น้ำมูก : น. นํ้าเมือกที่ออกจากจมูก.
สั่ง ๒ : ก. ทําให้ลมดันนํ้ามูกออกจากจมูกโดยแรง ในคำว่า สั่งน้ำมูก.
สั่ง ๑ : ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
สั่งลา : ก. บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น เขาสั่งลาลูกเมียก่อน เดินทางไปต่างประเทศ เขาตายโดยไม่ได้สั่งลา.
สั่งสอน : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทํา เช่น แม่สั่งสอนลูกให้เป็น คนดี, สอนสั่ง ก็ว่า.
สั่งเสีย : ก. เตือน, กําชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่ จะจากไป, บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.
สนทิศ : ก. ชี้แจง, สั่ง, บอกกล่าว, ประกาศ. (ส. สํ + ทิศ).
น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน : (สํา) สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทําการอันใดที่เป็น สิ่งสําคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป, ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง ก็ว่า. น้ำสาบาน
ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง : (สํา) สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทําการอันใดที่เป็น สิ่งสําคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป, นํ้าสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน ก็ว่า.
สอนสั่ง : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ, สั่งสอน ก็ว่า.
สังสนทนา, สั่งสนทนา : ก. พูดกันฐานกันเอง, พูดจาหารือกัน, มักใช้ สั่งสนทนา. (ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียงกัน).
สง : ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
กินสั่ง : ก. กินมากผิดปรกติเมื่อถึงคราวจะตาย, โดยปริยายหมายความถึงกินจุเกินควร.
ฝนสั่งฟ้า : (ปาก) น. ฝนที่ตกหนักตอนปลายฤดูฝน.
ไขลาน : (ปาก) ก. สั่ง, บอกให้ทํา, เช่น ต้องไขลานกันอยู่เรื่อย ไม่อย่างนั้น ไม่ทํา; หมดกําลัง, หมดแรง, เช่น พอขึ้นชกยกที่ ๕ นักมวยก็เริ่มไขลานแล้ว.
กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
กระดาษว่าว : น. กระดาษที่ใช้ทําว่าว เป็นกระดาษที่เหนียว และไม่โปร่ง ลมรั่วไม่ได้ เดิมใช้กระดาษที่สั่งมาจากเมืองจีน ต่อมาใช้กระดาษจากญี่ปุ่น.
กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
กระแหร่ม : [-แหฺร่ม] ก. กระแอม คือ ทําเสียงขึ้นมาจากคอ เช่นเพื่อ มิให้น้ำมูกลงคอเมื่อเป็นหวัด หรือเพื่อให้หายเสลดติดคอ.
กวาดล้าง : ก. กําจัดให้หมดไป เช่น กวาดล้างอันธพาล กวาดล้างโจรผู้ร้าย. [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย). [กฺว้าน] น. ตึก ใช้ควบกันว่า ตึกกว้าน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่อยู่ซึ่งปลูกไว้คล้ายโรงนา พื้นอยู่กับดิน. [กฺว้าน] น. เครื่องสําหรับฉุดดึงและยกของหนัก. ก. ฉุดด้วยกว้าน, ขันกว้าน ก็เรียก; รวบรวมจากที่ต่าง ๆ มาไว้เป็นจํานวนมาก เช่น กว้านสินค้ามากักตุนไว้. [กฺว๊าน] (ถิ่น-พายัพ) น. บึง; น้ำตอนลึก, น้ำตอนที่ไหลวน. [กฺว้าว] ดู ขว้าว.[กฺวาว-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria candollei Grah. var. mirifica (Airy Shaw et Suvatabandhu) Niyomdham ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน มีหัวกลม ๆ ออกที่ โคนต้นและตามราก ใช้ทํายาได้. [กะวิน] (โบ) ว. ดีงาม เช่น ใครกวินซื่อแท้. (แช่งน้ำ). (ทมิฬ แปลว่า งาม). [กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จําแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).
กวาน, กว่าน : [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย).
กำชับ : ก. สั่งย้าให้แน่นอน.
กิมตึ๋ง : น. ชื่อเครื่องหมายถ้วยปั้นชนิดหนึ่งที่สั่งมาจากประเทศจีน. (จ.).
