สับสน : ก. ปะปนกันยุ่งไม่เป็นระเบียบ เช่น ข่าวสับสนทำให้ได้ข้อมูล ไม่ถูกต้อง ผู้คนมากมายเดินไปมาสับสน.
คะไขว่ : [-ไขฺว่] (กลอน) ว. ขวักไขว่, สับสน, โบราณเขียนเป็น คไขว่ ก็มี เช่น ขว้างหอกซรัดคไขว่ ไล่คคลุกบุกบัน. (ตะเลงพ่าย).
ลนลาน ลุกลน ลุกลี้ลุกลน. : ว. อาการที่รีบร้อนจนไม่เป็นระเบียบ, สับสน, เช่น ทำอะไรลนไปหมด พูดลนจนฟังไม่รู้เรื่อง.
ละเล้า : ก. เคล้าคลึง, คลอเคลีย, คลํา; สับสน, ปะปน, ใช้เข้าคู่กับคํา ละลุม เป็น ละเล้าละลุม ก็มี.
หัวหมุน : ก. งง, สับสน, หัวหมุนเป็นลูกข่าง ก็ว่า.
วุ่น : ก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน เช่น งานมากทําให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทําอะไรหลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา, ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทําให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน. วุ่นเป็นจุลกฐิน [จุนละกะถิน] (สํา) ก. อาการที่ต้องทํางานอย่าง ชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
กระลายกระลอก : [-หฺลอก] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กลายกลอก) ก. สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. (สมุทรโฆษ).
พล่าน : [พฺล่าน] ว. อาการเป็นไปในลักษณะป่วน วุ่น สับสน ลนลาน ซ่าน หรืออย่างอื่นที่คล้ายกัน เช่น เดือดพล่าน วิ่งพล่าน เดินพล่าน.
ละวล : ว. ก้อง, อื้ออึง, สับสน.
ว้าวุ่น : ก. สับสน เช่น จิตใจว้าวุ่น.
อลวน : [อนละวน] ว. วุ่น, สับสน.
อุตลุด : [อุดตะหฺลุด] ว. ชุลมุนวุ่นวาย, พัลวัน, สับสน.
กระจุกกระจุย : ว. กระจายจากกันอย่างสับสนไม่เป็นระเบียบ.
ขวักไขว่ : [ขฺวักไขฺว่] ว. อาการที่เคลื่อนไหวสวนกันไปมาอย่างสับสน เช่น เดินขวักไขว่ บินขวักไขว่.
ไขว่ : [ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมา อย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับ แผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่นว่า ๑ ไขว่.
ไขว่คว้า : ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, คว้าไขว่ ก็ว่า.
คล่ำ : [คฺลํ่า] น. หมู่. ว. สับสน, เกลื่อนกล่น, มาก, มักใช้คู่กับคำ คลา เป็น คลาคล่ำ.
คว้าไขว่ : [-ไขฺว่] ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, ไขว่คว้า ก็ว่า.
ฉุกละหุก : ก. สับสนวุ่นวายเพราะมีเรื่องเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนโดยไม่ คาดฝัน.
ชุลมุน : [ชุนละ] ว. อาการที่เป็นไปอย่างสับสนวุ่นวายไม่เป็น ระเบียบ เช่น เดินกันชุลมุน ชกต่อยกันชุลมุน.
ซับซ้อน : ก. ปะปนทับถมรวมกันอยู่หลายอย่างหลายเรื่อง, ยุ่งยากสับสนสะสางยาก, เช่น คดีซับซ้อน.
ป่วนปั่น : ก. เคลื่อนไหวไปมาอย่างรุนแรงผิดปรกติ เช่น ทะเลป่วนปั่น, สับสนวุ่นวายผิดปรกติ เช่น ใจคอป่วนปั่น ท้องป่วนปั่น บ้านเมือง ป่วนปั่น, ปั่นป่วน ก็ว่า.
ปั่นป่วน : ก. เคลื่อนไหวไปมาอย่างรุนแรงผิดปรกติ เช่น ทะเล ปั่นป่วน; สับสนวุ่นวายผิดปรกติ เช่น ใจคอปั่นป่วน ท้องปั่นป่วน บ้านเมืองปั่นป่วน, ป่วนปั่น ก็ว่า.
เปรอะ : [เปฺรอะ] ว. เลอะ เช่น ผ้าเปรอะ, เกรอะกรัง เช่น สนิมเปรอะ, หมักหมม เช่น ขี้ไคลเปรอะ; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า สับสน, ยุ่งเหยิง, เช่น ลวดลายเปรอะ วางของเปรอะไปหมด.
พัลวัน : [พันละ] ว. อุตลุด, เกี่ยวพันหรือพัวพันกันจนยุ่งเหยิงสับสนแยก ไม่ออก, เช่น ตบตีกันเป็นพัลวัน.
ยุ่ง : ว. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึง จะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น ผมยุ่ง ไหมพันกันยุ่ง, ไม่เรียบร้อย เช่น เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก ข้าวของปนกันยุ่ง, อาการที่ทำให้สับสน เช่น ทำเรื่องยุ่ง, เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวายว่า ตัวยุ่ง. ก. เข้ามา เกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับ เขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน.
ยุ่งขิง : (ปาก) ว. ยุ่งมาก, นุงนัง, สับสนวุ่นวาย.
ยุ่งสมอง : ก. ทำให้ความคิดสับสน เช่น อย่าเอาเรื่องนี้มาคิดให้ยุ่งสมอง.
ยุ่งเหมือนยุงตีกัน : (สํา) ว. ยุ่งเหยิง, สับสนปนเปกัน.
เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
เละ : ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ; โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.