Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สั่งเสีย, เสีย, สั่ง , then สง, สงสย, สย, สั่ง, สั่งเสีย, เสีย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สั่งเสีย, 776 found, display 1-50
  1. สั่งเสีย : ก. เตือน, กําชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่ จะจากไป, บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.
  2. สั่ง : ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
  3. สั่ง : ก. ทําให้ลมดันนํ้ามูกออกจากจมูกโดยแรง ในคำว่า สั่งน้ำมูก.
  4. น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน : (สํา) สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทําการอันใดที่เป็น สิ่งสําคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป, ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง ก็ว่า. น้ำสาบาน
  5. ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง : (สํา) สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทําการอันใดที่เป็น สิ่งสําคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป, นํ้าสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน ก็ว่า.
  6. สั่งลา : ก. บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น เขาสั่งลาลูกเมียก่อน เดินทางไปต่างประเทศ เขาตายโดยไม่ได้สั่งลา.
  7. สั่งสอน : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทํา เช่น แม่สั่งสอนลูกให้เป็น คนดี, สอนสั่ง ก็ว่า.
  8. กวาดล้าง : ก. กําจัดให้หมดไป เช่น กวาดล้างอันธพาล กวาดล้างโจรผู้ร้าย. [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย). [กฺว้าน] น. ตึก ใช้ควบกันว่า ตึกกว้าน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่อยู่ซึ่งปลูกไว้คล้ายโรงนา พื้นอยู่กับดิน. [กฺว้าน] น. เครื่องสําหรับฉุดดึงและยกของหนัก. ก. ฉุดด้วยกว้าน, ขันกว้าน ก็เรียก; รวบรวมจากที่ต่าง ๆ มาไว้เป็นจํานวนมาก เช่น กว้านสินค้ามากักตุนไว้. [กฺว๊าน] (ถิ่น-พายัพ) น. บึง; น้ำตอนลึก, น้ำตอนที่ไหลวน. [กฺว้าว] ดู ขว้าว.[กฺวาว-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria candollei Grah. var. mirifica (Airy Shaw et Suvatabandhu) Niyomdham ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน มีหัวกลม ๆ ออกที่ โคนต้นและตามราก ใช้ทํายาได้. [กะวิน] (โบ) ว. ดีงาม เช่น ใครกวินซื่อแท้. (แช่งน้ำ). (ทมิฬ แปลว่า งาม). [กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จําแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).
  9. กวาน, กว่าน : [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย).
  10. เกษียน : [กะเสียน] น. ข้อความที่เขียนแทรกไว้เช่นในใบลาน, ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคําสั่ง หรือหนังสือราชการ เรียกว่า หัวเกษียน. ก. เขียน. ว. เล็กน้อย. (แผลงมาจาก เขียน).
  11. คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
  12. คำขอ : (กฎ) น. คําซึ่งคู่ความหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียขอ ให้ศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง; หนังสือที่ยื่นต่อทางราชการเพื่อ ขอให้ทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ยื่น.
  13. เทศน์, เทศนา : [เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทาง ศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยาย หมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์ เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).
  14. นิรโทษกรรม : [นิระโทดสะกํา] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมาย อาญา หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทํา มาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การ กระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด.
  15. ใบสั่ง : น. หนังสือสั่งให้ปฏิบัติตามที่แจ้งไว้ เช่น ใบสั่งยา ใบสั่งจ่าย ใบสั่งให้ไปเสียค่าปรับ.
  16. แปลงสาร : ก. สั่งอย่างหนึ่งไปทำเสียอีกอย่างหนึ่ง, แก้สาระสำคัญ หรือข้อความในหนังสือจากอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
  17. ภาร, ภาร–, ภาระ ๑ : [พาน, พาระ–] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการ อบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระ ส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  18. มอบหมาย : ก. กำชับสั่งเสีย เช่น มอบหมายการงาน, กะให้, กําหนดให้, เช่น มอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบ.
  19. มิสซา : น. พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อระลึกถึง พระเยซูที่ทรงสั่งเสียสาวกขณะที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยสัญญาว่า เมื่อประกอบพิธีแบ่งขนมปังดังที่พระองค์กระทํา พระองค์จะเสด็จมาประทับร่วมด้วยทุกครั้ง. (ล. missa; อ. mass).