กิริยาสะท้อน : น. การเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันของกล้ามเนื้อที่ ไม่อยู่ในอํานาจสั่งงานของสมอง เพื่อตอบสนองสิ่งกระตุ้น เป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายหรือสิ่งรบกวน เช่นหดมือเมื่อถูกของร้อน.
เกษียน : [กะเสียน] น. ข้อความที่เขียนแทรกไว้เช่นในใบลาน, ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคําสั่ง หรือหนังสือราชการ เรียกว่า หัวเกษียน. ก. เขียน. ว. เล็กน้อย. (แผลงมาจาก เขียน).
แก้ฟ้อง : (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่ คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อ ต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
ขัด ๑ : ก. ให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุดออก เช่น ขัดกระดุม ขัดกลอน; เหน็บ เช่น ขัดกระบี่; ไม่ทําตาม, ฝ่าฝืน, ขืนไว้, เช่น ขัดคําสั่ง; แย้งกัน, ไม่ลงรอยกัน.
ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ : (สํา; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบ ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อน เจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้น ก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
ข้านอกเจ้าบ่าวนอกนาย : (สำ) น. ผู้ที่กระทำหรือประพฤตินอกเหนือ คำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมา.
ขีน : ก. ยั้งไว้หรือบังคับไว้ไม่ให้เป็นไปตาม เช่น ขืนตัว ขืนเรือ; ไม่ควรทํา แต่ยังกล้าทํา เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทําตาม เช่น ขืนคําสั่ง.
คดีหมายเลขดำ : (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียน คดีในสารบบความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียง เป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยโดยเริ่ม ตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำ พิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว เรียกย่อ ๆ ว่า ``คดีดำ'' เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีดำที่ ๑/๒๕๔๐.
คดีหมายเลขแดง : (กฎ) น. คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดคดี หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หรือมีคำสั่ง จำหน่ายคดีชั่วคราวแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เป็นลำดับ ไปจนสิ้นปี เรียกย่อ ๆ ว่า ``คดีแดง'' เช่น คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีแดงที่ ๑/๒๕๔๐.
คนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
คนสาบสูญ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และ ไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา ๕ ปี และศาลมีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ระยะเวลา ๕ ปีดังกล่าว ลดลงเหลือ ๒ ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบ หรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว หรือนับแต่วัน ที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางไป ได้อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิต นอกจากที่ระบุไว้ใน ๒ กรณีดังกล่าว ข้างต้นได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น.
คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
ครู ๑ : [คฺรู] น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).
คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
คัดไทย : น. วิชาคัดภาษาไทยตามที่ครูสั่ง.
คำขอ : (กฎ) น. คําซึ่งคู่ความหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียขอ ให้ศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง; หนังสือที่ยื่นต่อทางราชการเพื่อ ขอให้ทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ยื่น.
คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
คำบังคับ : (กฎ) น. คําสั่งของศาลซึ่งออกเพื่อสั่งให้คู่ความหรือบุคคล ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง.
คำร้อง ๑ : (กฎ) น. (๑) คําขอที่ยื่นต่อทางราชการ เพื่อให้ทําการอย่างใด อย่างหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง. (๒) คําขอที่คู่ความยื่นต่อศาล เพื่อขอให้ศาล มีคําสั่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, คําร้องขอ ก็ว่า. (อ. request).
คุรุ : น. ผู้สั่งสอน, ครู. (ป., ส.).
เคร่งครัด : [-คฺรัด] ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย; (กลอน) แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้ง ห่อผ้าห่มหวง. (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด; ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติ ตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด; ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.
เครื่องเล่น : น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทํานองตลกขบขัน หรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช.
โค ๑ : น. วัว (มักใช้เป็นทางการ) เช่น สั่งซื้อแม่โคพันธุ์ใหม่จาก ต่างประเทศ. (ป., ส.).
งด : ก. หยุดหรือเว้น คือ ไม่กระทําหรือไม่ดําเนินการตามปรกติ เช่น ผู้ป่วย ต้องงดอาหารและน้ำตามที่แพทย์สั่ง.
จัดการ : ก. สั่งงาน, ควบคุมงาน, ดําเนินงาน.
จาริก, จารึก ๑ : น. ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น. ก. ท่องเที่ยวไป เพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น.
เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.