กรสานต์ : [กฺระ-] (โบ; กลอน) ว. กระสานติ์, สงบ, ราบคาบ, เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย).
วัสสานฤดู : [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น, วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน๘ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
ก่อแล้วต้องสาน : (สํา) ก. เริ่มอะไรแล้วต้องทําต่อให้เสร็จ.
กำเริบเสิบสาน : ก. ได้ใจ, เหิมใจ.
ปริโยสาน : [ปะริ-] น. ที่สุดลงโดยรอบ (หมายความว่า ที่สุดหรือจบลงอย่าง บริบูรณ์แล้ว), จบ. (ป.).
กาสาร : [-สาน] (แบบ) น. สระ, บ่อ, ทะเลสาบ. (ส.).
ศานต, ศานต์ : [สานตะ, สาน] ว. สงบ. (ส.; ป. สนฺต).
ศาล : [สาน] น. (กฎ) องค์กรที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดย ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิต ของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม.
อาสาฬห, อาสาฬห์ : [สานหะ, สานละหะ, สาน] น. เดือนที่ ๘ แห่งเดือน จันทรคติ. (ป.; ส. อาษาฒ).
ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
ลายไพรยักคิ้ว : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานไซ ข้อง กระบุง กล่องข้าว เป็นต้น ใช้ตอก ๓ เส้นเสมอไป ส่วนตอกซังจะ ใช้น้อยหรือมากหรือถี่ห่างอย่างไรก็ได้ แต่ต้องเป็นจำนวนคู่ สาน โดยขึ้นตอกสาน ๓ เส้นขัดตอกซัง เว้นตอกซังไว้ ๒ เส้น แล้วเอา ตอกสานเส้นกลางไพล่กลับข้ามตอกซัง ๓ เส้น ยกตอกซัง ๓ เส้น ต่อไปจึงไขว้ตอกสาน ๒ เส้นที่เหลือด้วยวิธีเดียวกัน สานไพล่ไป ไพล่มาเช่นนี้ตลอด, ลายไพรกาว ก็เรียก.
ทุติยาสาฬหะ : [-สานหะ] (แบบ) น. เดือน ๘ ที่ ๒, เดือน ๘ หลัง. (ป.).
วันอาสาฬหบูชา : [สานหะ, สานละหะ] น. วันเพ็ญเดือน ๘ ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา.
ศานติก : [สานติกะ] ว. ที่กําจัดเสนียดจัญไร. (ส.).
ศาลโปริสภา : [สานโปริดสะพา] (กฎ; เลิก) น. ศาลชั้นต้นที่ จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แทนศาลกองตระเวนเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีทํานองเดียวกับศาลแขวงปัจจุบัน.
อาสาฬหบูชา : [สานหะ, สานละหะ] น. การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา.
กก ๓ : น. ชื่อไม้ล้มลุกในวงศ์ Cyperaceae เกิดในที่ชุ่มแฉะ ชนิดลําต้นกลมใช้ทอ หรือสานเสื่อ เรียกว่า กกกลม หรือ กกเสื่อ (Cyperus corymbosus Rottb., C. tegetiformis Roxb.) ที่ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม เช่น กกลังกา (C. alternifolius L.) กกสามเหลี่ยม [Schoenoplectus grossus (L.f.) Palla] กกขนาก หรือ กกกระหนาก (C. difformis L.).
กร้อ : น. เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดน้ำเรือ เช่น ส่วนตัวมึงคือกร้อ แต่งไว้วิดเรือ. (โคลงกวี), สามัญ เรียกว่า ตะกร้อ. (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห). (รูปภาพ กร้อ)
กระจาด : น. ภาชนะสาน รูปเตี้ย ๆ ปากกว้าง ก้นสอบ, โดยปริยายเรียก เครื่องสานที่ทําเป็นตาโต ๆ ขอบปากแบบพานปากกระจับ สําหรับ ใส่ของเครื่องกัณฑ์เทศน์มหาชาติ.
กระจู้ : น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อคอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, เรียกว่า อีจู้ หรือ จู้ ก็มี.
กระจูด : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lepironia articulata (Retz.) Domin ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นกลมภายในกลวง และมีเยื่ออ่อนหยุ่นคั่น เป็นข้อ ๆ ใช้สานเสื่อหรือกระสอบ. (เทียบมลายู kerchut).
กระชอน ๑ : น. เครื่องกรอง โดยปรกติสานด้วยผิวไม้ไผ่ ใช้กรองกะทิเป็นต้น.
กระชัง ๒ : น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะ เป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้ง ได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่า กระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่ มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือ ค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.
