สภาพ : น. ความเป็นเองตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ เช่น สภาพความ เป็นอยู่ สภาพดินฟ้าอากาศ, ลักษณะในตัวเอง; ภาวะ, ธรรมชาติ. (ป. สภาว; ส. สฺวภาว).
ภูมิอากาศ : น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใด แห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษ ก็ได้.
อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
ภูมิ ๑, ภูมิ : [พูม, พูมิ, พูมมิ] น. แผ่นดิน, ที่ดิน.
ภูมิ ๒ : [พูม] น. พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.
ภูมิ ๓ : [พูม] ว. สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย, เช่น วางภูมิ.
มวลอากาศ : (ภูมิ) น. อากาศในบริเวณกว้างที่มีสมบัติคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอุณหภูมิและความชื้น.
ลมมรสุม : น. (ภูมิ) ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่าง อุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดิน เย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือ พื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำ ให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดิน ร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรง กันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก.
สภาว, สภาวะ : [สะพาวะ] น. สภาพ เช่น สภาวะดินฟ้าอากาศ. (ป.).
หนืด : ว. อาการของสิ่งของที่เหนียวจนดึงไม่ใคร่จะออก เรียกว่า เหนียวหนืด, โดยปริยายหมายถึงตระหนี่มาก. (ภูมิ) น. เรียกหินที่อยู่ในสภาพหนืด ใต้เปลือกโลกว่า หินหนืด. (อ. magma).
อากาศธาตุ : [ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยาย หมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.
ภูมิรู้ : [พูม] น. ความรู้, พื้นความรู้.
สภาพเดิม : น. ลักษณะหรือภาวะหรือธรรมชาติที่เป็นมาแต่แรก.
สภาพธรรม : น. หลักแห่งความเป็นเอง.
ภูมิคุ้มกัน : [พูม] น. สภาพที่ร่างกายมีแรงต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย, ภูมิต้านทาน ก็เรียก.
ภูมิธร, ภูมินทร์, ภูมินาถ, ภูมิบดี :
ดู ภูมิ๑ภูมิ.
ฤดู :
[รึ] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กําหนดสําหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดู ถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์, คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก.(ส. ฤตุ, ป. อุตุ).
หิม-, หิมะ : [หิมมะ-] น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่า ลักษณะฟูเป็นปุยลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น; ฤดูหนาว. (ป., ส.).
เดินอากาศ : ก. ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศ.
ตราภูมิ : (โบ) น. หนังสือประจำตัวสำหรับคุ้มค่าน้ำค่าตลาดสมพัตสรได้เพียง ราคา ๑ ตำลึง. (ประกาศ ร. ๔), มักใช้เข้าคู่กับคำ คุ้มห้าม เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
ตรีภูมิ, ไตรภูมิ : น. ตรีภพ. (ส. ตฺริภูมิ).
ตรีอากาศผล : น. ผลแก้อากาศธาตุ ๓ อย่าง คือ ขิง กระลําพัก อบเชยเทศ.
เถรภูมิ : [เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุ เป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.
นวกภูมิ : [นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึง ภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่), ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิมีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
ปรับอากาศ : ว. ที่ปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่าเครื่องปรับอากาศ.
ผิดอากาศ : ก. ผิดไปจากอากาศที่เคยคุ้น, แพ้อากาศ.
โพยม : [พะโยม] น. ท้องฟ้า, อากาศ, โพยมัน หรือ โพยมาน ก็ใช้. (ส. โวฺยมนฺ).
ภาคภูมิ : [พากพูม] ว. มีสง่า, ผึ่งผาย, เช่น เขาแต่งตัวภาคภูมิ ท่าทางเขาภาคภูมิ.
มัชฌิมภูมิ : [-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์ หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ, และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
รถปรับอากาศ : น. รถโดยสารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ.
ลองภูมิ : [พูม] ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะมีพื้นความรู้ความสามารถ แค่ไหนเพียงไร เช่น นักเรียนลองภูมิครู.
โลกุตรภูมิ : [โลกุดตะระ] น. ภูมิที่พ้นจากโลก; ระดับจิตใจของ พระอริยบุคคล.
วายุ :
น. ลม, อากาศ, ลมหายใจ; เทพแห่งลม. (ป., ส.). (ดู พายุ).
สลัดอากาศ : น. โจรที่จี้หรือปล้นเครื่องบินในอากาศ.
หลุมอากาศ : น. บริเวณอากาศบางเป็นเหตุให้เครื่องบินเสียระดับโดย กะทันหัน.
หันอากาศ : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทน เสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
อัมพร : [พอน] น. ฟ้า, ท้องฟ้า, อากาศ; เครื่องนุ่งห่ม ในคำว่า ทิคัมพร = ผู้นุ่งลมห่มทิศ คือ ชีเปลือย, เศวตัมพร = ผู้นุ่งห่มผ้าขาว คือ ชีผ้าขาวหรือชีปะขาว. (ป., ส.).
อาการ, อาการ : [อากาน, อาการะ] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).
ชาติภูมิ : [ชาดติพูม] น. ถิ่นที่เกิด.
ภูมิธร, ภูมินทร์, ภูมินาถ, ภูมิบดี : น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
ภูมิบาล, ภูมิภุช : [พูมิ] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
เมล์อากาศ : น. การส่งหนังสือหรือสิ่งของทางเครื่องบิน.
ไม้หันอากาศ : น. ไม้ผัด.
รากอากาศ : น. รากที่แตกออกจากต้นหรือกิ่งของพืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ ไทร.
โลกุตรภูมิ :
ดู โลก, โลก.
ไล่ภูมิ : ก. ซักถามเพื่อสอบพื้นความรู้. ไล่มาติด ๆ
ไว้ภูมิ : ก. ทำท่าเสมือนว่าเป็นผู้มีความรู้สูง.
สร้างวิมานในอากาศ : (สํา) ก. ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวัง จะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย.
อรูปภูมิ : [อะรูบปะพูม] น. อรูปภพ.
ออกอากาศ : ก. กระจายเสียงทางวิทยุ, กระจายเสียงและแพร่ภาพ ทางโทรทัศน์.