สักขีพยาน : น. พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง.
พยาน : [พะยาน] น. หลักฐานเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง, ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้; (กฎ) บุคคลซึ่ง ให้การในเรื่องหรือสิ่งที่ตนได้เห็นได้ยิน หรือได้รับรู้มาโดยวิธีอื่น. (อ. witness).
สักขี ๑ : น. พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง, มักใช้เข้าคู่กับคํา พยาน เป็น สักขีพยาน. (ป.; ส. สากฺษี).
สักขี ๒ : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Dalbergia candenatensis Prain ในวงศ์ Leguminosae แก่นแดง มีเสี้ยนดํา ใช้ทํายาได้, กรักขี หรือ ขรี ก็เรียก.
พยานบุคคล : (กฎ) ดู พยาน.
พยานบอกเล่า : (กฎ) น. พยานบุคคลซึ่งให้การโดยตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้เรื่องมาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น. (อ. hearsay evidence).
พยานวัตถุ : (กฎ) น. วัตถุที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. material evidence).
พยานเอกสาร : (กฎ) น. เอกสารที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. documentary evidence).
พยานหลักฐาน : (กฎ) น. บุคคล เอกสารหรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยัน หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง. (อ. evidence).
กลพยาน : [กน-] น. พยานที่ถูกวานให้ไปถามเป็นคํานับ. (สามดวง).
ซ้อมพยาน : ก. ซักซ้อมพยานว่าจะให้การต่อศาลอย่างใด จึงจะสอดคล้องต้องกันดี.
ทิพยพยาน : น. พยานที่ศักดิ์สิทธิ์, พยานที่เชื่อถือได้อย่างมั่นคง.
เบิกพยาน : (กฎ) ก. นําพยานมาให้ถ้อยคําต่อศาล.
ประจักษ์พยาน : (กฎ) น. พยานบุคคลที่เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความเกี่ยวในเรื่องที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง.
ฟอกพยาน : ก. ไต่ถามไล่เลียงพยาน.
โมกษะพยาน : (กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรใน พระพุทธศาสนาซึ่งไม่จําต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยาน ก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบ คําถามใด ๆ ก็ได้.
วันสืบพยาน : (กฎ) น. วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน.
สอบพยาน : ก. ซักถามพยานเพื่อหาข้อเท็จจริง.
สอบสวนทวนพยาน : (สํา) ก. สอบพยาน.
หลักพยาน : น. เครื่องประกอบการพิสูจน์ ได้แก่พยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานเอกสาร.
สากษิน, สากษี : [สากสิน, สี] น. สักขี. (ส.; ป. สกฺขี).
ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
ผู้ญาณ : (โบ) น. พยาน.
พญาณ : [พะยาน] (โบ) น. พยาน.
กัน ๓ : ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่าย ในสิ่งที่จําเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ ป้องกันและล้อมทัพ, ช้างดั้ง ก็เรียก, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวน เสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ ว่า เรือกัน.
แกงได : น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
ของกลาง : น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทําความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานใน คดีอาญา.
คล้องจอง : ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้อง อยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.
คอก : น. ที่ล้อมขังสัตว์บางชนิด เช่น วัว ควาย ม้า หมู, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอกพยาน; (ถิ่น-พายัพ) คุก, เรือนจํา. ว. ลักษณะของแขนที่พิการเหยียดตรงไม่ได้ เรียกว่า แขนคอก.
ค่าฤชาธรรมเนียม : [-รึชา-] (กฎ) น. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดําเนินคดี รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสาร และบังคับคดี และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย.
คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
เจือสม : ก. มีความสอดคล้องหรือสนับสนุนให้น่าเชื่อ เช่น คำให้การของพยาน โจทก์กับพยานจำเลยเจือสมกัน.
ชี้ตัว : (กฎ) น. กระบวนการทางการสอบสวนเพื่อหาตัว ผู้กระทําผิดโดยให้ผู้เสียหายหรือพยานชี้ว่าผู้ใดเป็นผู้ต้องหา.
ถามค้าน : (กฎ) ก. การที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซักถามพยาน เมื่อคู่ความ ฝ่ายที่อ้างพยานได้ซักถามพยานเสร็จแล้ว, ซักค้าน ก็ใช้.
ถามติง : (กฎ) ก. การที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานซักถามพยานอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยานเสร็จแล้ว.
ถามนำ : (กฎ) ก. การถามพยานโดยแนะคําตอบไว้ในคําถามนั้นด้วย.
ถามปากคำ : (กฎ) ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การ โดยพนักงาน สอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น ถามปากคําพยาน ถามปากคํา ผู้ต้องหา, (ปาก) สอบปากคํา.
นำสืบ : (กฎ) ก. นําพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ที่กล่าวอ้าง.
น้ำหนัก : น. ความหนักของสิ่งต่าง ๆ, ความสําคัญ เหตุผล หรือพยาน หลักฐาน เป็นต้น ที่ควรแก่การเชื่อถือ หรือที่จูงใจให้เชื่อถือ.
บอกกล่าว : ก. ร้องบอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้.
เบิกความ : (กฎ) ก. ให้ถ้อยคําต่อศาลในฐานะพยาน.
ปั้น ๑ : ก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทําให้เป็นรูปตาม ที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น, เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.
ปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์และจําเลยแถลงด้วยปาก หรือหนังสือ หรือทั้ง ๒ อย่างเมื่อสืบพยานจําเลยเสร็จแล้ว เพื่อสรุปประเด็นข้อ เท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่อศาลก่อนมีคําพิพากษา.
ปิดปาก : ก. ไม่พูด หรือไม่ให้พูด เช่น ปิดปากเงียบ พยานถูกฆ่าปิดปาก.
เปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์หรือจําเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนําพยาน เข้าสืบ.
พิสูจน์ : ก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริง ในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).
ฟังได้ : ว. พอเชื่อถือได้ เช่น ที่พยานให้การมานั้นฟังได้, ไม่ขัดหู เช่น เพลงไพเราะพอฟังได้.
ฟ้า : น. ส่วนเบื้องบนที่มองเห็นครอบแผ่นดินอยู่ เช่น ดาวเต็มฟ้า, อากาศ เช่น ฟ้าครึ้ม ยิงปืนขึ้นฟ้า; สวรรค์ เช่น นางฟ้า ฟ้าดินเป็น พยาน; (กลอน) เจ้าฟ้า. ว. สีน้ำเงินอ่อนอย่างสีท้องฟ้าในเวลามีแดด เรียกว่า สีฟ้า.