สะ ๑, สะสวย : ว. สวย.
สะ ๒ : ก. ใส่หรือสุมเพื่อกันไว้ เช่น เอาหนามสะ.
สะตาหมัน : น. สวน. (ช. สะ ว่า หนึ่ง, ตาหมัน ว่า สวน).
สะเงาะสะแงะ : ว. เปะปะอย่างคนเมา เช่น เดินสะเงาะสะแงะ พูดจาสะเงาะสะแงะ.
สะเปะสะปะ : ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกต่อยสะเปะสะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น คนเมาเดิน สะเปะสะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนแขนขาก่ายกันสะเปะสะปะ, อาการที่พูดเลอะเทอะเรื่อยเจื้อยไม่มีประเด็น เช่น พูดสะเปะสะปะ.
สะพรึงกลัว : ว. น่าพรั่นพรึง ใช้ว่า น่าสะพรึงกลัว เช่น เห็นร่างดำทะมึน น่าสะพรึง กลัว.
สะบันงา : ดู กระดังงา.
สะบันงาจีน : ดู กระดังงาจีน ที่ กระดังงา.
สะบันงาต้น : ดู กระดังงา.
สะละปะตุ่น : (โบ) น. ไหมชนิดหนึ่ง.
สะลาบ : น. ผิวของพิมพ์หล่อพระที่แตกออกเป็นกาบเล็ก ๆ เมื่อความร้อน ลดลงกะทันหัน.
สะเหล่อ : ว. ทั้งเซ่อและเล่อ, ทั้งเซ่อซ่าและเล่อล่า.
ทิวส-, ทิวสะ : [ทิวะสะ] (แบบ) น. วัน. (ป., ส.).
บุษย-, บุษย์, บุษยะ, ปุษยะ, ปุสสะ : [บุดสะยะ-, บุด, บุดสะยะ, ปุดสะยะ, ปุดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือ โลง, ดาว ปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอ สําเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส); แก้วสีขาว; บัว.
ปุษยะ, ปุสสะ, บุษย์, บุษยะ : [ปุดสะยะ, ปุดสะ, บุด, บุดสะยะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็น เป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือโลง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส).
มกสะ : [มะกะสะ] น. ยุง. (ป.; ส. มศก).
ทุส-, ทุสสะ : [ทุดสะ-] (แบบ) น. ผ้า เช่น กฐินทุสทาน ว่า ถวายผ้ากฐิน. (ป. ทุสฺส).
อสิเลสะ, อาศเลษา : [อะสิเลสะ, อาสะเลสา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๙ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนคู้ หรือพ้อม, ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง ก็เรียก.
อาศเลษา, อสิเลสะ : [อาสะเลสา, อะสิเลสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๙ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนคู้ หรือพ้อม, ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง ก็เรียก.
นางแต่งตัวสะ : น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดงเดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบ พระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
นางสะ : น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพร พื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานใน พระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
ปัจจุส-, ปัจจูสะ : [ปัดจุดสะ-, ปัดจูสะ] (แบบ) น. เช้ามืด, ใกล้รุ่ง. (ป.).
สะกิดสะเกา : ก. สะกิดบ่อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงพูดหรือทำให้ กระทบใจบ่อย ๆ เช่น เรื่องนี้จบไปแล้วจะสะกิดสะเกาขึ้นมาทำไม.
สะทึน, สะทึ่น : (กลอน) ว. ใจผิดปรกติ, ใจเป็นทุกข์, เช่น พระทองผทมตื่นขึ้น สะทึ่นเที้ยรสระอื้น. (ลอ).
อังส, อังสะ : [อังสะ] น. เรียกผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ห้อยเฉวียงบ่าว่า ผ้าอังสะ; ส่วน, ภาค; ส่วนของมุม. (ป. อํส).
สตน, สตัน : [สะตน, สะ] (แบบ) น. เต้านม. (ส. สฺตน; ป. ถน).
ทักษ- : [-สะ-] (แบบ) ว. สามารถ, เหมาะ, ขยัน, หมั่น, คล่องแคล่ว, แข็งแรง. (ส.).
โมษกะ, โมษะ : [-สะ-] น. โจร, ขโมย. (ส.; ป. โมส, โมสก).
โมษณะ : [-สะ-] น. การปล้น, การขโมย. (ส.).
วังศะ, วังสะ : น. วงศ์. (ส. วํศ; ป. วํส).
ศฐะ : [สะ-] น. คนโกง, คนล่อลวง; คนโอ้อวด. (ส.; ป. ส?).
ศนิ : [สะ] น. ดาวพระเสาร์. (ส.).
ศมะ : [สะ-] น. ความสงบ, ความนิ่ง. (ส.; ป. สม).
ศยะ : [สะ-] ก. นอน; หลับ; อยู่, พักผ่อน, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส. (ส.).
ศวาสะ : น. การหายใจ, ลมหายใจ. (ส. ศฺวาส).
ศสา : [สะ] น. แตงกวา. (ส.).
สดี : [สะ] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี. (ส. สตี).
สดุดี : [สะ] น. คํายกย่อง, คําสรรเสริญ, (โดยปรกติใช้ในลักษณะเป็น พิธีการ), เช่น กล่าวสดุดีวีรกรรมของทหาร. (ส. สฺตุติ; ป. ถุติ).
สตันย์ : [สะ] (แบบ) น. นํ้านม. (ส.; ป. ถ?ฺ?).
สตัมภ์ : [สะ] (แบบ) น. เสา, หลัก; เครื่องคํ้าจุน. (ส. สฺตมฺภ, สฺตมฺพ; ป. ถมฺภ).
สตี : [สะ] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี; ธรรมเนียมที่ผู้หญิงชาวฮินดู เผาตัวบนกองไฟพร้อมกับศพสามีเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและ ความบริสุทธิ์.(ส.).
สถาบก : [สะ] (โบ) ก. สร้าง. (จารึกสยาม). (ส. สฺถาปก ว่า ผู้ตั้ง, ผู้สร้าง).
สถาบัน : [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิตของ ตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
สถิติ : [สะ] น. หลักฐานที่รวบรวมเอาไว้เป็นตัวเลขสําหรับเปรียบเทียบ หรือใช้อ้างอิง เช่น สถิติในการส่งสินค้าออกปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว. (ส. สฺถิติ; ป. ??ติ).
สทุม : [สะ] น. เรือน. (ป.; ส. สทฺมนฺ).
สมิติ : [สะ] น. ที่ประชุม. (ป., ส.).
สระ ๑ : [สะ] น. แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด. (ป. สร; ส. สรสฺ).
สสุระ : [สะ] น. พ่อตา, พ่อผัว. (ป.; ส. ศฺวศุร).
หาสะ : น. การหัวเราะ, ความสนุกรื่นเริง. (ป., ส.).
สธุสะ, สาธุสะ : คําเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคําอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียวกับคํา ศุภมัสดุ.