Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สมุดบันทึก, บันทึก, สมุด , then บันทึก, สมด, สมุด, สมุดบันทึก, สมุต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สมุดบันทึก, 67 found, display 1-50
  1. บันทึก : ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้ เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
  2. สมุด : [สะหฺมุด] น. กระดาษที่ทําเป็นเล่ม มีหลายชนิดเรียกชื่อตามประโยชน์ ใช้สอย เช่น สมุดวาดเขียน สมุดแผนที่ สมุดแบบฝึกหัดคัดลายมือ.
  3. สมุดปูมเดินทาง : น. สมุดบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินเรือ หรือการเดินอากาศ เช่น เดินทางจากไหนถึงไหน วันที่เดินทาง จํานวนชั่วโมง ฯลฯ.
  4. สมุดรายงาน : น. สมุดบันทึกผลการเรียนและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของนักเรียน, เดิมเรียกว่า สมุดพก.
  5. สมุดข่อย : น. สมุดไทย.
  6. สมุดไทย : น. สมุดที่ทําด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทาง ขวางทบกลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้ง ชนิดกระดาษขาวและกระดาษดํา, สมุดข่อย ก็เรียก.
  7. ปูม : น. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์ ประจําวัน, ปฏิทินโหราศาสตร์ ก็เรียก, จดหมายเหตุของโหร, เรียกสมุดบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินเรือหรือการ เดินอากาศ เช่น เดินทางจากไหนถึงไหน วันที่เดินทาง จํานวน ชั่วโมง ฯลฯ ว่า สมุดปูมเดินทาง; ผ้าไหมชนิดหนึ่งมีดอกเป็นตา ๆ.
  8. เปิดบัญชี : ก. บันทึกรายการทรัพย์สิน หนี้สิน และทุนไว้ในสมุด เมื่อเริ่มเปิดดําเนินกิจการ; ยกยอดสรุปที่ได้จากการปิดบัญชีมา เริ่มต้นใหม่; (ปาก) เปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร.
  9. เครื่องบันทึกเสียง : น. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่น ซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้ เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.
  10. ห้องสมุด, หอสมุด : น. ห้องหรืออาคารที่มีระบบจัดเก็บรวบรวมรักษา หนังสือประเภทต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมทั้งต้นฉบับ ลายมือเขียน ไมโครฟิล์ม เป็นต้น เพื่อใช้เป็นที่ค้นคว้าหาความรู้.
  11. โน้ต ๒ : ก. บันทึก. น. จดหมายสั้น ๆ. (อ. note).
  12. พิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุด บัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ใน ความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดี ล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
  13. เล่ม : ลักษณนามสําหรับเรียกสิ่งของบางชนิดที่มีลักษณะยาวเรียว อย่างมีด หอก พาย เข็ม เช่น มีดเล่มหนึ่ง เข็ม ๒ เล่ม, ใช้เรียก เกวียนหรือสมุดหนังสือว่า เล่มด้วย เช่น เกวียน ๒ เล่ม หนังสือ ๓ เล่ม สมุด ๔ เล่ม.
  14. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  15. กระดาษข่อย : น. กระดาษที่ทําจากเปลือกข่อย ใช้ทำสมุดไทย.
  16. กี่ ๑ : น. เครื่องทอผ้า, เครื่องเย็บสมุด; ที่ตั้งพระกลดหรือ พระแสงง้าวเป็นต้น.
  17. กุญแจรหัส : น. กุญแจที่ใช้ระบบสัญลักษณ์; สมุดประมวลรหัส เพื่อใช้เข้ารหัสและถอดรหัส บรรจุข้อความที่เข้ารหัสไว้ด้านหนึ่ง และข้อความที่ถอดรหัสแล้วไว้อีกด้านหนึ่ง.
  18. กุญแจเสียง : น. เครื่องหมายอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกเสียง ดนตรีสากล เขียนไว้ตอนหน้าของบรรทัด ๕ เส้น เพื่อกําหนด ระดับเสียงของตัวโน้ต, กุญแจประจําหลัก ก็เรียก. (รูปภาพ กุญแจเสียง)
  19. ขนบ : [ขะหฺนบ] น. แบบอย่าง, แผน, ระเบียบ; กลีบ, รอยที่พับ (ของสมุดข่อย หรือผ้าจีบ หรือจีวร เป็นต้น); ชั้น เช่น ขนบหิน. (ข. ขฺนบ่ ว่า สิ่งที่อยู่ ในห่อ, ที่หมก).
  20. เขบ็ต : [ขะเบ็ด] น. ชื่อตัวหมายเสียงอย่างหนึ่งที่ใช้บันทึกเสียงดนตรีสากลมี ๔ ชนิด คือ เขบ็ตชั้นเดียว เขบ็ต ๒ ชั้น เขบ็ต ๓ ชั้น และเขบ็ต ๔ ชั้น.
  21. คู่มือ : ว. ใช้ประโยชน์ได้เหมาะใจ, สําหรับประจําตัว, เช่น อาวุธคู่มือ. น. สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการรู้ เพื่อใช้ประกอบตํารา เพื่ออํานวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาหรือ การปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  22. เคลื่อนที่ : ว. ไม่อยู่กับที่, ไม่ประจําที่, เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่.
  23. จดทะเบียน : (กฎ) ก. ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกําหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท.
  24. จดหมายเหตุ : น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อ ใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
  25. ชักรูป : ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไป ลงบนแผ่นวัสดุใสเช่นฟิล์ม กระจกถ่ายรูป, ถ่ายรูป ก็ว่า.
  26. ซ้อน : ก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่ง หรือลําหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะ ที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทาง จราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.
