Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สังคม , then สงคม, สังคม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สังคม, 58 found, display 1-50
  1. สังคม, สังคม : [คมมะ] น. คนจํานวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการ หรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับ การพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).
  2. มารสังคม : [มาน-] น. ผู้ที่เป็นภัยต่อสังคม.
  3. แรงงานและสวัสดิการสังคม : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การบริหารแรงงานการจัดหางาน การประชาสงเคราะห์ การพัฒนาฝีมือ แรงงาน การสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และการประกันสังคม.
  4. สังคมนิยม : [สังคมมะ, สังคม] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มี หลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจน การจําแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
  5. สังคมวิทยา : [สังคมมะ, สังคม] น. วิชาว่าด้วยเรื่องสังคม.
  6. สังคมศาสตร์ : [สังคมมะ, สังคม] น. ศาสตร์ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับ สังคม มีหมวดใหญ่ ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ (เกี่ยวกับสังคม) มานุษยวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยาสังคม.
  7. สังคมศึกษา : [สังคมมะ, สังคม] น. หมวดวิชาที่ประกอบด้วยวิชา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม.
  8. ฐาน ๒, ฐาน, ฐานะ : [ถาน, ถานะ] น. ตําแหน่งหน้าที่; หลักฐาน, ลําดับความเป็นอยู่ใน สังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. (ป.).
  9. นิคมที่ดิน : น. ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ประชากรอพยพครอบครัวเข้าไปตั้งถิ่น ฐานเพื่อประกอบอาชีพและอยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ โดยมีการวางแผน เพื่อพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาชีพ รวมทั้งบริการ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า.
  10. ผังเมือง : (กฎ) น. แผนผัง นโยบาย และโครงการที่ใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมือง ในด้านสุขลักษณะ ความสะดวก สบายความเป็นระเบียบความสวยงาม การใช้ประโยชน์ ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม.
  11. ล้างสมอง : ก. ทําให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือ ของตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่าง สิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้วิธีการ ต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง.
  12. สถาบัน : [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิตของ ตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
  13. สังคมสงเคราะห์ : [สังคมสงเคฺราะ] น. การดําเนินงานเพื่อช่วยเหลือ บุคคลให้สามารถช่วยตนเองได้.
  14. กฎธรรมดา : น. ข้อกําหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดา วิสัยของมนุษย์และสังคม.
  15. กว้าง : [กฺว้าง] น. ด้านสั้นที่คู่กับด้านยาว. ว. ไม่แคบ, แผ่ออกไป. กว้างขวาง ก. แผ่ออกไปมาก, ใหญ่โต, เช่น มีเนื้อที่กว้างขวาง; เผื่อแผ่ เช่น มีน้าใจกว้างขวาง, รู้จักคนมากและมีคนรู้จักมาก เช่น กว้างขวางในสังคม.
  16. กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  17. กษัตริย์ : [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  18. กอล์ฟ : [กฺวาง] น. (๑) ชื่อปลางัวบางชนิดในวงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae และ Balistidae. (ดู งัว๕ ประกอบ). (๒) ปลาม้า. (ดู ม้า๓). [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน. [กฺว้าง] น. ด้านสั้นที่คู่กับด้านยาว. ว. ไม่แคบ, แผ่ออกไป. กว้างขวาง ก. แผ่ออกไปมาก, ใหญ่โต, เช่น มีเนื้อที่กว้างขวาง, เผื่อแผ่ เช่น มีน้าใจกว้างขวาง, รู้จักคนมากและมีคนรู้จักมาก เช่น กว้างขวางในสังคม.
  19. เก็บตัว ๒, เก็บเนื้อเก็บตัว : ก. สงวนตัวไม่ไปงานสังคม, ไม่ออกสังคม, ไม่คบหาสมาคมกับใคร.
  20. แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
  21. คณาธิปไตย : [คะนาทิปะไต, คะนาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครอง แบบหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจํานวนน้อยของสังคม มักได้แก่ กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ. (ป. คณ + อธิปเตยฺย).
  22. ครอบครัว : [คฺรอบคฺรัว] น. สถาบันพื้นฐานของสังคมที่ประกอบด้วยสามีภรรยา และหมายความรวมถึงลูกด้วย.
  23. คหกรรมศาสตร์ : [คะหะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งพัฒนาครอบครัว ด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอาชีพ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคม.
  24. คอมมิวนิสต์ : น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยม ที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่าง เสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็น ผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์. ว. เกี่ยวกับระบบคอมมิวนิสต์. (อ. communism, communist).
