สกา : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่งใช้ลูกบาศก์ทอดแล้วเดินตัวสกาตาม แต้มลูกบาศก์. (เทียบทมิฬ บาสกา).
สก ๓ : (โบ) ก. สะเด็ดนํ้า เช่น เอาข้าวที่ซาวนํ้าแล้วใส่ในตะแกรงเพื่อให้นํ้าแห้ง เรียกว่า สก.
สก ๒ : น. ผม. (ข. สก่).
สก ๑ : [สะกะ] ว. ของตน. (ป.; ส. สฺวก).
สกทาคามิผล, สกิทาคามิผล :
[สะกะ, สะกิ] น. ธรรมที่พระสกทาคามีได้บรรลุ. (ป. สกทาคามิผล, สกิทาคามิผล; ส. สกฺฤทาคามินฺ + ผล). (ดู ผล).
สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิมรรค :
[มัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สําเร็จเป็นพระสกทาคามี. (ส. สกฺฤทาคามินฺ + มารฺค; ป. สกทาคามิมคฺค, สกิทาคามิมคฺค). (ดู มรรค).
สกทาคามี, สกิทาคามี : [สะกะ, สะกิ] น. ''ผู้มาสู่กามภพอีกครั้งหนึ่ง'' เป็นชื่อพระอริยบุคคล ชั้นที่ ๒ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียก สั้น ๆ ว่า พระสกทาคา หรือ พระสกิทาคา. (ป.; ส. สกฺฤทาคามินฺ).
สกรณีย์ : [สะกะระ] (แบบ) น. ผู้ยังมีหน้าที่จะต้องทํา. (ป.).
บาศก์ : น. ลูกเต๋า, ลูกสกา, ใช้ว่า ลูกบาศก์. (ส. ปาศก; ป. ปาสก).
โปสก : [โป-สก] น. คนผู้เลี้ยงดู. (ป.).
กุลทูสก : [กุละทูสก] น. ผู้ประทุษร้ายต่อตระกูล หมายถึงภิกษุ ที่ประจบตระกูลต่าง ๆด้วยอาการที่ผิดวินัย. (ป.).
นปุงสกลิงค์, นปุงสกลึงค์ : [นะปุงสะกะ] (ไว) น. เพศของคําที่ไม่เป็นเพศชายและเพศหญิง เช่น ภูเขา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ดิน นํ้า. (ป., ส. นปุ?สก = กะเทย + ลิงฺค = เพศ).
ปารุสกวัน : [ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).
มิสกวัน : น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. มิสฺสกวน; ส. มิศฺรกวน); ป่าที่มีไม้ต่าง ๆ ระคนกัน.
มิส-, มิสก- : [มิดสะ-, มิดสะกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ. (ป. มิสฺส, มิสฺสก; ส. มิศฺร, มิศฺรก).
ส่งสการ : น. สังสการ.
สังสการ : [สะกาน] (โบ) น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ, ส่งสการ ก็ว่า เช่น รุดเร่งส่งสการ. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. สํสการ).
อันตรวาสก : [วาสก] น. ผ้าสบง. (ป.).
ปัจจุสกาล, ปัจโจสกาล : [ปัดจุดสะกาน, ปัดโจสะ-] น. เวลาเช้ามืด. (ป.).
สังสกฤต : [สะกฺริด] น. สันสกฤต.
กระศก : [-สก] (โบ) ก. ข้อน. (จินดามณี).
ทูษก : [ทู-สก] (แบบ) น. ผู้ประทุษร้าย. (ส.; ป. ทูสก).
เทศก : [เท-สก] น. ผู้ชี้แจง, ผู้แสดง, ผู้แสดงธรรม. (ส.).
มาสก : [มา-สก] น. ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท. (ป.; ส. มาษก).
ลูกเต๋า : น. ลูกเหลี่ยมมี ๖ หน้า แต่ละหน้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีแต้ม ใช้ในการเล่นพนันมีลูกเต๋า สกา และไฮโล เป็นต้น, โดยปริยายใช้ เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ขนมเปี๊ยะลูกเต๋า.
สว : [สะวะ] น. ของตนเอง. (ส.; ป. สก).
