Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สำนวน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สำนวน, 30 found, display 1-30
  1. เจ้าสำบัดสำนวน, เจ้าสำนวน : น. ผู้ใช้คารมพลิกแพลง.
  2. ถ้อยคำสำนวน : (กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่ง รายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.
  3. ท้องสำนวน : น. เนื้อหาของเรื่อง.
  4. ปิดสำนวน : (ปาก) ก. ยุติการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี.
  5. เล่นสำนวน : ก. ใช้คารมพลิกแพลง.
  6. ขะน่อง, ขาน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.
  7. ขี้หดตดหาย : (ปาก) ว. ใช้เป็นสำนวนประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจน ขี้หดตดหาย หมายความว่า กลัวมาก.
  8. คมคาย : ว. ฉลาด, ไหวพริบดี, ทันคน, เช่น วาจาคมคาย พูดจาคมคาย สำนวนภาษาคมคาย, มีแววฉลาด เช่น หน้าตาคมคาย.
  9. ครอบจักรวาล ๓ : [คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์).
  10. คาบลูกคาบดอก : (สํา) ว. อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน สำนวนนี้เปรียบกับต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกัน จึงว่า คาบลูกคาบดอก.
  11. เทศนาโวหาร : น. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนา ของพระ.
  12. พกนุ่น : (สํา) ว. ใจเบา, ใช้เข้าคู่กับคำ พกหิน ในสำนวนว่า พกหิน ดีกว่าพกนุ่น.
  13. พกหิน : (สํา) ว. ใจหนักแน่น, ใช้เข้าคู่กับคำ พกนุ่น ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น.
  14. พรรณนาโวหาร : น. สำนวนเขียนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ.
  15. ฟั่นเฝือ : ว. รกชัฏ, ยุ่งเหยิง, ปนคละกันยุ่ง, เคลือบคลุม เช่น สำนวนฟั่นเฝือ.
  16. รุ่มร่าม : ก. เกินพอดี, เกินที่ควรเป็น, เช่น หนวดเครารุ่มร่าม, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, เช่น แต่งหนังสือสำนวนรุ่มร่าม, ไม่เรียบร้อย เช่น กิริยารุ่มร่าม, ปรกติ ใช้เกี่ยวกับเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวที่ยาวหรือใหญ่เกินตัว เช่น แต่งตัวรุ่มร่าม.
  17. ละเมียดละไม : ก. สุภาพนุ่มนวล เช่น กิริยามารยาทละเมียดละไม สำนวนละเมียดละไม, แนบเนียนไม่ขัดเขิน เช่น เข้าพระเข้านาง ได้ละเมียดละไม.
  18. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  19. สละสลวย : [สะหฺละสะหฺลวย] ว. ที่กล่าวหรือเรียบเรียงได้เนื้อถ้อยกระทงความ และมีสำนวนกลมกลืนไพเราะระรื่นหู (ใช้แก่ถ้อยคำสำนวน) เช่น บทความนี้มีสำนวนสละสลวย.
  20. สวิงสวาย : [สะหฺวิงสะหฺวาย] ก. อาการที่รู้สึกใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่า จะเป็นลม เช่น เดินฝ่าแดดนาน รู้สึกสวิงสวาย; โลดโผน, เกินพอดี, เช่น สำนวนสวิงสวาย เต้นรำสวิงสวาย.
  21. สะดุด ๒, สะดุด ๆ : ว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่าน หนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.
  22. หมากลางถนน : น. หมาที่ไม่มีเจ้าของ, โดยปริยายใช้เป็นสำนวนเปรียบ เทียบคนที่ไม่มีสังกัด ไม่มีญาติพี่น้อง ยากจนอนาถา ไม่มีใครเหลียวแล เช่น เขาตายอย่างหมากลางถนน.
  23. หมาจนตรอก : (สำ) น. คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ใน สำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก.
  24. หยดย้อย : ว. ไพเราะจับใจ เช่น สำนวนหยดย้อย, ชดช้อยอ่อนหวาน เช่น งามหยดย้อย.
  25. หลวม : ว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลือ อยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยาย หมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยัง หลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.
  26. หัวโขน ๑ : น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยาย หมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.
  27. หูเข้าพรรษา : ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.
  28. ไหน ๆ : ว. สำนวนแสดงถึงความปลงใจในสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วหรือเป็นการ ตัดพ้อต่อว่าเป็นต้น เช่น มัวแต่งุ่มง่ามอยู่นั่นแหละ เพื่อน ๆ เขาก้าวหน้าไป ไหน ๆ แล้ว ไหน ๆ ก็ร่วมหอลงโรงกันแล้ว.
  29. ไหนจะ : ว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
  30. อีโหน่อีเหน่ : น. เรื่องราวที่เกิดขึ้น ใช้ในทางปฏิเสธในสำนวนว่า ไม่รู้ อีโหน่อีเหน่.
  31. [1-30]

(0.0111 sec)