Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ษาล , then ศาล, ษาล, สาล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ษาล, 143 found, display 1-50
  1. ศาล : [สาน] น. (กฎ) องค์กรที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดย ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิต ของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม.
  2. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : (กฎ) น. ศาล ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  3. ศาลกงสุล : (เลิก) น. ศาลของประเทศที่มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่ตั้งขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้กงสุลเป็นผู้พิจารณาคดีคนใน บังคับของตน.
  4. ศาลแขวง : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีและมีอํานาจไต่สวนหรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้ พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
  5. ศาลคดีเด็กและเยาวชน : (กฎ; เลิก) ดู ศาลเยาวชนและครอบครัว.
  6. ศาลจังหวัด : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจําในแต่ละ จังหวัดหรือในบางอําเภอ มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง และคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ในเขตอํานาจศาลตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนั้น ได้กําหนดไว้.
  7. ศาลชั้นต้น : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีตามที่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาล ยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง.
  8. ศาลฎีกา : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุดซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา และคดีที่กฎหมาย อื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมี อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตาม กฎหมาย.
  9. ศาลเตี้ย : (ปาก) น. เรียกการที่คนหรือกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจ ดำเนินคดีตามกฎหมายจับกุมคนมาชำระตัดสินความโดย พลการว่า ตั้งศาลเตี้ย.
  10. ศาลทหาร : (กฎ) น. ศาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทําผิดต่อกฎหมายทหาร หรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทําผิดเป็นบุคคลที่ อยู่ในอํานาจศาลทหารในขณะกระทําผิด และมีอํานาจสั่งลงโทษ บุคคลใด ๆ ที่กระทําผิดฐานละเมิดอํานาจศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
  11. ศาลปกครอง : (กฎ) น. ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทาง ปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.
  12. ศาลโปริสภา : [สานโปริดสะพา] (กฎ; เลิก) น. ศาลชั้นต้นที่ จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แทนศาลกองตระเวนเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีทํานองเดียวกับศาลแขวงปัจจุบัน.
  13. ศาลเพียงตา : น. ศาลเทพารักษ์ที่ทําขึ้นชั่วคราว มีระดับเสมอ นัยน์ตา เพื่อความเคารพและสวัสดิมงคลเป็นต้น.
  14. ศาลแพ่ง : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น.
  15. ศาลภาษีอากร : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือ คณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.
  16. ศาลยุติธรรม : (กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของ ศาลอื่น ศาลยุติธรรมมี ๓ ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา, เดิมเรียกว่า ศาลสถิตยุติธรรม.
  17. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
  18. ศาลเยาวชนและครอบครัว : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมี อํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็ก หรือเยาวชนกระทําความผิด หรือคดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอํานาจ พิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามกฎหมาย หรือคดีครอบครัว อันได้แก่คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทําการใด ๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวแล้วแต่กรณี ซึ่งจะต้อง บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือคดีที่ศาลจะ ต้องพิพากษาหรือสั่งเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนตามบทบัญญัติ ของกฎหมายซึ่งบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของศาลเยาวชน และครอบครัว ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชน และครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใน ศาลจังหวัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชน และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว.
  19. ศาลรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหา ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น การพิจารณาวินิจฉัย ว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดี ทั่วไป.
  20. ศาลแรงงาน : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่กฎหมายบัญญัติให้ อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือ หน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ การจ้าง หรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ หรือคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสืบเนื่อง จากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้าง แรงงาน.
  21. ศาลล้มละลาย : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่ คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้อง ลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลายนอกจากนั้นยังรวมถึง คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาท กับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจาก การจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.
  22. ศาลอาญา : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มี อำนาจพิจารณาคดีอาญาแล้วแต่กรณี.
  23. ศาลอาญาศึก : (กฎ) น. ศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบ อยู่ในยุทธบริเวณ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งการ กระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจได้ทุกบทกฎหมายและไม่จำกัด ตัวบุคคล.
  24. ศาลอุทธรณ์ : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นตามบท บัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอํานาจศาล และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของ ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัย ชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตาม กฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.
  25. ศาลอุทธรณ์ภาค : (กฎ) ดู ศาลอุทธรณ์.