สกปรก : [สกกะปฺรก] ว. เปรอะหรือเปื้อนด้วยสิ่งที่ถือว่าน่าเกลียดหรือที่ไม่พึง ประสงค์ เช่น เสื้อผ้าสกปรก เนื้อตัวสกปรกด้วยฝุ่นละออง, ขุ่นมัว, ไม่สะอาดหมดจด, เช่น น้ำสกปรก จิตใจสกปรก, ลักษณะกิริยาวาจา ที่แสดงออกอย่างหยาบคาย เช่น พูดจาสกปรก, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเป็นคนสกปรก เล่นสกปรก.
หาสก, หาสกะ : [-สก, -สะกะ] น. ผู้ให้ความสนุก, คนตลก, คนมีอารมณ์ขัน. (ป., ส.).
กรรษก : [กัดสก] (แบบ) น. ชาวนา. (ส. กรฺษก; ป. กสฺสก).
กลี : [กะลี] น. สิ่งร้าย, โทษ; เรียกโรคห่าที่เป็นแก่สัตว์เลี้ยงเช่นเป็ด ไก่ วัว ควาย; ด้านของลูกสกาที่มีแต้มเดียว คือมีแต่ทางแพ้; ชื่อผีร้ายหรือผีการพนันตามคติของพราหมณ์. ว. ร้าย, ไม่เป็นมงคล, มักใช้ว่า กาลี. (ป., ส. กลิ).
กังสะ : (แบบ) น. สัมฤทธิ์ เช่น ดั่งดามพะกังสกล่อมเกลา. (สมุทรโฆษ). (ป.).
โก้งโค้ง : ก. โก่งก้นให้โด่ง, โน้มตัวลงยกก้นให้สูงขึ้น, ก้งโค้ง ก็ว่า. น. ที่เทลูกบาศก์สกา รูปคล้ายครก.
ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
โฆษก : [โคสก] น. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา, เช่น โฆษกสถานีวิทยุ; ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง. (ส.; ป. โฆสก ว่า ผู้ป่าวร้อง, ผู้โฆษณา).
จิตรลดาวัน : น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. จิตฺตลตาวน).
ฉศก : [ฉอสก] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๖ เช่น ปีชวดฉศก จุลศักราช ๑๓๔๖.
ดักษก : [ดักสก] (แบบ) น. ช่างไม้. (ส. ตกฺษก; ป. ตจฺฉก).
ตรีจีวร : น. ผ้า ๓ ผืน หมายถึง ผ้าของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), แต่โดยมากใช้ไตรจีวร เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร. (ส. ตฺริจีวร; ป. ติจีวร).
ทวาบร : [ทะวาบอน] น. ด้านของลูกสกาที่มี ๒ แต้ม. (ส. ทฺวาบร).
เทวนะ : [เทวะ-] (แบบ) น. การเล่น, การเล่นสกา, การกรีฑา. (ป., ส.).
นันทวัน : [นันทะ] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. นนฺทวน).
ประกาศก : [ปฺระกาสก] (แบบ) น. ผู้ประกาศ. (ส. ปฺรกาศก).
ปอด ๑ : (สรีร) น. อวัยวะทําหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกาย ของคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก; ตัวสกาที่ข้าม เขตไปไม่ได้. ว. กลัวจนไม่กล้าทำอะไร.
ผ้าไตร : น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), ไตร ก็เรียก เช่น ไตรครอง ดอกไม้ คลุมไตร, เรียกเต็มว่า ผ้าไตรจีวร.
พสกนิกร : [พะสกกะนิกอน, พะสกนิกอน] น. คนที่อยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ ก็ตาม.
พสก, พสก : [พะสก, พะสกกะ] น. ชาวเมือง, พลเมือง. (ป. วส + ค; ส. วศ + ค ว่า ผู้อยู่ในอํานาจ).
ภาษก : พาสก] น. ผู้พูด. (ส.).
มรรค, มรรค-, มรรคา : [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
มัคคุเทศก์ : น. ผู้นําทาง, ผู้ชี้ทาง, ผู้บอกทาง; ผู้นําเที่ยว. (ป. มคฺค + อุทฺเทสก).
มิศร-, มิศรก- : [มิดสะระ-, มิดสะระกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ; ประสมขึ้น. (ส.; ป. มิสฺส, มิสฺสก).