ษมา : [สะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ. น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอม รับผิด, ขมา ก็ว่า. (ส. กษมา; ป. ขมา). ษมายุมแปลง น. เครื่องขมาโทษที่ชายนําไปคํานับพ่อแม่หญิงเพื่อ ขอโทษในการที่ลักพาลูกสาวท่านไป.
ขอษมา : ก. ขอขมา.
ลักษมาณา : น. แม่ทัพเรือ. (มลายู).
ขมา : [ขะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ เช่น ไปขมาศพ. น. การยกโทษให้ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด เช่น ขอขมา, ษมา ก็ใช้. (ป.; ส. กฺษมา).
กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
กษมา ๑ : [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา).
ษ : พยัญชนะตัวที่ ๓๙ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น และตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ษมา เศรษฐี และคําว่า อังกฤษ.
ขอขมา : ก. ขอให้ยกโทษให้เมื่อตัวเองรู้สึกผิด, ขอษมา ก็ใช้.
ฉมา : [ฉะมา] น. แผ่นดิน. (ป.; ส. กฺษมา).
สมา ๑ : [สะมา] ก. ขมา.
สมา ๒ : [สะมา] น. ปี. (ป., ส.).
สมัครสมา : [สะหฺมักสะมา] ก. ขอขมาในความผิดที่ได้กระทําไปแล้ว.
นิยม : (แบบ) น. การกําหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคําสมาสบางคํามีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.
นิโรธสมาบัติ : [นิโรดทะสะมาบัด, นิโรดสะมาบัด] (แบบ) น. การเข้าสู่ นิโรธ เป็นวิธีพักผ่อนของพระอรหันต์. (ป. นิโรธสมาปตฺติ).
ปัจเจกสมาทาน : [ปัดเจกะสะมาทาน] น. การสมาทานศีลทีละ สิกขาบท เรียกว่า ปัจเจกสมาทาน, ถ้าสมาทานรวบท้าย เช่นว่า พุทฺธปญฺ?ตฺตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ หรือ อฏฺ? สีลานิ สมาทิยามิ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน. (ป.).
สมาบัติ : [สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิต เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการ เข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).
อนุสภากาชาด : (เลิก) น. ชื่อสมาคมสําหรับเด็กเพื่ออบรมตนให้เป็นประโยชน์แก่ ผู้อื่น ขึ้นต่อสภากาชาด.