Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สมัยเก่า, เก่า, สมัย , then กา, เก่, เก่า, สมย, สมยกา, สมัย, สมัยเก่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สมัยเก่า, 657 found, display 1-50
  1. สมัยเก่า : น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า. สมัยนิยม
  2. เก่า : ว. ก่อน เช่น ครูคนเก่า กรรมเก่า; ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า, คํานี้เมื่อใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่คําที่นํามาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชํานาญ, หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว.
  3. สมัย : [สะไหฺม] น. เวลา, คราว, เช่น สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยปัจจุบัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาล เป็น กาลสมัย. (ป., ส.).
  4. หัวเก่า : ว. นิยมของเก่า, นิยมตามแบบเก่า, (ปาก) ครึ, ไม่ทันสมัย.
  5. หัวสมัยใหม่ : ว. นิยมของใหม่, นิยมตามแบบใหม่, ตรงข้ามกับ หัวเก่า; ทันสมัย ตรงข้ามกับ หัวโบราณ, หัวใหม่ ก็ว่า.
  6. สมัยใหม่ : น. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่. ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคนสมัยใหม่.
  7. กระบอก ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการ รีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎ ต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  8. กะหลาป๋า ๑ : น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย, ปัจจุบันชื่อ จาการ์ตา; เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไปว่า หมวกกะหลาป๋า; เรียกขวดแก้วสำหรับใช้ใส่น้ำอบ ทรงกระบอกแปดเหลี่ยม มีสีต่าง ๆ มีจุกแก้ว เถาหนึ่งมี ๓ ใบ ว่า ขวดกะหลาป๋า.
  9. คร่ำครึ : ว. เก่าเกินไป, ไม่ทันสมัย.
  10. ครึ : [คฺรึ] (ปาก) ว. เก่าไม่ทันสมัย.
  11. จังหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับ หลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า; ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).
  12. โบราณ, โบราณ- : [โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษร โบราณหนังสือเก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).
  13. ผ้าเกี้ยว : น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสำหรับขุนนางนุ่งหรือ ห่อคัมภีร์เป็นต้น, สมปัก ก็เรียก.
  14. สมปัก : น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสําหรับขุนนางนุ่งหรือห่อคัมภีร์เป็นต้น, ผ้าเกี้ยว ก็เรียก. (เทียบ ข. สํพต ว่า ผ้านุ่ง).
  15. หมวกกะหลาป๋า : น. หมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรง สูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าสมัยต้น รัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป.
  16. หัวโบราณ : ว. นิยมตามแบบเก่าแก่, (ปาก) ครึมาก, ล้าสมัย.
  17. หัวใหม่ : ว. นิยมของใหม่, นิยมตามแบบใหม่, ตรงข้ามกับ หัวเก่า; ทันสมัย, ตรงข้ามกับ หัวโบราณ, หัวสมัยใหม่ ก็ว่า.
  18. ชิณณะ : ว. แก่, เก่า, ครํ่าคร่า. (ป.).
  19. เพรง : [เพฺรง] ว. ก่อน, เก่า, เช่น แต่เพรงกาล.
  20. ลายคราม : น. เรียกเครื่องภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม เช่น ชามลายคราม แจกันลายคราม, โดยปริยายหมายถึงของเก่าที่มีค่า เช่น เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา, เก่า, โบราณ, เช่น รุ่นลายคราม.
  21. กลางเก่ากลางใหม่ : ว. ไม่เก่าไม่ใหม่.
  22. กินบุญเก่า : (สํา) ก. ได้รับผลแห่งความดีที่ทําไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสํานวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า).
  23. ของเก่า : น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็น อาชีพเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจําหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.
  24. ข้าเก่าเต่าเลี้ยง : (สํา) น. คนเก่าคนแก่, คนที่อยู่ด้วยกันในฐานะ รับใช้มานาน.
  25. คนเก่าคนแก่ : น. ข้าเก่าเต่าเลี้ยง; คนที่มีพื้นเพอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน.
  26. จีวรทานสมัย : (แบบ) น. สมัยถวายจีวรในจีวรกาล. (ป.).
  27. ชั่ว ๑ : น. ระยะ เช่น นํ้าลึก ๓ ชั่วคน สูง ๓ ชั่วลําตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วพ่อชั่วแม่.
  28. ทันสมัย : ว. ตามสมัยที่นิยมกัน.
  29. ปาง ๑ : น. ครั้ง, คราว, เมื่อ, เช่น ปางก่อน ปางหลัง, ยุค, สมัย, เช่น นารายณ์ ๑๐ ปาง; ท่าของพระพุทธรูปที่แสดงถึงอิริยาบถต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ที่พักกลางป่าชั่วคราว เช่น ตั้งปาง.
  30. มือเก่า : ว. มีความชํานาญหรือชํ่าชองมาก เช่น อย่าประมาท มือเก่านะเจ้าเอ๋ย. (อภัย).
  31. ยุค ๓ : น. คราว, สมัย, เช่น ยุคมืด ยุคหิน; กําหนดเวลาของโลก มี ๔ ยุค. (ดู จตุรยุค). (ป., ส.).
  32. ร่วมสมัย : ว. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ศิลปะร่วมสมัย; รุ่นราวคราวเดียวกัน, สมัยเดียวกัน, เช่น ลุงกับพ่อเป็นคนร่วมสมัยกัน.
  33. ฤดู : [รึ] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กําหนดสําหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดู ถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์, คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก.(ส. ฤตุ, ป. อุตุ).
  34. ล้าสมัย : ว. ไม่ทันหรือไม่เป็นไปตามสมัยที่กําลังนิยมกัน เช่น เขาเป็นคนล้าสมัย.
  35. ล้ำยุค, ล้ำสมัย : ว. ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัยของตน เช่น นักเขียน มีความคิดล้ำยุค.
  36. ศิษย์เก่า : น. ผู้ที่เคยศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น งานชุมนุมศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย.
  37. หน้าเก่า : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดารา หน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า.
  38. บุพพัณหสมัย : [-พันหะสะไหฺม] น. เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า. (ป. ปุพฺพณฺหสมย; ส. ปูรฺวาหณ + สมย).
  39. เก่ : (ปาก) ว. เข้าที เช่น ว่าไม่เป็นเก่ คือ ว่าไม่เข้าที.
  40. กินน้ำพริกถ้วยเก่า : (สำ) ก. อยู่กับเมียคนเดิม.
  41. ข้าวเก่า : น. ข้าวที่เก็บเกี่ยวไว้ค้างปี.
  42. จีวรการสมัย : (แบบ) น. คราวที่พระทําจีวร คือตัดเย็บอยู่. (ป.).
  43. จีวรกาลสมัย : (แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วัน มหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่ มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).
  44. ถ่านไฟเก่า : (สํา) น. ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อน แม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ ง่ายขึ้น.
  45. บุพพัณหสมัย : ดู บุพ-, บุพพ-.
  46. แผลเก่า : (สํา) น. ความเจ็บชํ้าที่ฝังใจอยู่ไม่รู้ลืม.
  47. มัชฌันติกสมัย : น. เวลาเที่ยงวัน. (ป.).
  48. อดีตกาล, อดีตสมัย : [อะดีดตะกาน, ตะสะไหฺม] น. เวลาที่ล่วงแล้ว.
  49. อักษรสมัย : [อักสอนสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่าน การเขียน. (ส.).
  50. เดิม : ว. แรก เช่น แต่เดิม, เก่า เช่น บ้านเดิม พระราชวังเดิม, ก่อน เช่น เหมือนเดิม. (ข. เฎีม ว่า ต้น).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-657

(0.1626 sec)