโบราณว่าทําให้มีอาการ ท้องขึ้น มือเท้าเย็น ศีรษะร้อน.
  43. เทริด : [เซิด] น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า. (รูปภาพ เทริด)
  44. เที่ยง : ว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคําว่า กระจกเที่ยง; แน่, แม่นยํา, ในคําว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่ พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.
  45. นอ ๑ : น. สิ่งที่งอกขึ้นเหนือจมูกแรด ยาวประมาณ ๑๒-๑๕ เซนติเมตร แข็ง เหมือนเขาสัตว์;ปมที่นูนขึ้นตามอวัยวะเช่นที่ข้อศอกที่ศีรษะ. (กลอน) ก. โน เช่น แม้นมีไม้ใกล้ตัวหัวจะนอ. (คาวี).
  46. นักระ : [นักกฺระ] (แบบ) น. จระเข้. (ส.; ป. นกฺก). นักษัตร ๑, นักษัตร [นักสัด, นักสัดตฺระ] น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมีดาว ปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิร, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่าดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะ เนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา, อทระ (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสําเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสําเภา ดาวสําเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาว งูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัว ตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชฏฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ,บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาว ราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. (ส.; ป. นกฺขตฺต).
  47. ประภามณฑล : น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ พระพุทธรูป.
  48. ปะเลง : น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออก ท่าประกอบดนตรี.
  49. ปัด ๑ : ก. ทําให้หมดไปพ้นไปด้วยการพัดหรือโบกเป็นต้น เช่น ปัดฝุ่น ปัดแมลงวัน ปัดพิษ; เบนไป, เฉไป, เช่น พระอาทิตย์ปัดเหนือปัดใต้ ท้ายรถปัดไปทางหนึ่ง เดินขาปัด; กระทบเสียดไป เช่น กิ่งไม้ปัด หลังคา เดินเอามือปัดศีรษะ.
  50. เป่ากระหม่อม : ก. ร่ายมนตร์คาถาแล้วเป่าลงกลางศีรษะเพื่อให้เกิด เมตตามหานิยมเป็นต้น.
  51. [1-50] | 51-93

(0.0077 sec)