สา ๒ :
(ถิ่นพายัพ) น. ต้นกระสา. (ดู กระสา๓), ชื่อกระดาษที่ทำจากเปลือก ต้นกระสา ใช้ทำร่มเป็นต้น เรียกว่า กระดาษสา.
สา ๓ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่องูหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สาเหลือง หมายถึง งูลายสอบ้าน (Xenochrophis piscator) สาขาว หมายถึง งูทับสมิงคลา (Bungarus candidus) สาคอแดง หมายถึง งูลายสาบคอแดง (Rhabdophis subminiatus).
สา ๑ : น. หมา. (ป.; ส. ศฺวนฺ).
สา ๔ : สัน. แม้ว่า, หาก, เช่น สาอวรอรวนิดา โดยพี่มานี. (หริภุญชัย).
สาแก่ใจ : ว. หนำใจ, สะใจ, (มักใช้ในความประชดหรือแดกดัน) เช่น บอกแล้วว่า อย่าไปยุ่งกับเขาโดนเขาด่ามา สาแก่ใจไหมล่ะ วันนี้เงินเดือนออก ต้องจ่าย ให้สาแก่ใจ.
สาชล : (กลอน) น. สายชล, สายน้ำ, เช่น โอ้เรือพ้นวนมาในสาชล ใจยังวนหวัง สวาทไม่คลาดคลา. (นิ. ภูเขาทอง).
สากะ : น. ผัก. (ป.; ส. ศาก).
หึงส-, หึงสา : [หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสา พยาบาท. (ป., ส. หึสา).
ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
ธรรมสามิสร : [สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
อุสส่าห์, อุสสาหะ : [อุด] น. อุตสาหะ. ก. อุตส่าห์. (ป.; ส. อุตฺสาห).
กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
ประสาธน์ : [ปฺระสาด] (แบบ) ก. ทําให้สําเร็จ. น. เครื่องประดับ. (ส. ปฺรสาธน; ป. ปสาธน).
อัสสานิก, อัสสานีก, อัสสานึก : น. อัศวานึก, กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า. (ป. อสฺสานีก; ส. อศฺวานีก).
กระดาษสา : น. กระดาษที่ทําจากเปลือกต้นสา ใช้ทําร่มเป็นต้น.
เดียงสา : ว. รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็ก ยังไม่รู้เดียงสา.
ไม่เดียงสา : ว. ไม่รู้ประสา, ไม่รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ, เช่น เด็กยังไม่เดียงสา.
ยวกสา : [ยะวะกะสา] น. นํ้าประสานดีบุก.
อนัญสาธารณ์ : [อะนันยะสาทาน] ว. เป็นพิเศษไม่ทั่วไปแก่คนอื่น. (ป. อน?ฺ?สาธารณ).
อหิงสา, อหึงสา : [อะ] น. ความไม่เบียดเบียน, การเว้นจากการทําร้าย. (ป., ส.).
ชิสา, ชีสา : สัน. แม้ว่า เช่น ชิสาท่านโอนเอา ดีต่อ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
ญาติสืบสาโลหิต : (กฎ) น. ญาติที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด.
ถัณฑิลสายี : ว. นอนเหนือแผ่นดิน. (ป.).
ทวัตดึงสาการ : (แบบ) น. อาการของร่างกาย ๓๒ อย่าง มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น.
พิลังกาสา : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Ardisia วงศ์ Myrsinaceae ผลกลม เล็ก ๆ ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด A. colorata Roxb., A. pendulifera Pit., A. polycephala Wall. ex A. DC..
มัญชุสา, มัญชูสา : น. ลุ้ง, หีบ. (ป.).
ส่า : น. สิ่งที่เป็นเชื้อทําให้ปรากฏเป็นฟอง รา หรือเม็ดผื่นเป็นต้นแก่สิ่งอื่น บางลักษณะ.
อัสสานิก, อัสสานีก, อัสสานึก :
ดู อัส, อัสสะ.
ศาสน, ศาสนา : [สาสะนะ, สาดสะนะ, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือ ของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรม เกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อม ทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความ เชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).
ศาสนีย, ศาสนีย์ : [สาสะนียะ, สาสะนี] ว. สมควรจะสั่งสอน. (ส.).
สหัสา : [สะหัดสา] ว. โดยเร็ว, ทันใด, โดยตรง; ยิ่งนัก. (ป., ส. สหสา).
ศรรกรา : [สักกะรา] น. ก้อนกรวด; นํ้าตาลกรวด. (ส. ศรฺกรา; ป. สกฺกร). [สะระวะนะ, สาวะนะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๒ มี ๓ ดวง เห็นเป็น รูปหามผีหรือโลง, ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี ก็เรียก. (ส.).
หรรษ-, หรรษา : [หันสะ-, หันสา] น. ความรื่นเริง, ความยินดี. (ส. หรฺษ).
อนุสาสนี : [อะนุสาสะนี] น. คําสั่งสอน. (ป.; ส. อนุศาสนี).
อัศวานึก : [อัดสะวานึก] น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วน หนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่า ทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพ เหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ส. อศฺวานีก; ป. อสฺสานีก).
กระสา ๓ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่น้ำลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบ เป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ ทํากระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา.
ศาก, ศากะ : [สากะ] น. ผัก; ต้นสัก. (ส.).
ศาฐยะ : [สาถะ] น. สาไถย, ความคดโกง. (ส.; ป. สาเถยฺย).
ศาปมุกติ์ : [สาปะมุก] น. การพ้นจากผลคําแช่ง. (ส.). ศาปานต์ ว. พ้นสาป. (ส.).
ศาพระ : [สาพะระ] ว. โหดร้าย, พยาบาท. (ส.).
ศาสก : [สาสก] น. ครู, ผู้สอน, ผู้ชี้แจง, ผู้ปกครอง. (ส.).
ศาสนูปถัมภก : [สาสะนูปะถําพก, สาดสะนูปะถําพก] น. ผู้ ทะนุบํารุงศาสนา, ถ้าใช้แก่พระมหากษัตริย์ เรียกว่า องค์ เอกอัครศาสนูปถัมภก. (ส. ศาสนูปสฺตมฺภก; ป. สาสนูปตฺถมฺภก).
สาฎก : [สาดก] น. ผ้า. (ป. สาฏก; ส. ศาฏก).
สาฏิก : [สาติกะ] น. เสื้อ, เสื้อคลุม; ผ้า. (ป.; ส. ศาฏิกา).
สาณ : [สานะ] น. ผ้าหยาบ, ผ้าป่าน. (ป.; ส. ศาณ).
ศาสนจักร : [สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อํานาจปกครองทาง ศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่าย คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความ ว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
โปสาวนิกมูล : [-สาวะนิกะ-] น. ค่าเลี้ยงดู, ค่าข้าวป้อน. (ป.).
สากหยาก : [สากกะหฺยาก] ว. ขรุขระ, น่าสะอิดสะเอียนอย่างหนังคางคก.
ชนมพรรษา : [ชนมะพันสา] น. อายุ. (ส. ชนฺมวรฺษ ว่า ขวบปี ที่เกิดมา).
ชายา ๒ : (แบบ) น. เมีย. (ป., ส.), บางแห่งใช้หมายความว่า ผู้หญิง, นางผู้มีเสียงพูดเป็น ฉายา ฉัยยา ไฉยา หรือ สายา ก็มี.