สงครามเย็น : น. การต่อสู้ระหว่างประเทศต่อประเทศโดยไม่ใช้อาวุธ แต่ใช้อํานาจอื่นแทน เช่น อำนาจทางการเมือง อำนาจทางเศรษฐกิจ.
สงคราม : [คฺราม] น. การรบใหญ่ที่มีคนจำนวนมากต่อสู้ฆ่าฟันกัน, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สงครามชีวิต สงครามปาก. (ส. สํคฺราม; ป. สงฺคาม).
เย็น ๑ : น. เวลาใกล้คํ่า ประมาณ ๑๖๑๘ นาฬิกา.
เย็น ๒ : ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกน้ำแข็งเป็นต้น, หนาว, หายร้อน, ตรงข้ามกับ ร้อน; ไม่รู้สึกกระวนกระวาย เช่น เย็นใจ.
เย็นเจี๊ยบ : ว. เย็นมาก เช่น น้ำแข็งเย็นเจี๊ยบ.
เย็นฉ่ำ : ว. เย็นชุ่มชื้น เช่น หลังฝนตกอากาศเย็นฉ่ำ.
เย็นเฉียบ : ว. เย็นจัด เช่น หน้าหนาวน้ำในลำธารเย็นเฉียบ.
เย็นเฉื่อย : ว. เย็นเพราะลมพัดมาเรื่อย ๆ เช่น ตรงนี้ลมพัดเย็นเฉื่อย; มี อารมณ์เรื่อย ๆ ช้า ๆ เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เย็นเฉื่อย.
เย็นชา : ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาแสดงอาการ เย็นชา, ชาเย็น ก็ว่า.
เย็นชืด : ว. เย็นอย่างสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เขานอนตายตัวเย็นชืด, เย็นจนหมด รสชาติ เช่น แกงเย็นชืด.
เย็นชื่น : ว. เย็นสบาย เช่น ฝนตกใหม่ ๆ อากาศเย็นชื่น.
เย็นชื้น : ว. เย็นอย่างมีไอน้ำซึมซาบอยู่ เช่น ฝนตกติดกันหลายวันอากาศ เย็นชื้น.
เย็นยะเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ, เย็นเยือก หรือ เยือกเย็น ก็ว่า.
เย็นเยียบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึกเย็นเยียบ, เยียบเย็น ก็ว่า.
เย็นเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอย น้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
เย็นวาบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นในทันทีทันใดแล้วก็หายไป เช่น ลมพัด กระโชกเข้ามารู้สึกเย็นวาบ.
เย็นวูบ : ว. อาการที่ความเย็นมากระทบตัวโดยฉับพลันแล้วก็หายไป เช่น เข้าไปในห้องปรับอากาศรู้สึกเย็นวูบ.
สงครามนิวเคลียร์ : น. สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์.
ศึกสงคราม : น. สงคราม เช่น ประเทศเพื่อนบ้านเกิดศึกสงคราม.
จำบัง ๑ : ก. รบ เช่น คชจําบังข้าศึก. (ตะเลงพ่าย). น. ศึก, สงคราม; นักรบ. (จารึกสยาม). (ข. จํบาง, จมฺบําง ว่า การรบ, สงคราม).
ฉุป, ฉุป : [ฉุบ, ฉุปะ-] น. การรบกัน, สงคราม, การสัมผัสถูกต้อง; เถาวัลย์; ลม. (ส., ป.).
ชาเย็น : ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้ เขาแสดงอาการชาเย็น, เย็นชา ก็ว่า.
แช่เย็น : ก. เอาใส่ไว้ในเครื่องทําความเย็นหรือนํ้าแข็ง; โดยปริยายหมายความว่า เอาไปเก็บไว้เป็นเวลานาน.
พิชัยสงคราม : น. ตําราว่าด้วยกลยุทธ์, ตําราว่าด้วยวิธีการเอาชนะ ในสงคราม.
มือเย็น : ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ได้งอกงามดีว่า คนมือเย็น, ตรงข้ามกับ มือร้อน.
ยากเย็น : ว. ลําบากมาก เช่น ได้มาด้วยความยากเย็น.
