สนับแข้ง : น. เครื่องสวมแข้ง.
แข้ง : น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, หน้าแข้งก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์.
สนับ ๒, สนับทึบ : น. ชื่อสัตว์นํ้าเค็มไม่มีกระดูกสันหลังในสกุล Lepas วงศ์ Lepadidae, เพรียงคอห่าน ก็เรียก.
สนับ ๑ : [สะหฺนับ] น. เสื้อ; เครื่องสวม; เครื่องรองอย่างเครื่องรองมือของ ช่างเย็บเพื่อกันเข็มแทงมือเป็นต้น. ก. ทาบ, ซ้อน, เช่นหญ้าที่โทรม ทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก เรียกว่า ตกสนับ.
สนับเพลา : [เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้ว นุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.
แข้งสิงห์ : น. ส่วนหน้าของขาสิงห์ตรงที่เป็นสัน; เรียกการพันกระดาษ ซึ่งซอยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่ด้ามธงว่า พันแข้งสิงห์.
สนับนิ้ว, สนับนิ้วมือ : น. ปลอกโลหะสวมปลายนิ้วมือสําหรับดุนก้น เข็มเพื่อไม่ให้เจ็บนิ้วมือ.
สนับมือ : น. เครื่องรองใบลานเพื่อจารหนังสือได้ถนัด; เครื่องสวมมือ มักทําด้วยทองเหลืองเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสําหรับสวม นิ้วมือเวลาชก.
หน้าแข้ง : น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, แข้ง ก็ว่า.
ปลีแข้ง : น. ลําแข้ง.
พันแข้งพันขา : ก. เคล้าแข้งเคล้าขา เช่น ลูกแมวพันแข้งพันขา.
ขง : (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (``กรุง'' เป็น ``ขุง'' และเป็น ``ขง'' อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง.
ขนหน้าแข้งไม่ร่วง : (สํา) ว. ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่ คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจํานวนเล็ก ๆ น้อย ๆ).
ขัดแข้งขัดขา : ก. จงใจขัดขวางเพื่อไม่ให้ทำได้สะดวก, ขัดขา ก็ว่า.
ปัดแข้งปัดขา : ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาหลุดพ้นตําแหน่ง หน้าที่หรือไม่ให้ได้เลื่อนฐานะตำแหน่งที่ควรจะได้.
ยืดแข้งยืดขา, ยืดเส้นยืดสาย : ก. อาการที่ออกกำลังโดยเดินหรือวิ่งเป็นต้น เพื่อให้หายเมื่อยขบ.
หมากแข้ง :
(ถิ่น-อีสาน) น. ต้นมะเขือพวง, ต้นมะแว้ง. (ดู มะเขือพวง ที่ มะเขือ และ มะแว้ง).
ชังฆ : [ชังคะ] (แบบ) น. ชงฆ์, แข้ง. (ป., ส.).
เพรียงคอห่าน :
ดู สนับ๒สนับทึบ.
กระทา : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับไก่ฟ้า ตัวกลม ขนลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น วิ่งหากินเมล็ดพืชและ แมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ มีหลายชนิด เช่น กระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus) กระทาดงแข้งเขียว (Arborophila chloropus).
ไก่บ้าน : น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมี สีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม การคัดและผสมพันธุ์ทำให้มี สายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้ตามบ้านเพื่อเป็นอาหาร.
ขัดขา : ก. จงใจขัดขวางเพื่อไม่ให้ทำได้สะดวก, ขัดแข้งขัดขา ก็ว่า; แทน ชั่วคราว เป็นการแก้ขัดในการเล่นไพ่เป็นต้น, คานขา หรือ คันขา ก็ว่า.
เคล้า : [เคฺล้า] ก. ใช้มือเป็นต้นคนเบา ๆ ให้ทั่ว เช่น เคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากัน ในการทำอาหาร; คลอเคลีย เช่น เคล้าแข้งเคล้าขา, เกลือก เช่น แมลงภู่ เคล้าเกสรดอกไม้.
ชงฆ, ชงฆ์, ชงฆา : [ชงคะ] (กลอน; แบบ) น. แข้ง, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์. (ป. ชงฺฆ; ส. ชงฺฆา).
ท้องน่อง : น. ส่วนของขาเบื้องหลัง มีลักษณะโค้งนูน ด้าน ตรงกันข้ามกับหน้าแข้ง.
