อุตสาหกรรม : [อุดสาหะกํา] น. กิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อผลิต สิ่งของหรือจัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรม การมาตรฐานเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม และทรัพยากรธรณี.
มาตรฐาน : [มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ ยังไม่เข้ามาตรฐาน.
ผลิตภัณฑ์ : น. สิ่งที่ทําขึ้น.
นิคมอุตสาหกรรม : (กฎ) น. เขตอุตสาหกรรมทั่วไปหรือเขตอุตสาหกรรม ส่งออก.
ต้นสังกัด : น. ส่วนราชการระดับสูงที่ข้าราชการนั้น ๆ สังกัดอยู่ เช่น สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติเป็นต้นสังกัดของข้าราชการตำรวจทุกคน.
ธุรกิจ : น. การงานประจําเกี่ยวกับอาชีพค้าขาย หรือกิจการอย่างอื่นที่สําคัญ และที่ไม่ใช่ราชการ; (กฎ) การประกอบกิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรมการบริการ หรือกิจการอย่างอื่น เป็นการค้า.
นิทรรศการ : [นิทัดสะกาน] น. การแสดงผลงาน สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรม ให้คนทั่วไปชม. (อ. exhibition).
แร่ ๑ : น. ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสูตรเคมีและ สมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดและนำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุกนำมาถลุงได้โลหะดีบุก แร่ทองคำนำมาถลุงได้โลหะทองคำ; (กฎ) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับ ลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยไม่ว่าจะต้อง ถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินนํ้ามัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม นํ้าเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และ ดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทราย อุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงนํ้าเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย. แร่ธาตุ น. แร่.
สอบ ๑ : ก. ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือ วัด ให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบตาชั่งให้ได้ มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา สอบพิมพ์ดีด.
หอการค้า : (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ อันมิใช่เป็นการหาผล กําไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
กำมะถัน : น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทํายา ทําดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า; (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทํากรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทําหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และ ยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกํามะถันเป็น องค์ประกอบด้วย. (อ. sulphur).
เกลือแกง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่น เรียกว่า น้ำเกลือ สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
เกลือเงิน : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์ อุตสาหกรรมชุบโลหะให้เป็นเงิน.
ข้าราชการอัยการ :
(กฎ) น. ข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการ ดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงาน อัยการ, ถ้ารวมถึงข้าราชการธุรการในสำนักงานอัยการสูงสุดด้วย เรียกว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการ. (ดู อัยการ).
ข้าวบาร์เลย์ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hordeum vulgare L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกกันบ้างในภาคเหนือ เมล็ดใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ และเป็นอาหารสัตว์. (อ. barley).
ครั่ง ๑ : [คฺรั่ง] น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Laccifer lacca ในวงศ์ Lacciferidae ตัวเมีย ไม่มีปีก เมื่อเป็นตัวอ่อนระยะแรกจะมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อ ลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา หยุดอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากพืชและ ผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นําไปใช้ทําประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง.
คลอรีน : [คฺลอ-] น. ธาตุลําดับที่ ๑๗ สัญลักษณ์ Cl เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส สีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นฉุนชวนสําลัก เป็นแก๊สพิษ ใช้ประโยชน์ในการ ฆ่าเชื้อโรคในนํ้าในอุตสาหกรรมผลิตกรดเกลือในการผลิตผงฟอกจาง ยาฆ่าแมลงหลายชนิด เช่น ดีดีที มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบสําคัญ. (อ. chlorine).
ความถ่วงจำเพาะ : น. อัตราส่วนของนํ้าหนักของเทหวัตถุกับนํ้าหนัก ของสารมาตรฐานที่มีปริมาตรเท่ากับเทหวัตถุนั้น โดยทั่วไปใช้นํ้า บริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ ๔?ซ. เป็นสารมาตรฐาน. (อ. specific gravity).
คาร์บอนไดออกไซด์ : น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์องธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์ ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา นํ้าหวาน ใช้ทํานํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทําความเย็น. (อ. carbon dioxide).
คาร์บอนมอนอกไซด์ : [-มอน็อก-] น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO เป็นแก๊สพิษ ร้ายแรง จุดไฟติดในอากาศให้เปลวสีนํ้าเงินอ่อน เกิดจากการเผาไหม้ โดยไม่สมบูรณ์ของธาตุคาร์บอน มีปรากฏในแก๊สจากท่อไอเสียของ เครื่องยนต์ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง ใช้เตรียมเมทิลแอลกอฮอล์ ในอุตสาหกรรม. (อ. carbon monoxide).
คาร์บอลิก : น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้าง เชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียก คลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. (อ. carbolic).
โคบอลต์ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ํซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มี สมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทําให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนําไปทําเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกําลังมากเป็นพิเศษ ใน อุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์ เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).
โครเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอม ละลายที่ ๑๘๗๕?ซ.ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็น พิเศษเพื่อใช้ทําเครื่องมือช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะ ด้วยโครเมียม. (อ. chromium).
จุดเยือกแข็ง : น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็น ของแข็ง ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียว กับจุดหลอมเหลวของสารเดียวกัน). (อ. freezing point).
จุดหลอมเหลว : น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็น ของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิ เดียวกับจุดเยือกแข็งของสารเดียวกัน). (อ. melting point).
เจ้าสังกัด : น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนัก นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
ฉลาก : [ฉะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็น เครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น; ป้ายบอก ชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า ฉลากยา; สลาก ก็ว่า; (กฎ) รูป รอย ประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อ บรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง.
