หน้าจั่ว : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคา สําหรับกันลมและ แดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, จั่ว ก็ว่า; (คณิต) เรียกรูปสามเหลี่ยมที่มีด้าน คู่หนึ่งยาวเท่ากันว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว.
เท่า ๑ : ว. เสมอกัน เช่น สูงเท่ากัน; ถึง เช่น ตราบเท่า; ทัน เช่น รู้เท่า; แค่, เพียง, เช่น สูงเท่าใด เก่งเท่าไหน ตัวเท่านี้. น. จํานวนที่เพิ่มขึ้น ตามส่วนของจํานวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจํานวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ส่วนของจํานวนเดิม.
ด้าน ๑ : น. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.
ด้าน ๒ : ว. กระด้าง, ไม่นิ่ม, เช่น มือด้าน ข้อศอกด้าน; ไม่เป็นมัน, ไม่เป็นเงา, เช่น สีด้าน กระดาษด้าน; จุดไม่ติดหรือไม่ระเบิด เช่น ประทัดด้าน ชนวนด้าน ลูกระเบิดด้าน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้สึกเจ็บ, ไม่รู้สึกอาย, เช่น หน้าด้าน.
เท่า ๒ : (โบ) น. เถ้า.
กระทุ่ม ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับ กิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อนหอม เนื้อไม้เหลือง หรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).
กระสา ๓ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่น้ำลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบ เป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ ทํากระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา.
ด้านรี : น. ด้านข้างของเรือนฝากระดานหรือโบสถ์ วิหาร.
ด้านสกัด : น. ด้านหัวหรือด้านท้ายของเรือนฝากระดาน, ถ้าเป็นด้านหัวหรือ ด้านท้ายของโบสถ์วิหาร เรียกว่า ด้านหุ้มกลอง.
เท่าตัว : ว. มีขนาดเท่าตัวจริง เช่น หล่อรูปเท่าตัว, มีจํานวนหรือขนาด เพิ่มขึ้นเท่าจํานวนหรือขนาดเดิม เช่น แป้งฟูขึ้นอีกเท่าตัว ราคาสินค้า ขึ้นอีกเท่าตัว.
เท่าเผ้า : ว. เท่าเส้นผม, เล็ก.
ด้านไม้ : ก. ถูกตีมากจนชินเลยไม่รู้จักหลาบจํา.
ด้านหน้า : ก. ดื้อเข้าไปหาโดยไม่รู้สึกอาย.
เท่าทัน : ว. เทียมถึง, เข้าใจถึง.
เท่าทุน : ว. เสมอตัว, ไม่ได้ไม่เสีย, ไม่ได้กําไรไม่ขาดทุน.
เท่าเทียม : ว. เสมอหน้า, ทัดเทียม.
เท่ารึง : น. เถ้ารึง.
กระบอก ๑ : น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับ ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและ มือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้าน หนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็น วงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้น จนปลาย. (อ. cylinder). (รูปภาพ กระบอก)
กอบด้วย :
ว. มี (มักจะใช้ในคําที่กล่าวถึงลักษณะเพิ่มเติม) เช่น นาย ก เป็นผู้มีอํานาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย. น. ชื่อไม้เถาชนิด Chilocarpus costatus Miq. ในวงศ์ Apocynaceae พบทางปักษ์ใต้ มียางขาว, ย่านกอบนาง ก็เรียก. น. กระดาษที่ใช้สําหรับทําสําเนา เรียกว่า กระดาษก๊อบปี้. (อ. carbon paper); (ปาก) ลักษณนามเรียกสําเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สําเนา ๒ ก๊อบปี้. (อ. copy). [กอบ] ก. ประกอบ. (โบ) น. ปลาย. ว. ค่อม, เตี้ย. ก. ก้ม. (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกะเพรา. (ดู กะเพรา). ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ. (โลกนิติ). น. คนป่าพวกหนึ่ง ตัวดํา ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู, เงาะ ก็เรียก. ดู อีก๋อย. น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง๕เรียกว่า นิ้วก้อย, ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว, โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง. น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง, (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า. ว. อาการที่ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่าสันและ แข็งแรงกว่ามาก มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา. น. กีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ตีลูกกลมผ่านพื้นที่ขวางกั้นที่เตรียมไว้ให้มี ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เป็นหลุมทราย บ่อน้ำ ให้ไปลงหลุมที่กําหนด. (อ. golf).
ก้อย ๑ : น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง ๕ เรียกว่า นิ้วก้อย; ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว; โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง.
ขนมเปียกปูน : น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผา ให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิและน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลง ใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาว เท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด ก็เรียก.
