สะเทือนอารมณ์ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่าน เรื่องเศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์.
อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
สะเทือน, สะเทื้อน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่ แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกสะเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านสะเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็สะเทือนไปถึง แม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่สะเทือน, กระเทือน ก็ว่า.
สะเทือนใจ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงในเมื่อได้ประสบกับสิ่งที่ ไม่น่าพอใจ เช่น เห็นภาพแม่กอดศพลูกร้องไห้แล้วรู้สึกสะเทือนใจ.
อารมณ์ขัน : น. ลักษณะนิสัยที่มักเห็นเรื่องต่าง ๆ เป็นเรื่องชวนขัน.
ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
สะท้อนใจ : ก. อาการที่หายใจแรงขึ้น ๆ ลง ๆ เพราะอารมณ์สะเทือนใจ เป็นต้น.
หวั่นไหว : ก. สั่นสะเทือน, โอนเอน, เช่น จิตใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์, ครั่นคร้าม เช่น ไม่หวั่นไหวต่อภยันตรายใด ๆ. ว. อาการที่สั่นสะเทือน มาก (ใช้แก่เสียง) เช่น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว.
อรรถรส : [อัดถะรด] น. รสแห่งถ้อยคํา, ถ้อยคําที่ทําให้เกิดความ ซาบซึ้ง, ถ้อยคําที่ทําให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ.
อาเวค : [เวก] น. อารมณ์, ความรู้สึก, ความสะเทือนใจ. (อ. emotion).
กำธร : [-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่าบรรลือเสียง, ตีรัว).
ใจคอ : น. จิตใจ, อัธยาศัย, อารมณ์, บางทีใช้ในทางร้ายก็มี เช่น ใจคอ จะทิ้งบ้านทิ้งช่องไปได้หรือ.
สติอารมณ์ : น. ความคิดที่ฟุ้งซ่าน เช่น สงบสติอารมณ์เสียบ้าง อย่าคิดมากไปเลย. (ป.).
สบายอารมณ์ : ว. มีอารมณ์เบิกบาน เช่น เขาทำงานไปร้องเพลงไป อย่างสบายอารมณ์ วันนี้ขอดูภาพยนตร์ให้สบายอารมณ์สักวัน.
สะกดอกสะกดใจ, สะกดอารมณ์ : ก. ข่มอารมณ์มิให้หวั่นไหวต่อ เหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วหรือที่กำลังประสบ.
สะดุ้งสะเทือน : ก. หวั่นไหว, เดือดร้อน, กังวลใจ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ใครจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ไม่สะดุ้งสะเทือน มหาเศรษฐีเสียเงิน ล้านสองล้านไม่สะดุ้งสะเทือนหรอก.
หย่อนใจ, หย่อนอารมณ์ : ก. คลายอารมณ์, พักผ่อน.
ไหว : ก. สั่น, สะเทือน, กระดิก, เช่น ใบไม้ไหว. ว. สามารถทําได้ เช่น เดินไหว สู้ไหว กินไหว.
เจ้าอารมณ์ : ว. ที่โกรธง่าย, ที่เอาใจยาก.
สอบอารมณ์ : ก. สอบถามประสบการณ์ทางจิตของผู้ที่เจริญวิปัสสนา กรรมฐานว่าก้าวหน้าไปถึงขั้นใดแล้ว.
หนาวอารมณ์ : ว. รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ.
กระเทือน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิด ทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
หัวจิตหัวใจ : น. หัวใจ, จิตใจ, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น หัวจิตหัวใจเขาทำ ด้วยอะไรจึงเหี้ยมเกรียมนัก, อารมณ์ เช่น เขากำลังเศร้าโศกไม่มีหัวจิตหัวใจ จะทำอะไร.
ครั่นครื้น : [คฺรั่นคฺรื้น] ก. สะเทือน.
โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
จิตแพทย์ : [จิดตะ-] น. แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดง ความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ. (อ. psychiatrist).
ปมด้อย : น. ลักษณะความคิด ความรู้สึก อารมณ์ หรือการกระทํา ของบุคคล ที่แสดงออกถึงความตํ่าต้อยกว่าผู้อื่น. (อ. inferiority complex).
ฟะฟั่น : ว. เฝือ, เฟือน, มากจนเฝือ; มืดมัว; ยุ่งเหยิง;สั่น, สะเทือน.
โรคจิต : น. โรคทางจิตใจที่มีความผิดปรกติของความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมอย่างแรงถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ เช่น มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน, วิกลจริต ก็เรียก. (อ. psychosis).
โรคจิตเภท : น. กลุ่มอาการของโรคทางจิตที่ทําให้ความคิด การรับรู้ อารมณ์ และบุคลิกภาพผิดปรกติ. (อ. schizophrenia).
อสุภกรรมฐาน : [กํามะถาน] น. กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็น อารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งามความไม่เที่ยงแท้ของ สังขาร. (ป. อสุภกมฺมฏฺ?าน).
กามารมณ์ : น. กามคุณ, อารมณ์ที่น่าใคร่. (ป. กาม + อารฺมณ).
กระฉอก : ก. อาการที่ของเหลวเช่นน้ำเป็นต้นในภาชนะกระเพื่อมอย่างแรง เพราะความสั่นสะเทือน. ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม), ฉอก ก็เรียก.
กระทบกระเทือน : ก. กระเทือนไปถึง, พาดพิงไปถึงให้รู้สึก สะเทือนใจ.
กระเทือนใจ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบ (มักใช้ในทางที่ไม่ดี), สะเทือนใจ ก็ว่า.
กล่อม ๓ : [กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทําตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบําเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. ก. ร้องเป็นทํานองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมาย ความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทําให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.
การนำ : (ไฟฟ้า) น. การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนํา หรือฉนวน; (ความร้อน) การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านเทหวัตถุ โดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของเทหวัตถุนั้นกระทบกระแทกกันเนื่องจาก โมเลกุลสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วมาก.
กินรังแตน : (สํา) ก. มีอารมณ์เสียหงุดหงิดบ่นว่าเกินกว่าเหตุ.
เกษมศานต์, เกษมสันต์ : ว. โปร่งอารมณ์, ชื่นชมยินดี. (ส. เกฺษม + ศานฺต, ส. เกฺษม + ป. สนฺต).
ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า : (สํา) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตามที่ตน ต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืน ให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
ขิงก็รา ข่าก็แรง : (สํา) ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน.
เขลง ๑ : [เขฺลง] ว. ทอดอารมณ์อย่างสบาย (ใช้แก่กริยานอน).
ครื้นเครง : [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
ความเครียด : น. (ฟิสิกส์) อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับ ขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain); ลักษณะอาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลาย เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป, ลักษณะอาการที่จิตใจมีอารมณ์ บางอย่างมากดดันความรู้สึกอย่างรุนแรง.
ความถี่ : (ฟิสิกส์) น. จํานวนไซเกิล, การแกว่งกวัด, การสั่นสะเทือนหรือคลื่น ใน ๑ วินาที เช่น ไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่ ๕๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล; (สถิติ) จํานวนคะแนนในกลุ่มของ ข้อมูลที่มีสมบัติเหมือนกัน. (อ. frequency).
ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
ค่อน ๑ : ก. ติ, ว่าให้สะเทือนใจ.
คิดมาก : ก. คิดเกินกว่าเหตุ, รู้สึกสะเทือนใจง่าย.