Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิทธิส่วนบุคคล, สิทธิ, บุคคล, ส่วน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิทธิส่วนบุคคล, 1600 found, display 1-50
  1. ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
  2. บุคคลสิทธิ : [บุกคะละสิด, บุกคนละสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้.
  3. บุคคล, บุคคล- : [บุกคน, บุกคะละ-, บุกคนละ-] น. คน (เฉพาะตัว); (กฎ) คนซึ่ง สามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดา; กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีก ประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิและหน้าที่ ตามกฎหมาย เรียกว่า นิติบุคคล. (ป. ปุคฺคล; ส. ปุทฺคล).
  4. สอบประวัติส่วนบุคคล : ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่ง จะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้ง สุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
  5. รถส่วนบุคคล : น. รถยนต์นั่งที่เอกชนเป็นเจ้าของ.
  6. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  7. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  8. ราย : น. เรื่อง ส่วน บุคคล หรือสิ่งซึ่งแยกกล่าวเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น พิจารณา เป็นราย ๆ ไป แต่ละราย รายนี้เข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น, ลักษณนาม ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น อุบัติเหตุ ๓ ราย เขามีลูกหนี้หลายราย. ว. ที่แยกเป็นลําดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกัน เป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย.
  9. คนนอก : น. บุคคลผู้ไม่มีส่วนร่วมหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง, บุคคล ซึ่งไม่ใช่สมาชิก.
  10. บุคคลภายนอก : (กฎ) น. บุคคลที่มิได้เป็นคู่กรณีหรือคู่สัญญา แต่อาจมีสิทธิเกี่ยวข้อง, บุคคลที่สาม ก็เรียก.
  11. ส่วนตัว : ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว. ส่วนท้องถิ่น น. เขตเทศบาล.
  12. กฎหมายแพ่ง : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคล ตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิดทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).
  13. คู่กรณี : น. ผู้ที่เกิดพิพาทกัน; (กฎ) บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกัน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  14. องค์กร : น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะ รัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กร ของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
  15. ส่วนรวม : น. หมู่คณะ เช่น เห็นแก่ส่วนรวม ทำเพื่อส่วนรวม, ส่วน ที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำส่วนรวม ของใช้ส่วนรวม.
  16. ผู้เป็นหุ้นส่วน : (กฎ) น. บุคคลซึ่งนําสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงหุ้นด้วย ในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นํามาลงหุ้นด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สิน สิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้, (ปาก) หุ้นส่วน.
  17. ส่วนแบ่ง : น. ส่วนย่อยที่แยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น เขาได้ส่วนแบ่ง มรดก ๓ ใน ๑๐ ส่วน.
  18. บุคคลที่สาม : (กฎ) ดู บุคคลภายนอก.
  19. บุคคลผู้ไร้ความสามารถ : [บุกคน-] (กฎ) น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มี ความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจํากัดโดยบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
  20. ส่วนกลาง : น. ส่วนเมืองหลวง, ศูนย์กลาง.
  21. ส่วนเกิน : น. ส่วนที่นอกเหนือไปจากที่กำหนด เช่น ได้รับบัตรเชิญ ไปงาน ๒ คน แต่ไป ๓ คน คนที่ ๓ เป็นส่วนเกิน.
  22. ส่วนควบ : (กฎ) น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดย จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป.
  23. ส่วนได้ส่วนเสีย : น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียด้วย.
  24. ส่วนบุญ : น. ส่วนที่เป็นบุญกุศล เช่น แผ่ส่วนบุญ เปรตขอส่วนบุญ.
  25. ส่วนประกอบ : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่ง ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, องค์ประกอบ ก็เรียก.
  26. ส่วนผสม : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ผสมกันให้เกิดเป็นสิ่งรวม เช่น ส่วนผสม ของอาหาร ส่วนผสมของยา ส่วนผสมของปูนซีเมนต์.
  27. ส่วนพระองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่เจ้านายตั้งแต่พระองค์เจ้า ขึ้นไป) เช่น หนังสือส่วนพระองค์.
  28. ส่วนภูมิภาค : น. ส่วนหัวเมือง.
  29. ส่วนร่วม : น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วม ในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุน บริษัท.
  30. ส่วนหน้า : น. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการ ที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาใน การปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหาร สูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. ส่วนหลัง น. เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลัง บํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง.
  31. ส่วนองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์.
  32. บุคคลธรรมดา : [บุกคน-] น. คน, มนุษย์ปุถุชน.
  33. บุคคลนิติสมมติ : [บุกคนนิติสมมด] (กฎ; เลิก) น. นิติบุคคล.
  34. กฎหมายพาณิชย์ : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจํานอง การจํานํา ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท. (อ. commercial law).
  35. กฎหมายเอกชน : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการ อย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและ หน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
  36. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  37. กระบวนการยุติธรรม : (กฎ) น. วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหาร งานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาลกระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์.
  38. กางเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของ วงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคล ทํากางเวียน. (กฎหมายเก่า).
  39. การคลัง : น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการ เงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญา ผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อํานาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการค้า ประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
  40. เกร็ด ๒ : [เกฺร็ด] น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจ ที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคล สำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขัน ในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา.
  41. ข้อหา : น. คํากล่าวโทษ; (กฎ) คํากล่าวหาบุคคลว่าได้กระทําความผิด อาญา; คํากล่าวหาเกี่ยวกับข้อโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลใน ทางแพ่ง.
  42. ข้าราชการ : น. (โบ) คนที่ทําราชการตามทําเนียบ; ผู้ปฏิบัติราชการ ในส่วนราชการ; (กฎ) บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจาก เงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ.
  43. คดีแพ่ง : (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน.
  44. ครอบครอง : ก. ยึดถือไว้, มีสิทธิปกครอง; (กฎ) ยึดถือทรัพย์สินไว้โดย เจตนาจะยึดถือเพื่อตน อันทำให้บุคคลได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ จะยึดถือไว้เองหรือบุคคลอื่นยึดถือไว้ให้ก็ได้.
  45. คอมมิวนิสต์ : น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยม ที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่าง เสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็น ผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์. ว. เกี่ยวกับระบบคอมมิวนิสต์. (อ. communism, communist).
  46. คำขอ : (กฎ) น. คําซึ่งคู่ความหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียขอ ให้ศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง; หนังสือที่ยื่นต่อทางราชการเพื่อ ขอให้ทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ยื่น.
  47. คำบอกกล่าว : (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนอง ในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำ บอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
  48. เครดิต : [เคฺร-] น. ชื่อเสียงหรือความเชื่อถือในตัวบุคคลหรือในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ความเชื่อถือในฐานะทางการเงินของบุคคลหรือสถาบัน; รายการเจ้าหนี้ ตามบัญชี, เงินที่เข้าบัญชีเป็นรายรับ; ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษา จะพึงได้รับเมื่อศึกษาตรงตามกําหนดและสอบวิชานั้น ๆ ได้, หน่วยกิต ก็เรียก. (อ. credit).
  49. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและ บําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้ สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือ ส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
  50. เจ้าหนี้ : น. เจ้าของหนี้; ผู้ขายเชื่อหรือให้กู้ยืมทรัพย์แก่บุคคลซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้; (กฎ) บุคคลซึ่งมีมูลหนี้เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าลูกหนี้ และมีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ได้.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600

(0.0832 sec)