สะอื้น : ก. ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ เพราะร้องไห้มากเนื่องจากเสียใจระทมใจ เป็นต้น, ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ.
สะอึกสะอื้น : ก. ร้องไห้ร่ำไรมีเสียงสะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น เด็กถูกตี หลัง จากหยุดร้องไห้แล้วก็ยังสะอึกสะอื้นอยู่. ว. อาการที่ร้องไห้รํ่าไรมีเสียง สะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น แม่ตีทีเดียว ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตั้งชั่วโมง.
สอน : ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจ โดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอน แม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
โศกาลัย : น. ความเศร้าหมองใจและความห่วงใย, ร้องไห้สะอึก สะอื้น. (ส. โศก + อาลย).
สระอื้น : [สฺระ] (กลอน) ก. สะอื้น.
จาบัล, จาบัลย์ : [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
ซะซิกซะแซ : (กลอน) ว. เสียงร้องไห้มีสะอื้น.
รันทด : ก. สลดใจมาก มีจิตใจหวั่นไหวมากเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่ กับคำอื่น เช่น รันทดสลดใจ รันทดท้อเสียใจไห้สะอื้น.
โศกาดูร : ก. เดือดร้อนด้วยความโศก, ร้องไห้สะอึกสะอื้น. (ส. โศก + อาตุร).
สอนขัน : ว. เรียกไก่อ่อนที่เพิ่งหัดขันว่า ไก่อ่อนสอนขัน หรือ ไก่สอนขัน, โดยปริยายหมายถึงมีประสบการณ์น้อยยังรู้ไม่ทัน เล่ห์เหลี่ยมของคน.
สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ : (สํา) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว.
สอนใจ : ว. ที่เตือนสติตนเอง เช่น สุภาษิตสอนใจ หนังสือสอนใจ.
สอนเดิน : ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดเดินเตาะแตะว่า เด็กสอนเดิน. ก. ฝึกหัด เดิน เช่น เขานอนป่วยอยู่หลายเดือน เมื่อหายป่วยแล้วต้องสอนเดินใหม่.
สอนนาค : ก. กล่าวคำทำขวัญนาคเพื่อสอนกุลบุตรที่จะอุปสมบทให้ รู้สึกซาบซึ้งถึงพระคุณของพ่อแม่ และให้เห็นว่าการบวชนั้นเป็นการ ตอบสนองพระคุณพ่อแม่อย่างหนึ่ง.
สอนพูด : ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดพูดว่า เด็กสอนพูด.
สอนยาก : ว. ดื้อดึง, ไม่อยู่ในโอวาท, เช่น เขาเป็นเด็กสอนยาก, มักใช้ เข้าคู่กับคำ ว่ายาก เป็น ว่ายากสอนยาก.
สอนยืน : ว. เรียกเด็กที่เริ่มตั้งไข่ว่า เด็กสอนยืน.
สอนลูกให้เป็นโจร : (สำ) ก. ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลาย เป็นโจร.
สอนสั่ง : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ, สั่งสอน ก็ว่า.
สอนหนังสือสังฆราช, บอกหนังสือสังฆราช : (สํา) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดี อยู่แล้ว.
บริยาย : [บอริยาย] ก. บรรยาย, สอน, แสดง, เล่าเรื่อง.
เบรียน : [บะเรียน] (โบ) ก. ให้เรียน, สอน, เช่น อาจเบรียนภิกษุสงฆ์ ทั้งหลาย. (จารึกสยาม).
ประมวลการสอน : น. หนังสือหรือเอกสารที่แสดงเนื้อหาของหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน.
ว่าง่าย, ว่านอนสอนง่าย : ก. อยู่ในโอวาท, เชื่อฟังคำสั่งสอนโดยดี.
สั่งสอน : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทํา เช่น แม่สั่งสอนลูกให้เป็น คนดี, สอนสั่ง ก็ว่า.
ไก่อ่อน, ไก่อ่อนสอนขัน : (สํา) น. ผู้มีประสบการณ์น้อยยัง ไม่รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน.
ส่อน : ว. เรียกตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติว่า ตาส่อน.
กาสร : [-สอน] (แบบ) น. ควาย. (ส.).
เกสร : [-สอน] น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว, เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้; (แบบ) ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป.; ส. เกสร, เกศร).
บอก ๒ : ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
มธุสร : [-สอน] น. เสียงหวาน. (ป.; ส. มธุสฺวร).
ศร : [สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร, เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.).
สร ๑ : [สอน] น. ศร. (ป.; ส. ศร).
กระจร ๒ : (กลอน) ก. ฟุ้งไป เช่น ให้กระจรกิจจาในนุสนธิ์. (พาลีสอนน้อง). (แผลงมาจาก ขจร).
กระดานดำ : น. กระดานใหญ่ มักทาสีดำ ใช้เป็นอุปกรณ์ การสอนการเรียน.
กระเตาะกระแตะ : ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; ป้อแป้, ไม่แข็งแรง, มักใช้แก่คนสูงอายุ เช่น คุณทวดเดินกระเตาะกระแตะ.
กระทง ๒ : ว. ใช้ควบกับคํา รุ่น ว่า รุ่นกระทง, เรียกไก่อ่อนอายุ ประมาณ ๓ เดือนว่า ไก่กระทง, ใช้สําหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่สอน ขันว่า ไก่รุ่นกระทง, โดยปริยายใช้เรียกชายกําลังแตกเนื้อหนุ่มเป็น เชิงเปรียบเปรยว่า หนุ่มรุ่นกระทง.
กระทรวง ๑ :
[-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
กระพอก ๑ : น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอก จานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
ขัดเกลา : ก. ทําให้เกลี้ยงเกลา, ทําให้เรียบร้อย, อบรมพรํ่าสอน, เช่น ขัดเกลานิสัย.
เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา : (สํา) ก. บอกหรือสอนไม่ได้ผล.
คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
ครู ๑ : [คฺรู] น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).
คลอแคล : [-แคฺล] ก. ไม่ห่างออก, เคียงกัน, เช่น ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล ตัวแม่จะสอนบิน. (กล่อมเด็ก), ใช้ว่า คล้อแคล้ ก็มี.
คอนแวนต์ : น. สํานักชีในคริสต์ศาสนา, เรียกโรงเรียนซึ่งชีในสํานักนั้น ๆ ตั้งขึ้น และเป็นผู้ดําเนินการสอนว่า โรงเรียนคอนแวนต์. (ฝ. convent).
คำเทียบ : น. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ ป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็น คำเทียบของแม่ กง.
คุรุ : น. ผู้สั่งสอน, ครู. (ป., ส.).
เครื่องเล่น : น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทํานองตลกขบขัน หรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช.
จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
จาริก, จารึก ๑ : น. ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น. ก. ท่องเที่ยวไป เพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น.