สนาม : [สะหฺนาม] น. ลาน, ที่ว่าง, ที่โล่ง, ที่เล่น, เช่น เขานั่งอยู่ริมสนาม เด็ก ๆ วิ่งเล่นในสนาม, ที่สำหรับเล่นหรือแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ สนามชนวัว.
กอล์ฟ :
[กฺวาง] น. (๑) ชื่อปลางัวบางชนิดในวงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae และ Balistidae. (ดู งัว๕ ประกอบ). (๒) ปลาม้า. (ดู ม้า๓). [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน. [กฺว้าง] น. ด้านสั้นที่คู่กับด้านยาว. ว. ไม่แคบ, แผ่ออกไป. กว้างขวาง ก. แผ่ออกไปมาก, ใหญ่โต, เช่น มีเนื้อที่กว้างขวาง, เผื่อแผ่ เช่น มีน้าใจกว้างขวาง, รู้จักคนมากและมีคนรู้จักมาก เช่น กว้างขวางในสังคม.
สนามบินอนุญาต : (กฎ) น. สนามบินที่บุคคลได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง ขึ้นตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศและสนามบินที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมประกาศกำหนด.
สนามวัด : น. สถานที่ที่สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแต่ละสำนักได้ กำหนดให้เป็นที่ทดสอบบาลีก่อนที่จะส่งเข้าสอบบาลีสนามหลวง.
สนามหลวง : น. สถานซึ่งกําหนดให้เป็นที่สอบไล่นักธรรมและบาลี ในคำว่า สอบธรรมสนามหลวง สอบบาลีสนามหลวง.
สนามกีฬา : น. สถานที่สำหรับฝึกซ้อมหรือแข่งขันกีฬา.
สนามเด็กเล่น : น. สถานที่ที่จัดให้เด็กเล่น มักมีอุปกรณ์การเล่น เช่น ชิงช้า ไม้ลื่น.
สนามเพลาะ : น. คูที่ขุดกำบังตัวในเวลารบ.
สนามไฟฟ้า : (วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจไฟฟ้า, บริเวณที่มีเส้นแรง ไฟฟ้าผ่าน.
สนามแม่เหล็ก : (วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจแม่เหล็ก, บริเวณที่มีเส้น แรงแม่เหล็กผ่าน.
สนามสอบ : น. สถานที่สำหรับจัดสอบไล่หรือสอบคัดเลือก.
เค้าสนามหลวง : (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สํานักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมือง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมือง ข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของ เมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
เจนสนาม : ก. ออกสนามมามากแล้ว, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ, ช่ำชอง.
ปรางคณะ : [ปฺรางคะนะ] น. คณะ, สํานัก; สนาม; พื้นอย่างพื้นเรือน. (ส.).
ลงสนาม : ก. ลงแข่งขัน, ลงประลองความสามารถ, เช่น ฟุตบอล รอบนี้ไทยลงสนามกับเกาหลี ลงสนามบอกสักวา.
ลาน ๑ : น. บริเวณที่ว่าง, สนาม, เช่น ลานจอดรถ, ที่สําหรับนวดข้าว; ในทางกีฬาหมายถึง สนามที่เล่นกีฬา, คู่กับ ลู่.
วิทยุสนาม : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ในงาน สนามหรือในราชการทหาร.
กล้องสนาม : น. กล้องส่องทางไกล มี ๒ ตา.
ภาคสนาม : น. ภาคปฏิบัติ.
แม่กองธรรมสนามหลวง : น. พระเถระผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบไล่ พระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมและธรรมศึกษาของคณะสงฆ์.
แม่กองบาลีสนามหลวง : น. พระเถระผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบไล่ พระปริยัติธรรม แผนกบาลีของคณะสงฆ์.
สวนสนาม : น. พิธีชุมนุมพลกองทหารที่ลานกว้างเพื่อแสดงความสง่า ผ่าเผย ความพร้อมเพรียง และอานุภาพของเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้เป็นเกียรติแก่ผู้เป็นประธานในพิธีซึ่งจะได้ตรวจดูแถวทหารที่ตั้งอยู่ คือ ตรวจพลและดูการเดินแถวของทหารเหล่านั้น.
หมูสนาม : น. บุคคลหรือคณะบุคคลที่ด้อยฝีมือหรือมีเล่ห์เหลี่ยมไหวพริบ ไม่ทันผู้อื่น.
อังคณะ : น. ลาน, ที่ว่าง, สนาม. (ป., ส.).
ก้าน ๒ : น. ก่าน, กล้า, เช่น รู้ไป่ทันแก่ก้าน กล่าวถ้อยกลางสนาม. (โลกนิติ).
ขวง ๒ : น. ข่วง, บริเวณ, ลาน, เช่น ให้ยกหอกลองยังขวงหลวงริมสนาม. (พงศ. โยนก).
คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า : น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของ สนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก.
เคย ๒ : เคยทํา = ได้ทํามาแล้ว เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว, บางทีใช้พูดละกริยา ที่ประกอบเสีย เหลือแต่ว่า เคย ก็มี เช่น เคยไปหรือไม่เคย ไม่เคยเลย. ก. ชิน, คุ้น, เช่น เคยสนาม เคยเวที.
จรี : [จะ-] (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ, เช่น บัดออกกลางสนามสองรา สองแขงขันหาก็กุมจรีแกว่งไกว. (สมุทรโฆษ). (ข.).