  26. ศาลพระภูมิ : น. ที่สถิตของเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่ ทำด้วยไม้เป็นเรือนหลังคาทรงไทยตั้งอยู่บนเสาเดียว ปัจจุบัน ทำด้วยปูนเป็นรูปปราสาทก็มี.
  27. เขตอำนาจศาล : (กฎ) น. พื้นที่และประเภทคดีที่ศาลมีอํานาจพิจารณา.
  28. ค่าขึ้นศาล : (กฎ) น. ค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นคําฟ้อง.
  29. ค่าธรรมเนียมศาล : (กฎ) น. ค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระให้แก่ศาล ในการดําเนินคดี.
  30. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม : (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร ศาลยุติธรรม และกำหนดอำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาล ยุติธรรมต่าง ๆ.
  31. ลูกขุน ณ ศาลหลวง : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่าง ศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะ พิจารณาคดีแล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.
  32. เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด : (สํา) น. ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
  33. บนบานศาลกล่าว : (สํา) ก. ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ.
  34. ผีไม่มีศาล : (สํา) ว. ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
  35. นฤปเวศม์ : [ปะเวด] น. ราชสํานัก; ศาล. (ส.).
  36. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  37. กฎอัยการศึก : (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจําเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
  38. กระบวน : น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
  39. กระบวนการยุติธรรม : (กฎ) น. วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหาร งานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาลกระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์.
  40. กลา : [กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน; ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคํานับศาลสุรากลากิจ. (อภัย), ใช้ว่า กระลา ก็มี. (ป., ส.).
  41. กักกัน : ก. กําหนดเขตให้อยู่, กัก ก็ว่า. (กฎ) น. วิธีการเพื่อ ความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่ศาลใช้ในกรณีที่ให้ควบคุมผู้กระทํา ความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกําหนด เพื่อป้องกันการกระทําความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ.
  42. เก๋ง : น. เรือนตึกมีรูปหลังคาแบบศาลเจ้าจีน; เครื่องบังมีฝาและ หลังคาแบนสําหรับเรือและรถ, เรียกเรือหรือรถที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เรือเก๋ง รถเก๋ง.
  43. เกาะ ๒ : ก. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่ เช่น นกเกาะกิ่งไม้ แมงมุมเกาะฝา, เอาสิ่งมีขอเป็นต้นเกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่ เช่น เอาขอเกาะต้นไม้, โดยปริยายหมายความถึงอาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ เช่น ปลิงเกาะ หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน เช่น ดินเกาะเป็นก้อนบินเกาะหมู่ วิ่งเกาะกลุ่ม; ไปเอาตัวมาโดยอํานาจศาลเป็นต้น เช่น ไปเกาะตัวมา.
  44. แก้ฟ้อง : (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่ คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อ ต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
  45. ขัง : ก. ให้อยู่ในที่ล้อมเช่นกรง คอก หรือเล้า เป็นต้น, ให้อยู่ในที่ซึ่งกันไว้ เช่น ขังนํ้า; (กฎ) กักขังจําเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล.
  46. คดีหมายเลขดำ : (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียน คดีในสารบบความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียง เป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยโดยเริ่ม ตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำ พิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว เรียกย่อ ๆ ว่า ``คดีดำ'' เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีดำที่ ๑/๒๕๔๐.
  47. คดีหมายเลขแดง : (กฎ) น. คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดคดี หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หรือมีคำสั่ง จำหน่ายคดีชั่วคราวแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เป็นลำดับ ไปจนสิ้นปี เรียกย่อ ๆ ว่า ``คดีแดง'' เช่น คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีแดงที่ ๑/๒๕๔๐.
  48. คดีอนาถา : (กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสีย ค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสีย ค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา ได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาล ด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกาศาลเห็นว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.
  49. คนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
  50. คนสาบสูญ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และ ไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา ๕ ปี และศาลมีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ระยะเวลา ๕ ปีดังกล่าว ลดลงเหลือ ๒ ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบ หรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว หรือนับแต่วัน ที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางไป ได้อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิต นอกจากที่ระบุไว้ใน ๒ กรณีดังกล่าว ข้างต้นได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-143

(0.0741 sec)