พิมพ, พิมพ์ : [พิมพะ] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตา เป็นพิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือ ภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอย อย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือ วิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสําเนา. (ป., ส.).
พิมพ์สอดสี : ก. พิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป.
พิมพ์ใจ : ก. ประทับใจ, ติดตรึงใจ.
พิมพ์ดีด : น. เครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง ใช้ปลายนิ้วเคาะแป้นอักษรให้ ตัวอักษรไปกดผ้าหมึกให้กระทบกระดาษปรากฏเป็นตัวอักษร.
พิมพ์ทอง : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวยักษ์ หรือ ดาวสตภิสชะ ก็เรียก.
พิมพ์ลายนิ้วมือ : ก. กดปลายนิ้วมือที่ทาหมึกให้เป็นรอยติดอยู่เป็น หลักฐาน โดยปรกติใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ, (ปาก) แตะโป้ง หรือ แปะโป้ง.
พิมพ์ลายมือ : ก. กดปลายนิ้วมือหรือฝ่ามือที่ทาหมึกให้เป็นลายลักษณ์ ติดอยู่เป็นหลักฐาน.
พิมพ์สัมผัส : ก. ใช้ปลายนิ้วมือทั้ง ๑๐ เคาะแป้นอักษรโดยไม่ต้อง มองแป้น.
พิมพ์หนังสือ : ก. ใช้เครื่องพิมพ์กดตัวหนังสือหรือภาพเป็นต้นให้ ติดบนกระดาษหรือผ้าเป็นต้น.
ดีดพิมพ์ : ก. พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด.
แบบพิมพ์ : น. กระดาษพิมพ์ที่เป็นแบบสําหรับกรอกข้อความ หรือ ทําเครื่องหมายตามที่กําหนดหรือที่ต้องการ เช่น แบบพิมพ์คําร้อง.
ประพิมพ์ประพาย : น. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่ คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ.
ผู้พิมพ์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งจัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์.
พระพิมพ์ : น. พระเครื่องที่สร้างขึ้นตามแบบแม่พิมพ์.
มุททา : [มุด-] น. ตรา, พิมพ์, เครื่องสําหรับตีตรา, เครื่องหมาย; แหวน, แหวนตรา. (ป. มุทฺทา; ส. มุทฺรา, มุทฺริกา).
แม่พิมพ์ : น. สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ, โดยปริยายหมายถึง ครูอาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์.
เรียงพิมพ์ : ก. เอาตัวพิมพ์มาเรียงตามต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์.
โรงพิมพ์ : น. สถานที่พิมพ์หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ.
ลัญฉน์, ลัญฉะ : [ลัน, ลันฉะ] น. รอย, เครื่องหมาย, พิมพ์, ตรา (ที่ตีหรือประทับแล้ว). (ป.).
แท่นพิมพ์ : น. เครื่องพิมพ์หนังสือหรือเอกสาร มีลักษณะเป็นแท่น มีหลายชนิด เช่น แท่นกริ๊ก แท่นนอน.
พิมพาภรณ์ :
ดู พิมพ, พิมพ์.
เจ้าสังกัด : น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนัก นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
ตราสิน : ก. แจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน, จดทะเบียน, เช่น ตราสินหนังสือ พิมพ์ ตราสินชื่อย่อโทรเลข.
สอดสี : ว. ลักษณะการพิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป เรียกว่า พิมพ์ สอดสี.
กระดาษ : น. วัตถุเป็นแผ่นบาง ๆ โดยมากทําจากใยเปลือกไม้ ฟาง หญ้า หรือ เศษผ้า เป็นต้น ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือหรือห่อของและอื่น ๆ.
กระดาษไข : น. กระดาษอาบไขที่ใช้ในการทําแบบ ลวดลาย หรือพิมพ์อัดสําเนาแม่พิมพ์ในการพิมพ์โดยเครื่องอัดสําเนา.
กระโดด : ก. ใช้กําลังเท้าถีบพื้นให้ตัวลอยสูงขึ้น, โดด ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลากระโดด ตัวพิมพ์กระโดด.
กำแพงเขย่ง : [-ขะเหฺย่ง] น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชร เป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก.
เก็บเล่ม : ก. รวบรวมหนังสือหรือแผ่นภาพที่พิมพ์ไว้แล้ว เรียงตามลําดับเลขหน้าเข้าเป็นเล่ม (ใช้แก่การพิมพ์).