  27. ถ่ายภาพยนตร์ : ก. บันทึกภาพให้ต่อเนื่องกันบนฟิล์มแถบยาว ๆ เมื่อฉายด้วยเครื่องฉายไปบนจอ จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้ เหมือนจริง, (ปาก) ถ่ายหนัง.
  28. ถ่ายรูป : ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไปลงบนแผ่น วัสดุใสเช่นฟิล์มกระจกถ่ายรูป, ชักรูป ก็ว่า.
  29. แถบบันทึกภาพ : น. แถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้บันทึกสัญญาณภาพ.
  30. แถบบันทึกเสียง : น. แถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้บันทึกสัญญาณเสียง.
  31. ทะเบียน : น. บัญชีจดลักษณะจํานวนคน จํานวนสัตว์หรือจํานวนสิ่งของ ตลอดจนการงานต่าง ๆ ที่รัฐบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับ ประชาชนพลเมือง.
  32. ทั้งนี้ : สัน. ตามที่กล่าวมานี้ เช่น ทั้งนี้กล่าวตามที่เขาบันทึกไว้หรือ กล่าวตามพจนานุกรม.
  33. ทำซ้ำ : (กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำ งานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  34. แทง : ก. เอาของแหลมทิ่มหรือปักเข้าไป; ลงบันทึก, ลงหมายเหตุ, เช่น แทงคําสั่ง แทงหนังสือ; เล่นการพนันบางชนิด เช่น แทงหวย แทงลอตเตอรี่ แทงโป, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น กระแสนํ้าแทงตลิ่ง ถูกนํ้าแทง แทงศอก.
  35. นามสงเคราะห์ : [นามมะสง] น. หนังสือที่รวบรวมคําพูดไว้, อภิธาน; สมุดรายชื่อพร้อมทั้งที่อยู่หรือที่ทํางานของบุคคล. (ส.).
  36. บรรณารักษ์ : [บันนารัก] น. บุคคลที่รับผิดชอบในการบริหารและ ดำเนินงานในห้องสมุด.
  37. บรรณารักษศาสตร์ : [บันนารักสะสาด, บันนารักสาด] น. วิชาที่ว่าด้วย การบริหารห้องสมุด.
  38. บัญชี : น. สมุดหรือกระดาษสําหรับจดรายการต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน เช่น บัญชีเงินสด บัญชีพัสดุ บัญชีพล บัญชีเรียกชื่อ. (ส. ปญฺชิ).
  39. ใบปก : น. กระดาษหรือผ้าหรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุด หรือหนังสือ, ปก ก็เรียก.
  40. ปก ๑ : ก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน. น. กระดาษหรือผ้า หรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุดหรือหนังสือเป็นต้น, ใบปก ก็เรียก; แผ่นผ้าที่ติดปากกระเป๋าเสื้อ, แผ่นผ้าที่ติดกับคอเสื้อพับตลบ ลงมาหรือแบะออกทั้ง ๒ ข้าง เช่น ปกเชิ้ต ปกเสื้อนอก.
  41. ประวัติการณ์ : [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เหตุการณ์ที่มีค่า ควรบันทึกหรือจดจําไว้.
  42. ประวัติกาล : [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. สมัยที่มีบันทึกเหตุการณ์.
  43. ประวัติศาสตร์ : [ปฺระหฺวัดติสาด, ปฺระหฺวัดสาด] น. วิชาว่าด้วย เหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่ บันทึกไว้เป็นหลักฐาน.
  44. ปิดบัญชี : ก. บันทึกสรุปผลการดําเนินกิจการเมื่อสิ้นงวดหรือครบปี บัญชีเพื่อแสดงให้รู้ว่าได้กําไรหรือขาดทุนเท่าไร.
  45. ไปรษณียนิเทศ : [ไปฺรสะนียะนิเทด, ไปฺรสะนีนิเทด] (กฎ) น. สมุดกฎข้อบังคับ คําสั่ง หรือประกาศว่าด้วยการไปรษณีย์ทั่วไป.
  46. แผ่นเสียง : น. วัสดุแผ่นกลมบางซึ่งบันทึกเสียงไว้ในลักษณะเป็น ร่องบนผิวพื้น เมื่อใส่บนแผ่นหมุนของหีบเสียง วางเข็มลงในร่อง แล้วให้จานหมุนไป ก็จะเกิดเสียงตามที่บันทึกไว้, จานเสียง ก็เรียก.
  47. ไมโครฟิล์ม : [-โคฺรฟิม] น. ฟิล์มถ่ายรูปขนาดเล็กมากใช้สําหรับถ่ายบันทึกภาพของสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดย่อส่วนลงมาก ๆ เพื่อสะดวกแก่การเก็บรักษาไว้ และสามารถนํามาฉาย เป็นภาพนิ่งขนาดขยายบนจอได้. (อ. microfilm).
  48. รองทรง : น. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้นข้างบนยาว; หนังสือสำคัญและสมุดไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวง ฉบับรองทรง.
  49. ระดับทะเลปานกลาง : น. ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำทะเล ซึ่งคํานวณจากผล การตรวจระดับนํ้าทะเลขึ้นลงในที่ใดที่หนึ่งที่ได้บันทึกติดต่อกันไว้เป็น ระยะเวลานาน, ใช้ย่อว่า ร.ท.ก. (อ. mean sea level).
  50. รูปถ่าย : น. ภาพที่บันทึกไว้ด้วยวิธีให้แสงผ่านฟิล์มรูปเป็นต้นลงบน แผ่นวัสดุไวแสง เช่น กระดาษอัดรูป แล้วนำไปล้างตามกรรมวิธีเพื่อ ให้รูปปรากฏ.
  51. [1-50] | 51-67

(0.1219 sec)