สัญญาณ : น. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทําตามที่ บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็น สัญญาณให้พระลงโบสถ์.
สัญญาณจราจร : (กฎ) น. สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น.
ทางหลวง : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการ จราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และ หมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือราง ระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมาย สัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้น หรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดา ที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
โทร- : [โทระ-] ว. คํานําหน้าศัพท์ แปลว่า ไกล. โทรคมนาคม [-คะมะ-, -คมมะ-] น. การส่ง การกระจาย หรือการ รับภาพ เครื่องหมาย สัญญาณ ข้อเขียน เสียง หรือการทําให้เข้าใจ ด้วยวิธีใด ๆ โดยอาศัยระบบสายวิทยุสื่อสาร หรือระบบแม่เหล็ก ไฟฟ้าอื่น ๆ. (อ. telecommunication).
กระโจมไฟ : น. หอสูงซึ่งตามไฟฉายแสงอย่างแรงไว้บนยอดเพื่อใช้ บอกสัญญาณในการเดินเรือเป็นต้น, ประภาคาร หรือ เรือนตะเกียง ก็เรียก.
กระดิ่ง : น. เครื่องทําเสียงสัญญาณทําด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สําหรับทําให้เกิดเสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระดิ่งจักรยาน.
กระแต ๒ : น. ชื่อฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดยทำร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้ สำหรับถือตี เป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ เรียกว่า ฆ้องกระแต.
กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
กริ่ง ๑ : [กฺริ่ง] น. เครื่องบอกสัญญาณมีเสียงดังเช่นนั้น; เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ ข้างในกลวง มีก้อนโลหะ คลอนเขย่าดังกริ่ง ๆ ว่า พระกริ่ง.
กลองเพล : [-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณ บอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
กวัก ๒ : [กฺวัก] ก. อาการที่ใช้สิ่งแบน ๆ พุ้ยเข้าหาตัว, ใช้มือทําอาการเช่นนั้น เพื่อเป็นสัญญาณให้เข้ามาหา เรียกว่า กวักมือ, อาการที่นกใช้ปีกพุ้ย อากาศบินไป เรียกว่า นกกวักปีก.
กู่ ๒ : ก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้.
เกราะ ๒ : [เกฺราะ] น. เครื่องสัญญาณทําด้วยไม้ ใช้ตีหรือสั่นให้ดัง.
ขยิบ : [ขะหฺยิบ] ก. ทําหลับตาแล้วลืมโดยเร็วครั้งหนึ่ง โดยเป็นอาณัติ สัญญาณให้ผู้อื่นกระทําหรือเว้นกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ขัน ๓ : ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่.
ขานรหัส : ก. ร้องเรียกโดยใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ที่กําหนด รู้กันโดยเฉพาะ.
คลื่นใต้น้ำ ๑ : น. คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสมํ่าเสมอและยอด เรียบเคลื่อนตัวมาจากแหล่งกําเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็นสัญญาณ บอกเหตุว่าจะเกิดพายุ.
ฆ้องกระแต : น. ฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดย ทำร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่ง มีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้สำหรับถือตีเป็นสัญญาณ ในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ.
ฆ้องชัย : น. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก.
ฆ้องโหม่ง : น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับ เชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะ ในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลา กลางวันเป็นสัญญาณบอก ''โมง'' คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลา กลางคืนบอก ''ทุ่ม''.
จุดบอด : น. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณ หลังลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็น ได้เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ, จุดของ ปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจนอาจจะเนื่องจาก ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสภาวะที่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้.
ชักเย่อ : [ชักกะ] น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่น ออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลัง พอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่น ทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็น เครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลาง เป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามา ในแดนของตนถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามา ในแดนของตนได้ ถือว่าชนะตามปรกติจะแข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด. ก. ดึง, รั้ง.
ไซเรน : น. เครื่องส่งสัญญาณเสียงเพื่อเตือนภัย บอกหมดภัย หรือเตือนให้ ยวดยานอื่นหลีกทางให้ เป็นต้น; เสียงที่เกิดจากเครื่องเตือนภัย เรียก เสียงไซเรน. (อ. siren).
แถบบันทึกภาพ : น. แถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้บันทึกสัญญาณภาพ.
แถบบันทึกเสียง : น. แถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้บันทึกสัญญาณเสียง.
ทุ่นเบ็ด : น. ทุ่นสําหรับผูกสายเบ็ดตกปลา เพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่า ปลากินเบ็ด.