ข้าวตอก ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Serissa japonica (Thunb.) Thunb. ในวงศ์ Rubiaceae ใบเล็กรูปไข่ เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็น พรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ดัดหรือไม้ประดับ. (๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Anaphalis margaritacea (L.) Benth. ex C.B. Clarke ในวงศ์ Compositae ขึ้นอยู่บนเขาในระดับสูง ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ขนาด สูงราว ๕๐ เซนติเมตร ต้น ใบ ดอก มีขนสีขาวทึบ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อ ไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Callicarpa longifolia Lam. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็ก สีม่วง ผลกลมเล็ก สุกสีขาว ใช้ทํายาได้. (๔) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Hemimycena วงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดินเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกเห็ดสีขาวขนาดเท่าดอกมะลิบาน ด้านล่างมีครีบ ก้านยาวตั้งตรง เช่น ชนิด H. cucullata (Pers. ex Fr.) Sing. กินได้. (๕) ดู ตีนตุ๊กแก(๕).
ข้าวหลามตัด : น. ข้าวเหนียวนึ่งอัดใส่ถาดโรยถั่วทอง ตัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มักกินกับข้าวหมาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้าน ขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด, สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ก็เรียก.
เขี้ยวหนุมาน : น. แร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นผลึกหกเหลี่ยม หัวท้ายแต่ละเหลี่ยมมีด้านสามเหลี่ยมเอนเข้าไปบรรจบกันเป็นยอด แหลมดูคล้ายฟันลิง แร่นี้มีแทบทุกสี ตั้งแต่ใสเหมือนกระจกจนขาว ขุ่น ชมพู เขียว ม่วง ตลอดจนดํา.
ค่องอ้อย : น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับ คาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของ ท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ.
คุ้ง : น. ส่วนเว้าโค้งเข้าไปของฝั่งนํ้าด้านที่ตรงกันข้ามกับหัวแหลม. (โบ) ว. ยาว, อ้อม, นาน, ตลอดไป, คุง ก็ว่า. (โบ) สัน. ตราบเท่า, คุง คุ้ม หรือ คุ้มเท้า ก็ว่า.
โคไซน์ : (คณิต) น. โคไซน์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ความยาวของด้านประชิด มุมนั้น ส่วนความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก) ในเมื่อถือเอารูปสามเหลี่ยม มุมฉาก (ที่มีมุมนั้น) เป็นหลัก. (อ. cosine).
จัตุรัส : [-หฺรัด] น. เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าที่มีมุมภายในเป็นมุมฉากว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส.
จั่ว ๑ : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคาสําหรับกันลมและแดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, หน้าจั่ว ก็ว่า.
เจาะจมูก : ก. เจาะด้านหัวและท้ายของซุงเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายจมูก ห่างจากหัวไม้ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร แล้วเอาลวดหรือหวายร้อยเข้ากับคานแพซึ่งเป็นไม้ยาว ๆ ขวางลํากับ ท่อนซุงเพื่อผูกเป็นแพ.
ไซน์ : (คณิต) น. ไซน์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ความยาวของด้าน ตรงข้ามมุมนั้น ส่วน ความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก) ในเมื่อ ถือเอารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (ที่มีมุมนั้น) เป็นหลัก. (อ. sine).
ปริซึม : [ปฺริ-] (คณิต) น. แท่งตันชนิดหนึ่ง ปลายทั้ง ๒ เป็นรูปหลายเหลี่ยม ซึ่งมีพื้นที่เท่ากัน เป็นรูปแบบเดียวกันและขนานกันด้วย ส่วนด้าน ข้างทุกด้านของแท่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน; (ฟิสิกส์) แท่งตันทํา ด้วยวัตถุโปร่งใสเช่นแก้ว เป็นรูปแบบเดียวกันและขนานกันด้วย ส่วนด้านข้างทุกด้านของแท่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ใช้ประโยชน์ สําหรับหักเหแนวทางเคลื่อนที่ของแสง. (อ. prism).
เปียกปูน : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าว เผาให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิ และน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มี ด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก โรยด้วยมะพร้าวขูด.
พีระมิด : น. สิ่งก่อสร้างที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านข้างทั้ง ๔ เป็น รูปสามเหลี่ยม มีปลายสุดไปบรรจบกันที่ยอด, ในอียิปต์เดิมใช้เป็น ที่ฝังพระศพ ต่อมาบางทีก็ใช้เป็นเทวสถาน, ส่วนพีระมิดที่เม็กซิโก ใช้เป็นเทวสถานอย่างเดียว, เรียกสิ่งหรือรูปที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้นว่า รูปพีระมิด; (คณิต) รูปทรงตันชนิดหนึ่ง มีฐานเป็นรูป หลายเหลี่ยม และด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกัน. (อ. pyramid).
