สะดุ้ง ๑ : ก. ไหวตัวขึ้นทันทีด้วยความตกใจ เพราะไม่ทันรู้ตัวหรือไม่ได้นึก คาดหมายไว้เป็นต้น เช่น เมื่อได้ยินเสียงระเบิดก็สะดุ้งสุดตัว.
สะดุ้ง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายยอยก, อีสานเรียก กะดุ้ง.
สะดุ้งมาร : (ปาก) น. เรียกพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ ปางชนะมาร ว่า พระสะดุ้งมาร.
สะดุ้งสะเทือน : ก. หวั่นไหว, เดือดร้อน, กังวลใจ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ใครจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ไม่สะดุ้งสะเทือน มหาเศรษฐีเสียเงิน ล้านสองล้านไม่สะดุ้งสะเทือนหรอก.
สะดุ้งสะดิ้ง : ว. ดัดจริตดีดดิ้น, สะดิ้ง ก็ว่า.
กระหนก ๒ : (โบ) ก. ตระหนก, ตกใจ, สะดุ้ง, หวาด.
เครื่องสะดุ้ง : (โบ) น. นาคสะดุ้ง.
ตระดก : [ตฺระ-] (กลอน) ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ.
ตระหนก : [ตฺระหฺนก] ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ.
นาคสะดุ้ง : น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึง หางหงส์ ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง.
มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว : (สํา) ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่กังวลจนนอนไม่หลับ.
กะดุ้ง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายยอยก, เรียกเป็นสามัญว่า สะดุ้ง.
กระเดื่อง ๓ : ก. แหนง, หมาง, เช่น จะกระเดื่องใจเมื่อไปถึง. (ขุนช้างขุนแผน); กระดาก เช่น ไป่กระเดื่องสะดุ้ง ฟูมฟาย. (นิทราชาคริต), นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น กระดากกระเดื่อง.
กาฬปักษี : [กาละ-] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เป็นเมื่อมารดาออกไฟแล้ว ได้ ๕ เดือน ยังอยู่ในเขตเรือนไฟ มีอาการร้องไห้แล้วหอบ หรือร้องไห้เมื่อหลับสะดุ้งผวาตื่นตกใจ. (แพทย์).
จักจี้, จั๊กจี้ : [จักกะ-, จั๊กกะ-] ก. อาการที่ทําให้รู้สึกเสียวสะดุ้งหรือหัวเราะโดยไม่ตั้งใจ เมื่อถูกจี้ที่เอวหรือรักแร้เป็นต้น.
จี้ ๒ : ก. เอานิ้วมือหรือสิ่งของจดหรือแหย่เข้าไป, เอามือแหย่ให้รู้ตัวหรือให้ สะดุ้ง; ติดตามอย่างกระชั้นชิด เช่น วิ่งจี้หลังมา, ติดตามเร่งรัด เช่น จี้ ให้ทำงาน; (ปาก) ใช้อาวุธขู่เข็ญบังคับให้ทําตาม.
ดักดน : (กลอน) ว. ลําบาก, ตรากตรําอยู่นาน, เช่น แสนสะดุ้งดักดน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
ตกใจ : ก. สะดุ้งขึ้นโดยไม่รู้ตัวเมื่อได้ยินเสียงดัง ๆ หรือมีใครมา ถูกต้องตัว, ใจหาย.
ทองไม่รู้ร้อน : (สํา) ว. เฉยเมย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน.
แปลบ, แปลบ ๆ, แปล๊บ, แปล๊บ ๆ : [แปฺลบ] ว. ปลาบ, แวบ, วาบ, (ใช้แก่แสงสว่าง) เช่น ฟ้าแลบแปลบ; อาการที่รู้สึกเจ็บแวบแล่นเข้าไปในกาย, อาการที่รู้สึกวาบเข้าไปใน หัวใจ, อาการที่สะดุ้งวับขึ้น.
แปหาญ : น. แปที่รับนาคสะดุ้งที่โบสถ์ วิหาร หรือปราสาท.
ผวา : [ผะหฺวา] ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัว เข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น. ว. อาการที่หวาด สะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น, อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา, อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่.
มารวิชัย : [มาระ-, มาน-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระ อิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่ พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. (ป.).
สะดิ้ง : (ปาก) ว. ดัดจริตดีดดิ้น เช่น ทำเป็นสะดิ้งไปได้ อย่าสะดิ้งให้มากนัก, สะดุ้งสะดิ้ง ก็ว่า.
หลอกหลอน : ก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอก หลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจ ที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมา คอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.
หวั่นหวาด : ก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวาดหวั่น ก็ว่า.
หวาด : ก. สะดุ้งกลัว, กริ่งเกรง, เสียว, หวั่น.
หวาดกลัว, หวาดเกรง : ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.
หวาดผวา : ก. หวาดสะดุ้งเพราะตกใจกลัว.
หวาดหวั่น : ก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวั่นหวาด ก็ว่า.
โหยง : [โหฺยง] ว. อาการที่กระโดดโดยฉับไวด้วยดีใจหรือตกใจ เช่น กระโดดโหยง สะดุ้งโหยง.