โทรพิมพ์ : น. ระบบโทรคมนาคมที่ใช้เครื่องรับส่งสัญญาณโทรเลข ประกอบด้วยแป้นพิมพ์และแคร่พิมพ์ ลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด สามารถรับส่งสัญญาณโทรเลขเพื่อพิมพ์เป็นตัวอักษรบนกระดาษพิมพ์ และส่งตัวอักษรที่พิมพ์เป็นสัญญาณโทรเลขผ่านวงจรโทรเลขที่ต่ออยู่ กับเครื่องโทรพิมพ์นั้นได้. (อ. teletype).
โทรเลข : น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งรหัส สัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยสายตัวนําที่โยงติดต่อ ถึงกัน และอาศัยอํานาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ. (อ. telegraph). (ปาก) ก. ส่งข้อความไปยังอีกบุคคลหนึ่งทางโทรเลข.
บอก ๒ : ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
โบกมือ : ก. แกว่งมือทําสัญญาณ.
ประโคม : ก. บรรเลงดนตรีเพื่อเป็นสัญญาณในพิธีบางอย่างเพื่อสักการบูชา หรือยกย่องเป็นต้น.
เป่าหวูด : ก. ดึงสายเชือกเพื่อเปิดหวูดเรือกลไฟเป็นสัญญาณในการ เดินเรือ.
มโหระทึก : น. กลองโลหะชนิดหนึ่ง ใช้ตีเป็นสัญญาณและประโคม.
รถฉุกเฉิน : (กฎ) น. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหาร ส่วนกลางราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟ สัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณ อย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกําหนด.
รหัส : [หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้ข้อความ ที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษร ของข้อความนั้นหรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง กุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).
วิทยุกระจายเสียง : น. การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศ โดยใช้คลื่นวิทยุ.
วิทยุคมนาคม : น. การส่งหรือการรับเครื่องหมายสัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียงหรือการอื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้ โดยใช้คลื่นวิทยุ.
วิทยุโทรทัศน์ : น. การแพร่สัญญาณโทรทัศน์ออกอากาศ โดยใช้คลื่นวิทยุ.
ส่ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึง ผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบน ให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อ มีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.
สะพานลอย : น. สะพานสูงแคบ ๆ ที่สร้างคร่อมขวางถนน ใช้เป็น ทางให้คนเดินข้ามถนน รถสามารถแล่นผ่านใต้สะพานได้, สะพานสูง กว้าง และยาวมาก มักสร้างคร่อมทางรถไฟหรือสี่แยกที่ถนนสาย สําคัญ ๆ ตัดกัน เพื่อให้รถยนต์แล่นผ่านไปมาได้โดยไม่ต้องรอให้ รถไฟผ่านหรือรอสัญญาณไฟ.
หรี่ตา : ก. ทำตาให้หยีลงเพื่อให้แสงสว่างเข้าตาน้อยหรือเพื่อเป็นอาณัติ สัญญาณบางอย่าง.
หลิ่วตา : ก. หรี่ตาลงข้างหนึ่ง เพื่อเล็งดูด้วยตาอีกข้างหนึ่ง, โดยปริยาย หมายถึงให้สัญญาณด้วยอาการเช่นนั้นเพื่อให้ลงมือทําการหรือไม่ทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อแสดงอาการล้อเลียนหยอกล้อ.
หวอ : [หฺวอ] ว. เปิดเป็นช่องเป็นโพรง เช่น นั่งอ้าปากหวอ; ให้สัญญาณเสียงดัง เช่นนั้น.
หางปลา : น. ชื่อพัดชนิดหนึ่งที่ปิดด้วยกระดาษเป็นต้นลงบนโครงพัด รูปคล้ายหางปลาช่อนที่แผ่ออก เรียกว่า พัดหางปลา; ชื่อพลั่วชนิดหนึ่ง ปลายบากเข้าเป็นรูปคล้ายหางปลาทู ใช้ขุดดิน เรียกว่า พลั่วหางปลา; เครื่องหมายสัญญาณให้รถไฟแล่นเข้าออกได้; โลหะลักษณะแบน สําหรับเหนี่ยวเพลาล้อหลังรถจักรยาน เพื่อให้โซ่ตึง; ชื่อชายปั้นลม แบบหนึ่ง ปลายตอนล่างผายออกคล้ายหางปลาที่ตัดตรง; ตัวไม้สำหรับ ช่วยยึดตัวไม้ส่วนโครงหลังคาเรือนบางตัวให้มั่นคง.
ออด ๑ : ก. พรํ่าอ้อนวอน, พรํ่ารําพัน. (ปาก) น. เครื่องบอกสัญญาณที่มี เสียงดังเช่นนั้น.