พาราฟิน : (เคมี) น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่งซึ่งมีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 1, 2, 3,
ในปัจจุบันเรียกสารประกอบประเภทนี้ว่า อัลเคน (alkane). (อ. paraffin); ชื่อนํ้ามันประเภทหนึ่ง ซึ่งมีขีดเดือดอยู่ ระหว่าง ๒๐๐?๓๐๐?ซ. เป็นสารผสมของสารประกอบอินทรีย์ซึ่ง มีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 1216 ได้มาจากการนํานํ้ามันปิโตรเลียม มากลั่น ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงได้, นํ้ามันก๊าด ก็เรียก. (อ. paraffin oil); ชื่อของแข็งประเภทหนึ่ง ลักษณะสีขาวโปร่งแสง หลอมละลาย ระหว่าง ๕๐?๖๐?ซ. เป็นสารผสมของสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 2030 ใช้ประโยชน์ทําเทียนไข กระดาษไข ยาขัด เป็นต้น. (อ. paraffin wax).
แคลเซียมไซคลาเมต : น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี (C6H11NHSO3)2 Ca?2H2O ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานมากกว่า นํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่า สารนี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้. (อ. calcium cyclamate).
จาดตะกั่ว : น. สารประกอบชนิดหนึ่งของธาตุตะกั่ว เป็นสารสี สีขาว มีสูตร 2PbCO3Pb(OH)2 ใช้เป็นองค์ประกอบของสีทาบางประเภท. (อ. white lead).
ผงฟู : น. สารผสมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเปียกนํ้าหรือทําให้ร้อนจะให้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา มีองค์ประกอบที่สําคัญ คือ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต มีสูตร NaHCO3 ปนแป้ง ผสม คลุกเคล้ากับสารอื่นซึ่งมักเป็นกรดทาร์ทาริก มีสูตร HOOC CHOHCHOHCOOH หรือโพแทสเซียมไฮโดรเจนทาร์เทรต มีสูตร KHC4H4O6 หรือแคลเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต มีสูตร Ca(H2PO4)2 หรือสารส้มใช้ประโยชน์ทําให้ขนมปังและขนม บางประเภทมีเนื้อฟูพรุน.
มัสตาร์ด ๒ : น. สารพิษร้ายแรงชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า ไดคลอโรไดเอทิลซัลไฟด์ (dichloro diethylsulphide) มีสูตร (CH2CH2Cl)2 S ลักษณะเป็นของเหลว คล้ายนํ้ามัน เคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และเรียกกันว่า แก๊สมัสตาร์ด.
ไมกา : น. แร่ประเภทซิลิเกต มีหลายชนิด ชนิดที่สําคัญที่สุด ได้แก่ แร่มัสโคไวต์ มีสูตร KAl3Si3O10(OH)2 และแร่โฟลโกไพต์ มีสูตร KMg3AlSi3O10(OH)2 ลักษณะผิวเป็นมันวาว ลอกออกได้เป็นแผ่นบางโปร่งแสง ทนความร้อนได้ดี ใช้ประโยชน์เป็นฉนวนความร้อนทําอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นต้น, แร่กลีบหิน ก็เรียก. (อ. mica).
ลอการิทึม : (คณิต) น. ลอการิทึมของจํานวนใดจํานวนหนึ่งบนฐานที่กําหนดให้ คือ จํานวนที่บ่งแสดงกําลังของฐาน ซึ่งเมื่อฐานยกกําลังด้วยจํานวนนี้ แล้วย่อมมีค่าเท่ากับจํานวนที่กําหนดนั้น เช่น ลอการิทึมของ ๔๙ บน ฐาน ๗ คือ ๒ (เขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า log749 = 2) ซึ่งหมายความว่า ๗๒ = ๔๙. (อ. logarithm).
วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร HOOC(CH2)2CH(NH2)COONa ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ ใช้ประโยชน์ชูรสอาหาร มักเรียกกันว่า ผงชูรส. (อ. sodium hydrogen glutamate).
ดีดีที : น. ชื่อสารประกอบเคมี มีชื่อเต็มว่า Dichloro Diphenyl Trichloroethane มีสูตร (C6H4Cl)2CHCCl3 ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ใช้ประโยชน์เป็น สารอย่างแรงในการฆ่าแมลง.
วงเล็บปีกกา : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควง คำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่ม เดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น (มีรูปภาพ) ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลข หรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x 5{7 (x 6) + 3x} 28 = 39.