สรวง : [สวง] น. ฟ้า, สวรรค์; เทวดา. ก. เซ่น, บูชา, บน. สรวงเส ก. บูชา, เสสรวง ก็ว่า.
เลอสรวง : (วรรณ) น. ผู้ครองสวรรค์.
สรรวง : [สฺระรวง] (กลอน) น. สรวง.
สันรวง : (กลอน) น. สรวง.
แก้บน : ก. เซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ตนได้บนบานไว้, ใช้บน ก็ว่า.
ชิงเปรต : (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณ บรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า ''เปรต'' ในงาน ทําบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทําบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.
บำบวง : ก. บนบาน, เซ่นสรวง, บูชา.
บูชายัญ : น. การบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่ง, การเซ่นสรวงด้วย วิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา. ก. เซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคน หรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา.
เปตพลี : [เปตะพะลี, เปดตะพะลี] น. เครื่องเซ่นสรวงที่กระทําให้แก่ ผู้ตายไปแล้ว. (ป.).
เมธ : [เมด] น. การเซ่นสรวง, การบูชายัญ, มักใช้เป็นส่วนหลังสมาส เช่น อัศวเมธ. (ป., ส.).
ยัญกรรม : น. การเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.
ยัญพิธี : น. พิธีเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.
ยัญ, ยัญ, ยัญญะ : [ยันยะ] น. การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคน เป็นเครื่องบูชา เรียกว่า บูชายัญ. (ป. ย?ฺ?; ส. ยชฺ?).
ยิฏฐะ, ยิฐะ : [ยิดถะ] น. การบูชา, การเซ่นสรวง. (ป. ยิฏฺ?; ส. อิษฺฏ).
สังเวย : ก. บวงสรวง, เซ่นสรวง, เช่น สังเวยเทวดา.
โหม ๑, โหม- : [โหมะ-] น. การเซ่นแก่เทพดาของพวกพราหมณ์โดยใช้เนยเผาในไฟ; การบูชายัญ, การเซ่นสรวงทั้งปวง. (ป., ส.).
โหมกรรม : น. พิธีเซ่นสรวง. (ส. โหม + กรฺมนฺ).
อัจนา : [อัดจะ] น. การเซ่นสรวง, การถวาย, การบูชานับถือ. (ป. อจฺจนา).
อาหุดี : น. การเซ่นสรวง. (ส. อาหุติ).
อิชยา : [อิดชะยา] น. การบูชา, การเซ่นสรวง. (ส.).
อิษฏี ๒ : [อิดสะ] น. การบูชา, การเซ่นสรวง. (ส.).