  25. ค่านิยม : น. สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และ กำหนดการกระทำของตนเอง.
  26. จระเข้คับคลอง : (สำ) น. ผู้ที่ชอบวางตัวใหญ่โตเกินไปย่อมมีอุปสรรคในการ ดำรงตนในสังคม.
  27. ชุมชน : น. หมู่ชน, กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน.
  28. ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
  29. บอล : น. ลูกกลมทําด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น หนัง ยาง พลาสติก ภายในมีลมอัด ใช้ในการเล่นกีฬาเป็นต้น, ลูกบอล ก็เรียก. (อ. ball); เรียกงานชุมนุม ทางสังคมที่มีลีลาศ รําวง เป็นหลักสําคัญ ว่า งานบอล.
  30. ประชากรศาสตร์ : น. การศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับประชากรในแง่ อัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และการกระจาย เป็นต้น รวม ทั้งผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ.
  31. ประเพณีนิยม : น. ประเพณีของสังคมที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา.
  32. พราหมณ์ ๑ : [พฺราม] น. คนในวรรณะที่ ๑ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี๔วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร, ผู้ที่ถือเพศไว้ผม นุ่งขาวห่มขาว เช่น พราหมณ์ปุโรหิต พราหมณ์พฤฒิบาศ. (ป., ส.).
  33. แพศย์ : [แพด] น. คนในวรรณะที่ ๓ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี๔วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร. (ส. ไวศฺย, ป. เวสฺส).
  34. ฟอนเฟะ : ว. เละเทะ, เป็นที่น่ารังเกียจ, เช่น มีความประพฤติฟอนเฟะ สังคมฟอนเฟะ.
  35. ฟาสซิสต์ : น. ลัทธิการเมืองที่ผู้นํารวบอํานาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไว้หมด และมีนโยบายชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่เคารพ ในกรรมสิทธิ์ของเอกชน, ผู้ที่นิยมลัทธินั้น. ว. เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสต์. (อ. fascism, fascist).
  36. ภูมิศาสตร์ : [พูมิ–] น. วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่าง ๆ ของโลก.
  37. มนุษยสัมพันธ์ : [มะนุดสะยะ-, มะนุดสำพัน] น. ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่าง มนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน.
  38. มหาวิทยาลัย : [มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ ผู้สําเร็จการศึกษา รวมทั้งดําเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.
  39. มิติ ๑ : น. การวัด (มักใช้ประกอบหลังศัพท์อื่น) เช่น ตรีโกณมิติ สังคมมิติ, ขนาดซึ่งวัดไปตามทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยถือขนาดยาวเป็น มิติที่ ๑ ขนาดกว้างเป็นมิติที่ ๒ ขนาดหนาหรือสูงเป็นมิติที่ ๓ และ ถือว่าเวลาเป็นมิติที่ ๔, ในทางศิลปะอาจใช้ หนาหรือลึก แทน กว้างหรือยาว ก็ได้. (ส.).
  40. ระบบ : น. กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่ง ความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผล ทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ.
  41. ล้า ๒ : ว. ช้าไม่ทันคนหรือไม่ทันเหตุการณ์เป็นต้น เช่น วัฒนธรรมล้า สังคมล้า.
  42. วรรณ, วรรณะ : [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  43. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  44. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  45. ศิลปะประยุกต์ : น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทาง ศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือ เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่างในการออกแบบ เครื่องแต่งกาย.
  46. ศิลปะพื้นบ้าน : น. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัว หรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้ พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.
  47. ศูทร : [สูด] น. วรรณะที่ ๔ ของสังคมฮินดู. (ส.; ป. สุทฺท).
  48. สถานภาพ : น. ฐานะ เช่น ราชบัณฑิตยสถานมีสถานภาพเป็นแหล่ง ค้นคว้าและบำรุงสรรพวิชา; ตําแหน่งหรือเกียรติยศของบุคคลที่ ปรากฏในสังคม เช่น เขามีสถานภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี; สิทธิหน้าที่ตามบทบาทของบุคคล เช่น เขามีสถานภาพทางครอบครัว เป็นบิดา.
  49. สร้างสรรค์ : ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม) เช่น สร้างสรรค์ความสุขความเจริญให้แก่สังคม. ว. มีลักษณะริเริ่มใน ทางดี เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์.
  50. สะท้อน ๑ : ก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยาย หมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง.
  51. [1-50] | 51-58

(0.0790 sec)