สันติ : น. ความสงบ เช่น อยู่ร่วมกันโดยสันติ. (ป.; ส. ศานฺติ).
สันติวิธี : น. วิธีที่จะก่อให้เกิดความสงบ เช่น เจรจาสงบศึกโดยสันติวิธี.
สันติกะ : น. สํานัก, ที่ใกล้. (ป.).
สันติบาล : น. ผู้รักษาความสงบ.
พิทักษ์สันติ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
วินาศสันติ : [วินาด] ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออก เสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.
สันเดก : (โบ) น. สันติกะ, สํานัก. (ป. สนฺติก).
กษีรารณพ :
[กะสีราระนบ] น. ทะเลน้ำนม. (ส. กฺษีร + อรฺณว). ดู กษีร-, กษีระ.ดู กษีร-, กษีระ. [กะ-] (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องน้ำใจกสานติ์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้. [กะ-] น. การทํานา, การเพาะปลูก. (ป.).
กสานติ์ : [กะ-] (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องน้ำใจกสานติ์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้.
ศานติ : น. ความสงบ, ความระงับ. (ส.; ป. สนฺติ).
สันติภาพ : น. ความสงบ เช่น โลกต้องการสันติภาพ จงร่วมมือกัน รักษาสันติภาพของโลก. (ป. สนฺติ + ภาว).
กระสานติ์ : (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เขียนเป็น กรสานต์ ก็มี เช่น ดำรงกรษัตร ให้กรสานต์. (ยวนพ่าย). (กระ + ป. สนฺติ; ส. ศานฺติ).
กระเษมสานต์ : น. เกษมสันต์. (ส. เกฺษม + ศานฺต; ส. เกฺษม + ป. สนฺต).
เกษมศานต์, เกษมสันต์ : ว. โปร่งอารมณ์, ชื่นชมยินดี. (ส. เกฺษม + ศานฺต, ส. เกฺษม + ป. สนฺต).
ศานต, ศานต์ : [สานตะ, สาน] ว. สงบ. (ส.; ป. สนฺต).