สร ๒ : [สอระ] ว. ทิพย์, แกล้วกล้า, เช่น สรศาสดา สรศักดิ์ สรสีห์. (ป., ส. สุร).
สร ๓ : [สฺระ] คํานําหน้าคําอื่นที่ใช้ในบทกลอนเพื่อความสละสลวย เช่น ดื่น เป็นสรดื่น, คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ส ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สนุก เป็น สรนุก.
สร ๑ : [สอน] น. ศร. (ป.; ส. ศร).
สรเสริญ : [สฺระ] (กลอน) ก. สรรเสริญ.
สรเหนาะ, สระเหนาะ : [สฺระเหฺนาะ] (กลอน) ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสารวังเวงใจ อาลัยถึง).
สัมพัตสร : น. สมพัตสร. (ส.; ป. สํวจฺฉร).
ผณินทรสมพัตสร : [ผะนินทฺระสมพัดสอน] น. ปีงูใหญ่, ปีมะโรง. (ป. ผณิ + ส. อินฺทฺร + ส. สํวตฺสร).
ผณินทรสมพัตสร : ดู ผณิน.
สมพัตสร : [พัดสอน] น. อากรสวนใหญ่เก็บจากผลของไม้ยืนต้นเป็นรายปี. (ส. สํวตฺสร ว่า ปี).
กรลุมพาง : [กระ] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรใน ใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
กามน : [กา-มน] ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ฤๅโฉมพระศรีศริ อภิลาศกามน. (สุธน). (ป., ส.).
ค้าน : ก. แย้งกัน เช่น ข้อความตอนหน้ากับตอนหลังค้านกัน, กล่าวแย้ง ไม่เห็นด้วย; (โบ; กลอน) หัก, พัง, ทําลาย, เช่น เครื่องบนกระบาล ผุค้าน. (คําฤษฎี), สยงสรเทือนพ้ยงค้าน ค่นเมรุ. (ยวนพ่าย).
ตยาคี : [ตะยา-] น. ผู้บริจาค, วีรบุรุษ, นักพรต, เช่น พระศรีศรีสรศาสดา มีพระมหิมา นุภาพพ้นตยาคี. (สมุทรโฆษ). (ส.).
ตราภูมิ : (โบ) น. หนังสือประจำตัวสำหรับคุ้มค่าน้ำค่าตลาดสมพัตสรได้เพียง ราคา ๑ ตำลึง. (ประกาศ ร. ๔), มักใช้เข้าคู่กับคำ คุ้มห้าม เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
นราธิเบนทร์, นราธิเบศร์ : น. พระมหากษัตริย์. (ส. นร + อธิป + อินฺทฺร; ป. นร + อธิป + อิสฺสร).
พระครู : น. ฐานันดรประเภทหนึ่งแห่งพระภิกษุ ตํ่ากว่าพระราชาคณะ เช่น พระครูสรวุฒิพิศาล พระครูสรภาณพิสุทธิ; บรรดาศักดิ์พราหมณ์ เช่น พระครูวามเทพมุนี.
รู้ดี : ก. อวดรู้, สู่รู้, เช่น อย่ารู้ดีไปหน่อยเลย.
โศรณิ, โศรณี : [โสฺร] น. ตะโพก. (ส. โศฺรณิ, โศฺรณี; ป. โสณี).
โศรดา : [โสฺร] น. ผู้ฟัง. (ส. โศฺรตฺฤ; ป. โสตา).
สรดัก : [สฺระ] (กลอน) ก. เต็มไป, ดาษไป, แน่นไป.
สรดึ่น : [สฺระ] (กลอน) ก. ตื่นใจ. ว. เป็นพืดไป.
สรดื่น : [สฺระ] (กลอน) ว. เกลื่อนกลาด, ดาษดื่น.
สรตัก : [สฺระ] (กลอน) ก. เต็มไป, ดาษไป, แน่นไป.
สรทึง : [สฺระ] (กลอน) น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง หรือ สทึง ก็มี. (ข. สฺทึงว่า คลอง).
สรแทบ : [สฺระ] (กลอน) ว. ไม่นูน, ราบ.
สรไน : [สฺระ] น. ปี่ไฉน เช่น นักคุณแคนคู่ฆ้อง สรไน. (หริภุญชัย).
สรบบ : [สฺระ] (กลอน) น. สารบบ.
สรบับ : [สฺระ] (กลอน) น. สารบับ.
สรรเสริญ : [สันเสิน, สันระเสิน] ก. กล่าวคํายกย่อง เชิดชู หรือ เทิดทูน เช่น สรรเสริญพระพุทธคุณ, กล่าวคําชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอ คุณความดี เช่น สรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ, สรเสริญ ก็ใช้.
สระ ๑ : [สะ] น. แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด. (ป. สร; ส. สรสฺ).
สระ ๒ : [สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้น และริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วน หนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียง พยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).
สระ ๔ : [สฺระ] คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยคํา สะ ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สะท้อน เป็น สระท้อน.
สระกอ : [สฺระ] (กลอน) ว. สะกอ.
สระคราญ : [สฺระ] (กลอน) ว. สะคราญ.
สระดะ : [สฺระ] (กลอน) ว. ระดะไป, เกะกะไป, ดาษไป, แน่นไป.
สระท้อน : [สฺระ] (กลอน) ว. สะท้อน; อ่อน. (ข.).
สระพรั่ง : [สฺระ] (กลอน) ว. สะพรั่ง.
สระสม : [สฺระ] (วรรณ) ว. สวย เช่น พิศดูคางสระสม. (ลอ).
สระอาด : [สฺระ] (กลอน) ว. สะอาด.
สระอื้น : [สฺระ] (กลอน) ก. สะอื้น.
สรุโนก : [สฺรุ] น. นก. (แผลงมาจาก สุโนก).
อง : น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกาย ชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
อิสร, อิสระ : [อิดสะหฺระ] ว. เป็นใหญ่, เป็นไทแก่ตัว, เช่น อิสรชน, ที่ปกครอง ตนเอง เช่น รัฐอิสระ, ไม่ขึ้นแก่ใคร, ไม่สังกัดใคร, เช่น อาชีพอิสระ นักเขียนอิสระ. น. ความเป็นไทแก่ตัว เช่น ไม่มีอิสระ แยกตัวเป็น อิสระ. (ป. อิสฺสร; ส. อีศฺวร).