สังฆราช : [ราด] น. ตําแหน่งพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดใน สังฆมณฑล. (ป.).
บอกหนังสือสังฆราช : (สํา) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว, สอนหนังสือ สังฆราช ก็ว่า.
สมเด็จพระสังฆราช : (กฎ) น. ประมุขแห่งคณะสงฆ์ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงสถาปนาให้ดำรงตำแหน่ง สกลมหาสังฆปริณายก.
สอนหนังสือสังฆราช, บอกหนังสือสังฆราช : (สํา) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดี อยู่แล้ว.
เกล้ากระหม่อม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
งาสาน : (โบ) น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสีว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและ สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า 'คามวาสี อรัญวาสี' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทอง และเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสานเป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี.
บอก ๒ : ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
ประเทียบ ๒ : น. พระสนม; เรียกรถฝ่ายในว่า รถพระประเทียบ, เรียกเรือฝ่ายใน ว่า เรือพระประเทียบ, โดยอนุโลมเรียกรถประจําตําแหน่งสมเด็จ พระสังฆราชว่า รถพระประเทียบ.
พระองค์ : (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนาม ใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
พัดงาสาน : (โบ) น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จ พระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า ''คามวาสี อรัญวาสี'' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่าย อรัญวาสี.
พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ : น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมด หรือ กำมะหยี่ ปักลวดลายด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลาย ต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จ พระสังฆราช ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น.
พุทธฎีกา : น. ถ้อยคําของพระพุทธเจ้า; (โบ) ถ้อยคําของสมเด็จ พระสังฆราช. (จารึกสยาม). (ป.).
รถพระประเทียบ : น. รถฝ่ายใน, รถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช.
รับประทาน : ก. กิน เช่น รับประทานอาหาร; (ราชา) รับของจากเจ้านาย เช่น รับประทานสิ่งของจากสมเด็จพระสังฆราช รับประทานประกาศนียบัตรจาก พระองค์เจ้า.
เรือพระประเทียบ : น. เรือหลวงจัดเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในหรือ พระราชทานเป็นยานพาหนะของสมเด็จพระสังฆราช.
ศาสน์ : (โบ) น. คําสั่ง, คําสั่งสอน, โดยปริยายหมายถึง พระราชหัตถเลขา ทางราชการและลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระราชศาสน์ สมณศาสน์. (ส.; ป. สาสน).
สกลมหาสังฆปริณายก : [สะกนมะหาสังคะปะรินายก] (กฎ) น. ตําแหน่งของสมเด็จพระสังฆราช ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง ทรงมีอํานาจบัญชาการ คณะสงฆ์ ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับ กฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม.
สถิต : [สะถิด] ก. อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่, (ใช้เป็นคํายกย่องแก่สิ่งหรือบุคคลที่อยู่ใน ฐานะสูง) เช่น พระเจ้าสถิตบนสวรรค์ พระมหากษัตริย์สถิตบนพระที่นั่ง สมเด็จพระสังฆราชสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร. (ส. สฺถิต; ป. ??ต).
สมณสาสน์ : [สาด] น. จดหมายของสมเด็จพระสังฆราชหรือประมุข ของประเทศ ซึ่งเป็นนักบวชที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่าง ประเทศ.
สังฆาณัติ : (กฎ; เลิก) น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระ สังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคําแนะนําของสังฆสภา ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔, ปัจจุบันเรียกว่า พระบัญชาสมเด็จ พระสังฆราช. (ป.).