ซินนามิก : น. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C6H5CH : CHCOOH เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี ละลายนํ้าได้บ้างเล็กน้อย มีปรากฏใน ธรรมชาติทั้งในภาวะอิสระ และในภาวะรวมตัวเป็นสารประกอบ กับสารอื่น มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งหลอมละลายที่ ๔๒?ซ. อีกชนิดหนึ่ง หลอมละลายที่ ๑๓๓?ซ. โดยทั่วไปหมายถึงชนิดหลัง ใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม. (อ. cinnamic acid).
เซลเซียส : น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซลเซียส เดิมเรียกว่า องศาเซนติเกรด กําหนดเป็นมาตรฐานว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา (เขียนย่อว่า ๐บซ.) และจุดเดือด ของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๑๐๐ องศา (เขียนย่อว่า ๑๐๐บซ.), อักษรย่อว่า ซ. (อ. celsius).
เซลลูโลส : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโพลีแซ็กคาไรด์ชนิดที่ ซับซ้อน มีสูตรเคมี (C6H10O5)n ประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคส มากมายเชื่อมโยงกัน เซลลูโลสเป็นองค์ประกอบสําคัญของเนื้อไม้ ฝ้าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพลาสติก กระดาษ ไหมเทียม ดินระเบิด ฟิล์มภาพยนตร์ หรือฟิล์มถ่ายรูปชนิดไม่ไวไฟ เป็นต้น. (อ. cellulose).
ตะกั่ว : น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
ถ่านโค้ก : น. กากที่เหลือหลังจากนําถ่านหินไปกลั่นทําลายแล้ว ประกอบด้วยคาร์บอนประมาณร้อยละ ๘๐๙๐ ใช้ประโยชน์ ในการถลุงแร่ เช่น ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็กเป็นต้น. (อ. coke).
ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
เทคโนโลยี : น. วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม. (อ. technology).
นิคม ๑ : น. หมู่บ้านขนาดใหญ่, ถิ่นฐานหรือชุมชนที่เกิดขึ้นจากการตั้งหลักแหล่ง, หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่ประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อประกอบอาชีพ เป็นหลักฐาน เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมอุตสาหกรรม. (ป.; อ. settlement).
แบเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่างรวดเร็ว หลอม ละลายที่ ๗๑๔?ซ. สารประกอบของแบเรียมใช้ในอุตสาหกรรม สีทา แก้ว และดอกไม้ไฟ. (อ. barium).
โบรอน : น. ธาตุลําดับที่ ๕ สัญลักษณ์ B เป็นโลหะ ลักษณะเป็นผงละเอียด สีนํ้าตาล หรือเป็นผลึกสีเหลือง หลอมละลายที่ ๒๓๐๐?ซ. ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า แก้ว. (อ. boron).
ปฏิวัติ : น. การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล; การเปลี่ยนแปลง ระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการ บริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง. (ป. ปฏิวตฺติ).
พนักงานอัยการ : (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่น ผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้; ข้าราชการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดผู้มี อำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ในฐานะทนาย แผ่นดิน, อัยการ ก็เรียก.
เพชร, เพชร : [เพ็ด, เพ็ดชะ] น. ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีนํ้าแวววาวมากกว่าพลอย อื่น ๆ ใช้ทําเครื่องประดับหรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม; โดยปริยายหมายความว่า แข็งที่สุด เช่น เหล็กเพชร ใจเพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
เภสัชเคมี : [เพสัด] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียม การ สังเคราะห์ การวิเคราะห์ และการทําสารเคมีที่ใช้เป็นยาให้ได้มาตรฐาน.
เภสัชอุตสาหกรรม : [เพสัดอุดสาหะกํา] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการ เตรียมยาระดับอุตสาหกรรม.
มีเทน : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไวไฟ มีสูตร CH4 มีปรากฏในที่ซึ่งมีสารอินทรีย์ผุพังเน่าเปื่อย ในบ่อถ่านหิน ในแก๊สธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง และใช้ในอุตสาหกรรมสังเคราะห์โปรตีนเป็นต้น. (อ. methane).
เมริเดียนแรก : (ภูมิ) น. เมริเดียนที่ลากผ่านหอตรวจดาว เมืองกรีนิช เป็นเมริเดียนที่ใช้กำหนดเวลามาตรฐานกรีนิชและใช้เป็นเมริเดียนแรก หรือเมริเดียน ๐ องศาเพื่อกำหนดเมริเดียนอื่น ๆ โดยใช้วัดจากเมริเดียนกรีนิช เป็นหลัก.
ยางพารา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Hevea brasiliensis (A. Juss.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมื่อกรีดลําต้นได้นํ้ายางสีขาว ใช้ทําผลิตภัณฑ์หลาย ชนิด เช่น ยางรถ พื้นรองเท้า.
ยาดำ : น. ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากนํ้ายางซึ่งได้จากการกรีดโคนใบตาม ขวางของพืชหลายชนิดในสกุล Aloe วงศ์ Liliaceae นําไปเคี่ยวให้งวด แล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นก้อน มีสีนํ้าตาลเข้ม กลิ่นไม่ชวนดม รสขม ใช้เป็นยาได้ ส่วนมากได้จากชนิด A. barbadensis Miller; โดยปริยาย หมายความว่า แทรกปนอยู่ทั่วไป.
ระดับ : น. ลักษณะของพื้นผิวตามแนวนอนระหว่างจุด ๒ จุดที่มีความสูงเสมอกัน โดยปรกติใช้ระดับนํ้าทะเลเป็นมาตรฐานในการวัด, เรียกเครื่องวัดความ เสมอของพื้นผิวว่าเครื่องวัดระดับ. ก. ปูลาด, แต่งตั้ง.
โรเมอร์ : น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ เรียกว่า องศาโรเมอร์ กําหนดเป็นมาตรฐาน ว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา และจุดเดือดของนํ้าบริสุทธิ์ เป็น ๘๐ องศา. (ฝ. R?aumur).