น่อง ๑ : น. กล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหลังหน้าแข้ง.
ปลอกนิ้ว : น. สนับนิ้วมือ, ปลอกมือ ก็ว่า.
พัน ๒ : ก. วนรอบด้วยสิ่งที่เป็นเส้นสายหรือสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น พันคอ พันแผล เถาวัลย์พันกิ่งไม้, ม้วน เช่น พันไหมพรม, รัดโดยรอบ เช่น พันแข้ง, เกี่ยวกันไปมา, เกี่ยวกันยุ่งเหยิง, เช่น ด้ายพันกัน.
พึ่งลำแข้งตัวเอง : (สํา) ก. ช่วยตนเอง, อาศัยลําแข้งตัวเอง ก็ว่า.
มะเขือพวง : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Solanum torvum Sw. ในวงศ์ Solanaceae ผลกินได้, อีสานเรียก หมากแข้ง.
มะแว้ง : น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดในสกุล Solanum วงศ์ Solanaceae ที่เป็นไม้พุ่มเรียก มะแว้งต้น เช่น ชนิด S. sanitwongsei Craib, ที่เป็น เถาเรียก มะแว้งเครือ (S. trilobatum L.), ทั้ง ๒ ชนิดผลเล็กเป็นพวง กินได้ และใช้ทํายาได้, อีสานเรียก หมากแข้ง.
ลำแข้ง : น. กำลังความสามารถในการทำมาหากินด้วยตนเองไม่ต้อง พึ่งใคร เช่น หากินด้วยลำแข้งของตนเองจนมั่งมี, ปลีแข้ง ก็ว่า.
ลูกสะบ้า : น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบเป็นส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, สะบ้าหัวเข่า ก็ว่า.
เลีย : ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟ ที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือด ไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผม ตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยา ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้ง เลียขาเพื่อให้นายรัก.
สอด : ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอด จดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับ เพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลัง พูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
สะบ้าหัวเข่า : น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็น ยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบเป็น ส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, ลูกสะบ้า ก็ว่า.
สัน ๑ : น. สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น สันหลังคา สันหน้าแข้ง ดั้งจมูกเป็นสัน; ส่วนหนาของมีดหรือขวานซึ่งอยู่ตรงข้ามกับคม.
หัวเข่า : น. อวัยวะตรงที่ปลายกระดูกต้นขากับหัวกระดูกแข้งต่อกัน, เข่า ก็ว่า.
หางแข็ง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย คอดหางแคบมาก เป็นเหลี่ยมแข็งดูคล้ายขาไก่ เกล็ดเล็ก แต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายกว้าง ที่ขอบแผ่นปิด เหงือกมีจุดดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ, ขาไก่ แข้งไก่ อีลอง หรือ อีโลง ก็เรียก.
อาศัยลำแข้งตัวเอง : (สํา) ก. ช่วยตัวเอง, พึ่งลําแข้งตัวเอง ก็ว่า.
ขิ่ง : ก. พยายามทําสิ่งที่ยากอันตนจะต้องทําให้เสร็จ เช่น ท้าวธผู้ข้อนขิ่ง ทําทาน. (ม. คําหลวง ชูชก).
เข่ง : น. ภาชนะสานอย่างหนึ่งมีรูปและขนาดต่าง ๆ เช่น เข่งลําไย เข่งปลาทู; ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวกับนํ้าตาล ใส่กระทงวางใน เข่งเล็ก ๆ นึ่งให้สุกเรียกว่า ขนมเข่ง.
แข่ง : ก. ชิงเอาชนะกัน, ชิงดี, ชิงขึ้นหน้า.
โข่ง ๑ : น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้ามีขนาด เท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้ายค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล Pila เช่น ชนิด P. ampullacea, P. polita.
โข่ง ๒ : (ปาก) ว. เปิ่น, ไม่เข้าท่า; โค่ง.
ชิง ๑ : ก. แข่ง, แข่งขัน, เช่น ชิงรางวัล ชิงทุน, แย่ง เช่น ชิงอํานาจ.
สนอบ : [สะหฺนอบ] (โบ) น. เสื้อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานใช้ นุ่งห่มเฉพาะในพระราชพิธี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ ในเวลารับแขกเมือง เป็นต้น. (ข. สฺนบ ว่า ผ้าห่อศพ).