กระชุ ๑ : น. ภาชนะสานรูปกลมสูง สําหรับบรรจุของเช่นนุ่นหรือถ่าน, กระชุก ก็ว่า.
กระชุก ๑ : น. ภาชนะสานรูปกลมสูง สําหรับบรรจุของเช่นนุ่นหรือถ่าน, กระชุ ก็ว่า; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ สัด, และ ๔ กระชุก เป็น ๑ ตะลอง.
กระชุก ๒ : น. ภาชนะสานรูปฟักผ่าตามยาว ใช้สอดลงในเกวียน สําหรับใส่ ข้าวเปลือกเป็นต้น, สามชุก ก็เรียก.
กระเชอ : น. ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก แต่สูงกว่า ก้นสอบ ปากกว้าง ใช้กระเดียด; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ ทะนาน, และ ๕ กระเชอ เป็น ๑ สัด, กันเชอ ก็เรียก. (เทียบ ข. ก?ฺเชิ). (รูปภาพ กระเชอ)
กระเช้า : น. ภาชนะสานมีหูเป็นวงโค้งขึ้นไปสําหรับหิ้ว.
กระตร้อ : (โบ) น. เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อพันผ้าชุบน้ำ มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา เช่น ให้ตรวจเอาพร้าขอกระตร้อน้ำ จงทุกที่พนักงานให้สรัพไว้. (สามดวง), ตะกร้อ ก็เรียก.
กระติบ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานรูปกลม มีฝาครอบ สําหรับ บรรจุข้าวเหนียวนึ่ง.
กระบวน : น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
กระบาย : น. ภาชนะสานรูปคล้ายกระบุงแต่มีขนาดเล็กกว่า ปากกลม ก้นสี่เหลี่ยม.
กระบุง : น. ภาชนะสานทึบรูปกลมสูง พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยม.
กระปุ่ม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้.
กระพอก ๑ : น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอก จานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
กระพ้อม : น. ภาชนะสานขนาดใหญ่สำหรับบรรจุข้าวเปลือกเป็นต้น, พ้อม ก็เรียก; (ถิ่น-อีสาน) เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกระบุง แต่เล็กกว่าราวครึ่งหนึ่ง.
กระพา : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ ที่หลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก ใช้อย่างต่างใส่วัว แต่มีอันเดียว.
กระเพาะ : น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ รูปเป็นถุง คือ กระเพาะอาหารและ กระเพาะปัสสาวะ. (เทียบ ข. กฺรพะ); ภาชนะสานสําหรับตวงข้าว มีอัตราจุ ๔ กระผีก.
กระย่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสํารับ ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอก ดอกไม้บูชาตามวัด.
กระลอม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า.
กระโลง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานด้วยใบลานชนิดหนึ่งใช้อย่างกระสอบ สําหรับใส่ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร.
กระสอบ : น. เครื่องสานหรือทอด้วยต้นกระจูดหรือป่านปอเป็นต้น สําหรับบรรจุข้าวและของอื่น ๆ.
กระสานติ์ : (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เขียนเป็น กรสานต์ ก็มี เช่น ดำรงกรษัตร ให้กรสานต์. (ยวนพ่าย). (กระ + ป. สนฺติ; ส. ศานฺติ).
กระออม ๒ : (กลอน) น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ ใช้ใส่น้ำ เช่น สรงสนานน้ำทิพย์สิบกระออม. (คาวี), กะออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า.
กล้อ ๒ :
[กฺล้อ] (โบ) น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง เช่น ก็ให้น้ำเต็มเต้า เข้าเต็มไห ไปเต็มหม้อ ชื่อว่ากล้อก็บมิให้พร่องเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ดู กร้อ). (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห).
กะโกระ : [-โกฺระ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ภาชนะชนิดหนึ่งสานด้วยใบเตย รูปร่างคล้ายครุ.
กะชะ : น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ตั้งได้คล้ายตะกร้า รูปร่างสูงตรงขึ้นไป สําหรับบรรจุเครื่องเดินทาง เช่น ผ้าและอาหาร ปากไม่มีขอบ เพื่อบีบให้ติดกันแล้วร้อยเชือกแขวนไปบนหลังสัตว์บรรทุก เป็นต้น; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตะกร้าชนิดหนึ่ง.
กะทอ : น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ตาโปร่งอย่างชะลอม รูปร่างเป็นกระบอก สําหรับใส่เสื้อผ้าและของอื่น ๆ ใช้กันมากในภาคอีสาน.
กะบัง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้าย และทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้าง อย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทําร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็น ทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่าย ที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า.