  20. ไวรัสคอมพิวเตอร์ : น. ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ สามารถแพร่ไปสู่โปรแกรมอื่น ๆ ด้วยการสำเนาตัวเองไปไว้ใน โปรแกรมนั้น ๆ ซึ่งอาจทำความเสียหายแก่โปรแกรมหรือ แฟ้มข้อมูล.
  21. ส่งเสีย : ก. ให้การอุดหนุน, เกื้อกูล, เช่น ส่งเสียลูกเรียนหนังสือ.
  22. สนทิศ : ก. ชี้แจง, สั่ง, บอกกล่าว, ประกาศ. (ส. สํ + ทิศ).
  23. ค่าเสียหาย : (กฎ) น. เงินที่ชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อความเสียหายอันได้ก่อขึ้น.
  24. งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย : (สํา) ทํางานไม่บกพร่องทั้ง งานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี.
  25. ได้เสีย : ก. ร่วมประเวณี; ได้เงินเสียเงิน, ได้ผล.
  26. ประดาเสีย : ว. ล้วนแต่เสียทั้งนั้น, เสียมาก, เลวเต็มที.
  27. เป็นเสียเอง : ก. ทำเรื่องเสียหายเอง, เป็นเอง ก็ว่า.
  28. ผู้เสียหาย : (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทํา ผิดฐานใดฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ตามที่ กฎหมายกําหนด.
  29. พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ : (สํา) ก. พูดหรือทําอะไรโดยไม่ ระมัดระวังย่อมเกิดความเสียหาย.
  30. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง : (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
  31. ว่าสาดเสียเทเสีย : (สำ) ก. ว่าอย่างเจ็บแสบทำให้เสียหาย อย่างรุนแรง.
  32. ส่วนได้ส่วนเสีย : น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียด้วย.
  33. สอนสั่ง : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ, สั่งสอน ก็ว่า.
  34. สังสนทนา, สั่งสนทนา : ก. พูดกันฐานกันเอง, พูดจาหารือกัน, มักใช้ สั่งสนทนา. (ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียงกัน).
  35. สาดเสียเทเสีย : ก. ใช้สิ่งของสิ้นเปลืองไปเปล่า ๆ. ว. อย่างเจ็บแสบ ทําให้เสียหายอย่างรุนแรง เช่น ด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย.
  36. หน้าเสีย : ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  37. ไอเสีย : น. ไอที่เกิดจากการเผาไหม้ของนํ้ามันเครื่องยนต์ที่ขับถ่าย ออกทางท่อ, เรียกท่อที่ขับถ่ายไอเสียออกว่า ท่อไอเสีย.
  38. สง : ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
  39. กล้าได้กล้าเสีย : ว. ใจป้ำ, ใจเป็นนักเลง, ไม่กลัวขาดทุน.
  40. กินสั่ง : ก. กินมากผิดปรกติเมื่อถึงคราวจะตาย, โดยปริยายหมายความถึงกินจุเกินควร.
  41. ข้าวเสียแม่ซื้อ : น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
  42. ชักใบให้เรือเสีย : (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนา หรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป.
  43. ได้เสียกัน : ก. เป็นผัวเมียกันแล้ว.
  44. ต้มจนสุก, ต้มเสียสุก : (ปาก) ก. ล่อลวงให้หลงได้สำเร็จ.
  45. ท้องเสีย : ว. อาการที่เกิดจากเครื่องย่อยอาหารไม่ทําหน้าที่ตาม ปรกติทําให้ถ่ายอุจจาระกะปริบกะปรอย.
  46. ท่อไอเสีย : น. ท่อที่ต่อจากห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เพื่อระบาย แก๊สและช่วยลดเสียงระเบิดที่เกิดจากการเผาไหม้.
  47. ทำเสียเจ็บ : (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
  48. ฝนสั่งฟ้า : (ปาก) น. ฝนที่ตกหนักตอนปลายฤดูฝน.
  49. พื้นเสีย : ก. โกรธ.
  50. เมินเสียเถอะ, เมินเสียเถิด : (สำ) คำกล่าวอย่างตัดเยื่อใยไมตรี ไม่ให้มีความหวัง อยู่เลย.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-776

(0.1748 sec)