เยือกเย็น : ว. มีจิตใจหนักแน่น ไม่ฉุนเฉียวโกรธง่าย เช่น สำคัญที่เป็นคน เยือกเย็น จึงจะตัดสินปัญหาได้อย่างรอบคอบ.
เลือดเย็น ๑ : ว. มีใจเหี้ยมสามารถทำลายชีวิตหรือชื่อเสียงผู้อื่นได้ โดยไม่รู้สึกหวั่นไหว เช่น ฆ่าอย่างเลือดเย็น.
เลือดเย็น ๒ : น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถปรับอุณหภูมิของ ร่างกายให้เหมาะสมกับอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นปลา กบ เรียกว่า สัตว์เลือดเย็น.
ศีต : [สีตะ] ว. หนาว, เย็น, เย็นเยือก. (ส.; ป. สีต).
ศีตละ : [สีตะละ] ว. หนาว, เย็น, เยือกเย็น. (ส.; ป. สีตล).
หวานเย็น : น. ของกินเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำด้วยน้ำหวานหรือน้ำกะทิ เป็นต้น แล้วทำให้แข็งด้วยความเย็น. (ปาก) ว. ที่แล่นไปช้า ๆ อย่างไม่ รีบร้อน (มักใช้แก่รถไฟ รถประจำทาง) เช่น รถไฟขบวนหวานเย็น.
ข้าวเย็นใต้ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Smilax glabra Roxb. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้ทํายาได้.
ข้าวเย็นเหนือ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Smilax china L. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้ทํายาได้.
เดือนเย็น : น. หน้าหนาว.
น้ำเย็นปลาตาย : (สํา) น. คําพูดที่ไพเราะอ่อนหวานทำให้ตายใจ อาจเป็น โทษเป็นภัยได้,มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าร้อนปลาเป็น.
เป็นน้ำยาเย็น : ว. จืดชืด.
เย็นตาโฟ, เย็นเตาโฟ : น. อาหารแบบจีนอย่างหนึ่งคล้ายก๋วยเตี๋ยว แต่ใส่ผักบุ้ง ปลาหมึกแช่ด่าง เต้าหู้ เลือดหมู ลูกชิ้นปลา แมงกะพรุน และน้ำเต้าหู้ยี้หรือซอสมะเขือเทศ. (จ.).
หนีร้อนมาพึ่งเย็น : (สำ) ก. หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่ มีความสงบสุข.
เอาน้ำเย็นเข้าลูบ : (สํา) ก. ใช้คําพูดอ่อนหวานหว่านล้อม.
ตระจัก : [ตฺระ-] ว. ตระชัก, เย็น. (ข. ตรฺชาก่).
ตรีกาล : น. กาลทั้ง ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต, เวลาทั้ง ๓ คือ เช้า กลางวัน เย็น.
เยียบ : ก. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น, มักใช้ควบกับ คํา เย็น เป็น เย็นเยียบ หรือ เยียบเย็น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึก เย็นเยียบ.
รณ, รณ : [รน, รนนะ] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).
ราชวรมหาวิหาร : [ราดชะวอระมะหาวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวง ชั้นเอกชนิดสูงสุดว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุกรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโทชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะ สงคราม.
ล้าง : ก. ทําให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธี ต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชําระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู, โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร สงคราม ล้างชาติ.
เลียง ๒ : ว. เย็น เช่น นํ้าล้นเลียงเอมโอช. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
วาบ : ว. อาการที่รู้สึกร้อน เย็น กลัว ตกใจ เสียวใจ เป็นต้น ขึ้นทันทีแล้ว หายไปดับไป เช่น เย็นวาบ ใจหายวาบ เสียววาบ; วับ.
ศึกเสือเหนือใต้ : (สำ) น. สงคราม เช่น ฝึกทหารไว้ให้พร้อมรบ ยามมีศึกเสือเหนือใต้จะได้ป้องกันบ้านเมือง.
อาชญาศึก : [อาดยาสึก, อาดชะยาสึก] น. กฎหมายที่ใช้ในเวลาเกิด สงคราม.