มัธยฐาน : (คณิต) น. ชื่อเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดมุมของรูปสามเหลี่ยมกับจุดกึ่งกลาง ของด้านที่ตรงข้ามกับมุมนั้น.
ไม้ประกับคัมภีร์ : น. ไม้แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่าใบลาน ริมลอกบัว ข้างหน้ามักเขียนลายปิดทองรดน้ำหรือประดับมุก ชุดหนึ่งมี ๒ แผ่น สำหรับประกับ ด้านหน้าด้านหลังคัมภีร์ใบลาน.
เรือนแฝด : น. เรือนทรงไทยซึ่งปลูกให้ตัวเรือน ๒ หลังมีชายคาเชื่อมต่อ กันทางด้านรี โดยมีขนาดกว้าง ยาว และสูงเท่ากัน และแต่ละหลังมีจั่ว และพื้นสูงเสมอกัน.
ไร ๑ : น. ชื่อสัตว์พวกแมงหลายชนิด ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดหรือเล็กกว่า ลักษณะคล้ายพวกเห็บแต่ต่างกันที่ไม่มีหนามเล็ก ๆ คลุมรอบปาก และแผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของลําตัวไม่เลยขาคู่ที่ ๔ ชนิดดูดกินเลือดสัตว์ เช่น ไรไก่ (Dermanyssus spp.) ในวงศ์ Dermanyssidae ชนิดทําลายพืช เช่น ไรแดง (Tetranychus spp.) ในวงศ์ Tetranychidae.
สมการ : [สะมะกาน, สมมะกาน] (คณิต) น. ข้อความที่แสดงความ เท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ เฉพาะบางค่าของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏ ในนิพจน์นั้น ๆ หรือการเหมือนกันของข้อความย่อย ๒ ข้อความที่ ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของเครื่องหมาย =. (อ. equation).
หนวดพราหมณ์ ๒ : [หฺนวดพฺราม] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Polynemus longipectoralis ในวงศ์ Polynemidae ลําตัวยาว แบนข้าง หัวแหลมมน ปากอยู่ตํ่า ตาเล็ก เกล็ดเล็ก สากมือ ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สําคัญคือตรงส่วนล่างของครีบอกมีก้านครีบแยกเป็นเส้นยาวมากรวม ๗ เส้นยาวไม่เท่ากัน ลําตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและ ครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร พบบ้างใน นํ้ากร่อยหรือทะเล.
เหลี่ยมลูกบาศก์ : (โบ) น. ชื่อมาตราวัดปริมาตร กําหนดเป็นรูปเหลี่ยม ลูกบาศก์ มีด้านสูง กว้าง ยาวเท่ากัน เช่น ๑ เมตรเหลี่ยมลูกบาศก์ คือ มีด้านสูง กว้าง และยาวด้านละ ๑ เมตร.
อสมการ : [อะสะมะกาน, อะสมมะกาน] (คณิต) น. ข้อความที่แสดงการไม่ เท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ที่ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวา ของเครื่องหมาย < หรือ >. (อ. inequality).
ขื่อเท่าต่อ : ก. รู้เท่าทันกัน.
ตราบเท่า : บ. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น รักษาเอกราชมาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้. สัน. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น เราจะจงรักภักดีต่อประเทศชาติตราบเท่า ชีวิตจะหาไม่, ตราบท้าว ก็ว่า.
แถบ : ว. สิ่งที่แบนยาว เช่น แถบทอง ผ้าแถบ; ซีก, ด้าน, เช่น ร่างกายตายไป แถบหนึ่ง ไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง; ถิ่น, แถว, เช่น อยู่แถบนี้; (ถิ่นพายัพ) เรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่าว่า เงินแถบ.
ทัน ๒ : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
เทียบเท่า : ว. เสมอกัน, เท่ากัน.
เบื้อง ๑ : น. ทาง, ข้าง, ด้าน, (ใช้ในลักษณะที่เริ่มต้นไปถึงปลาย สูงตํ่า หรือ ซ้าย ขวา เป็นต้น) เช่น เบื้องต้น เบื้องปลาย เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย เบื้องขวา.
มืดแปดด้าน : ก. นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออก ได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด.
รู้เท่า : ก. รู้สึกสภาพที่เป็นจริง, รู้ตามความเป็นจริง, เช่น รู้เท่าสังขาร; รู้ทัน เช่น รู้เท่าความคิดของผู้อื่น, รู้เท่าทัน ก็ว่า.