แกะ ๒ : ก. เอาเล็บมือค่อย ๆ แคะเพื่อให้หลุดออก เช่น แกะสะเก็ด, เอาสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บมือทําเช่นนั้น, ทําเป็นลวดลายหรือรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือ โดยวิธีแกะ เช่น แกะตรา, โดยปริยายหมายความว่า เหมือนกันอย่างกับโขกหรือแคะมาจากพิมพ์เดียวกัน ในความว่า เหมือนกันอย่างกับแกะ; เอามือแงะหรือง้างสิ่งที่เกาะติดกันแน่น หรือกอดไว้แน่นให้หลุดออกจากกัน เช่น แกะมือที่กําแน่น.
โก๋ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำตาลทราย อัดใส่พิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ.
ขลุบ : [ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สําหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทอง ในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมัน เหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
ข้าวตอกแตก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวตอก; โดยปริยายหมายถึงเสียงดัง อย่างเสียงแตกของข้าวตอกที่ดังรัว เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก.
ข่าวพาดหัว : น. ข่าวสําคัญที่นํามาพิมพ์เป็นหัวเรื่องในหน้าแรกของ หนังสือพิมพ์ด้วยอักษรขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดความสนใจ.
ครองแครง : [คฺรองแคฺรง] น. ชื่อขนมทําด้วยแป้งกดบนพิมพ์ที่เป็นรอยริ้ว ๆ คล้าย ฝาหอยแครง ต้มกับกะทิ, ถ้าทอดกรอบเคล้านํ้าตาลเคี่ยว เรียกว่า ครองแครงกรอบ.
คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
คำนำ : น. คําอธิบายหรือชี้แจงเหตุที่เขียนหรือพิมพ์หนังสือเรื่องนั้นขึ้น.
คำปรารภ : น. คํากล่าวแสดงความดําริที่จัดพิมพ์หนังสือนั้น.
แค็ตตาล็อก : น. หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ เป็นต้น ที่มีภาพสินค้าเช่นเสื้อผ้า เครื่องใช้ ไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดของสินค้าเพื่อเผยแพร่หรือสําหรับให้ลูกค้า เลือกซื้อ. (อ. catalogue, catalog).
แคร่ ๒ : [แคฺร่] น. ส่วนบนของเครื่องพิมพ์ดีดที่เลื่อนไปมาได้ ใช้สอดกระดาษ สำหรับพิมพ์.
โคนสมอ ๒ : [-สะหฺมอ] น. ชื่อพระพิมพ์สกุลช่างหนึ่ง.
จันทรคราส : [-คฺราด] (ปาก) น. ''การกลืนดวงจันทร์'' ตามความเข้าใจ ของคนโบราณที่เชื่อว่าพระราหูอมดวงจันทร์, จันทรุปราคา ก็เรียก. (ส.). จันทรพิมพ์ น. ดวงเดือน, รูปที่แลดูแบนแห่งดวงจันทร์, จันทรมณฑล ก็ว่า. (ส.).
จันทรมณฑล : น. จันทรพิมพ์. (ส.).
จุลสาร : น. สิ่งตีพิมพ์ที่บอกเรื่องต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ออกมาเป็นคราว ๆ ไม่มี กําหนดเวลาแน่นอน.
ฉบับ : [ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสํานวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือ เขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่น ที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).
เชิงอรรถ : น. คําอธิบายหรือข้ออ้างอิงที่เขียนหรือพิมพ์ไว้ที่ส่วนล่าง ของหน้าหนังสือหรือตอนท้ายของเรื่อง.
เฒ่าแก่ : น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสำนัก; ผู้ใหญ่ที่เป็น ประธานในการสู่ขอและการหมั้น, เถ้าแก่ ก็ใช้.
ดรรชนี ๓ : น. บัญชีคําเรียงตามลําดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่ม รวบรวมคําสําคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลขหน้า ที่มีคํานั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดัชนี ก็ใช้.
ดอกจอก : น. ชื่อลายที่มีลักษณะคล้ายต้นจอก; เรียกกระเพาะอาหารหยาบ ของสัตว์บางชนิดเช่นวัวควาย ซึ่งพลิกกลับแล้วมีสัณฐานคล้ายต้นจอก; เรียกสว่านชนิดหนึ่งที่ปลายบานว่า สว่านดอกจอก; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าใส่ในพิมพ์รูปอย่างดอกจอกแล้วเอาไปทอด; (ปาก) ดอกไม้จีบ.
ดัชนี ๓ : น. บัญชีคำเรียงตามลำดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่ม รวบรวม คำสำคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลขหน้าที่มีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดรรชนี ก็ใช้.