สรีร, สรีระ : [สะรีระ] น. ร่างกาย. (ป.; ส. ศรีร).
สรร : [สัน] ก. เลือก, คัด, เช่น จัดสรร เลือกสรร. (ข. สรัล). สรรแสร้ง ก. เลือกว่า, แกล้งเลือก.
ธรรมสรีระ : น. ร่างหรือที่บรรจุธรรม, เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์.
สรีรังคาร, สรีรางคาร :
ดู สรีร, สรีระ.
กรัชกาย : [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย). [ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่ น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
สรรพัชญ : (แบบ) น. สรรเพชญ. (ส. สรฺวชฺ?).
สรรเพชุดา : [สันเพดชุ] (แบบ) น. ความเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง หมายเอาความเป็น พระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺ?าตฺฤ; ป. สพฺพญฺญุตา).
สรรเพชุดาญาณ : น. ญาณหรือปัญญาที่รู้ทุกสิ่ง หมายเอาญาณของ พระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺ?าน; ป. สพฺ??ฺญุต?าณ).
มาตสรรย์ : [มาดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา; ใช้ว่า มัตสรรย์ ก็มี. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).
สรีรังคาร, สรีรางคาร : [สะรีรังคาน, สะรีรางคาน] น. เถ้าถ่านที่ปะปน กับกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อยของศพที่เผาแล้ว.
ปอด ๑ : (สรีร) น. อวัยวะทําหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกาย ของคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก; ตัวสกาที่ข้าม เขตไปไม่ได้. ว. กลัวจนไม่กล้าทำอะไร.
ต่อม : น. เม็ดตุ่มที่ขึ้นตามตัว; (สรีร) อวัยวะของคนและสัตว์ ทําหน้าที่สร้างและหลั่งสาร ที่มีประโยชน์และมีโทษต่อร่างกาย มี ๒ ชนิด คือ ต่อมไร้ท่อ และ ต่อมมีท่อ.
กรุณา : [กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).
กากคติ : [กากะคะติ] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีดําเนินกลอน อย่างกาที่บินไป เช่น สรรเพ็ชญ์เจ้าได้ ทรงฤทธิ์เรืองไกร ย่อมบำเพงทาน ให้พระวิมุติ โลกุดรญาณ แสวงหาศีลาจาร ประเสริฐหนักหนา. (ชุมนุมตํารากลอน).
กุสุมิตลดาเวลลิตา : [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๖ คณะคือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
ทัน ๒ : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
วิหารราย : น. วิหารขนาดใกล้เคียงกับวิหารน้อย ตั้งเรียงรายภายใน พุทธาวาสโดยรอบ เช่น วิหารรายวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศาลารายที่ใช้สำหรับพิธีสวดโอ้เอ้ วิหารราย เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร.
สรรเพชญ : (แบบ) น. ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ผู้รู้ทั่ว, พระนามของพระพุทธเจ้า, สรรพัชญ ก็เรียก. (ส. สรฺวชฺ?; ป. สพฺพญฺญู).
สัมพหุลา : (ปาก) ว. รวมปะปนกันหลาย ๆ อย่าง เช่น งานสัมพหุลาเต็มไปหมด ทำไม่ไหวหรอก, สรรพหุลา ก็ว่า. (ป.).
สาง ๓ : (วรรณ) น. ช้าง เช่น เสือสางสรรโสงสรรพและไกร สรร้องสำเทินสาร. (สมุทรโฆษ).