จำทวย ๒ : (กลอน) ก. ถือ, ถืออาวุธร่ายรํา, เช่น จําทวยธนูในสนาม. (สมุทรโฆษ).
ตฤณมัย : ว. แล้วไปด้วยหญ้า, ทําด้วยหญ้า. น. สนามหญ้า. (ส.).
ทอดผ้าป่า : ก. เอาผ้าถวายพระโดยวางไว้เพื่อให้พระชักเอาเอง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่วางไว้อย่างนั้น เช่น ทอดผ้าป่า เรียงวางไว้กลางสนาม. (อภัย).
ทุ่นระเบิด : น. เครื่องกีดขวางที่มีอํานาจระเบิด ผูกโซ่ถ่วงให้ลอย ประจําอยู่ใต้นํ้าเพื่อทําลายหรือต่อต้านการบุกรุกของฝ่ายศัตรูทาง ทะเล, ถ้าใช้ฝังพรางไว้บนบก เรียกว่า ทุ่นระเบิดบก, เรียกอาณา บริเวณที่วางทุ่นระเบิดไว้เพื่อป้องกันปิดล้อม หรือจํากัดการ เคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูทั้งทางทะเลและทางบกว่า สนามทุ่น ระเบิด, เรียกลักษณะการทําลายทุ่นระเบิดที่ศัตรูวางไว้ในทะเลว่า กวาดทุ่นระเบิด.
นวลน้อย : น. ชื่อหญ้าชนิด Zoysia matrella (L.) Merr. ในวงศ์ Gramineae ใช้เป็น หญ้าสนาม.
บริขา : [บอริ-] (แบบ) น. คู, สนามเพลาะ. (ป. ปริขา).
บริเวณ : [บอริเวน] น. พื้นที่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ เช่น บริเวณบ้าน บริเวณโบสถ์ บริเวณวัด บริเวณสนามหลวง. (ป., ส. ปริเวณ).
ปริขา : [ปะ-] น. คู; สนามเพลาะ. (ป., ส.).
เปตอง : น. ชื่อกีฬากลางแจ้งชนิดหนึ่ง มักเล่นในสนามที่เป็นดินแข็ง มี ผู้เล่นฝ่ายละไม่เกิน ๓ คน โยนลูกโลหะกลมซึ่งข้างในกลวง จํานวน ๑๒ ลูก ให้เข้าใกล้ลูกเป้าซึ่งเป็นลูกทรงกลมทําด้วย ไม้เนื้อแข็งให้มากที่สุด ฝ่ายที่ทําคะแนนถึงเกม คือ ๑๓ คะแนนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ. (ฝ. p?tanque).
ผ่าน : ก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่าน ไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูง เกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลา
เพลาะ ๑ : น. เรียกคูที่ขุดบังข้าศึกเมื่อเวลารบว่า สนามเพลาะ. ก. เอาริมต่อ ให้ติดกัน, ติดต่อกัน, เช่น เพลาะผ้า คือเอาผ้า ๒ ผืนเย็บข้างติดกัน ให้กว้างออก, เรียกผ้าที่เย็บข้างติดกันเช่นนั้นว่า ผ้าเพลาะ.
มุมเท : (แม่เหล็ก) น. มุมระหว่างแนวทิศของสนามแท้ของแม่เหล็กโลก กับแนวระดับ.
ยุทธโยธา : น. งานช่างที่เกี่ยวกับทหาร เช่น การขุดคูสนามเพลาะ.
ยุ่บ, ยุ่บยั่บ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวกระดุบกระดิบของสัตว์เล็ก ๆ อย่างหนอน มด ปลวก จำนวนมาก ๆ เช่น มดขึ้นยุ่บ หนอนไต่ยุ่บยั่บ, โดยปริยายใช้แก่ คนจำนวนมาก ๆ เช่น ที่สนามหลวงคนเดินขวักไขว่ยุ่บยั่บไปหมด.
รำรงค์ : ก. ออกสนาม.
เรียงราย : ก. เรียงติดต่อกันไปเป็นระยะ ๆ เช่น ต้นมะขามเรียงรายรอบ สนามหลวง นักเรียนเข้าแถวเรียงรายไปตามถนน.
ลุ้น : (ปาก) ก. เอาใจช่วยเต็มที่ เช่น นั่งลุ้นฟุตบอลอยู่ข้างสนาม, สนับสนุน เช่น ลุ้นให้ได้ตำแหน่ง.
วน ๑ : ก. เวียนไปโดยรอบ เช่น ขับรถวนรอบสนาม, ไปโดยรอบเข้าหา ศูนย์กลางหรือออกจากศูนย์กลาง เช่น น้ำวน วนเป็นก้นหอย.
วิ่ง : ก. ก้าวไปโดยเร็วยิ่งกว่าเดิน เช่น คนวิ่งไปวิ่งมา ม้าวิ่งในสนาม, แล่นไปโดยเร็ว เช่น เรือวิ่งข้ามฟาก รถวิ่งไปตามถนน; (ปาก)
สนามบิน : น. (กฎ) พื้นที่ที่กำหนดไว้บนพื้นดินหรือน้ำสำหรับใช้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยาน รวมตลอดถึงอาคาร สิ่งติดตั้งและบริภัณฑ์ซึ่งอยู่ภายในสนามบินนั้น; (ปาก) ท่าอากาศยาน.