Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ่งศักดิ์สิทธิ์, ศักดิ์สิทธิ์, สิ่ง , then ศกดสทธ, ศักดิ์สิทธิ์, สง, สงศกดสทธ, สิ่ง, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ่งศักดิ์สิทธิ์, 1431 found, display 1-50
  1. ศักดิ์สิทธิ์ : ว. ที่เชื่อถือว่ามีอำนาจอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดัง ประสงค์, ขลัง, เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์.
  2. ขลัง : [ขฺลัง] ว. มีกําลังหรืออํานาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอํานาจ ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สําเร็จได้ดังประสงค์. น. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในนั้นปูอิฐวางขลัง. (สิบสองเดือน).
  3. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  4. เพลงสาธุการ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่สําคัญยิ่ง ใช้บรรเลงใน พิธีกรรมเมื่อบูชาหรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อแสดงกิริยาน้อมไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกของชุด โหมโรงเช้าโหมโรงเย็น.
  5. เพลงตระเชิญ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
  6. เพลงหน้าพาทย์ : น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา อาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญ เทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือ พิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการ เดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
  7. แก้บน : ก. เซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ตนได้บนบานไว้, ใช้บน ก็ว่า.
  8. เจ้าประคู้น : น. คําเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอให้มาช่วยให้สมประสงค์, เป็นคำอุทานแสดงถึงการอ้อนวอน อธิษฐาน บนบาน หรือ สาปแช่ง เป็นต้น.
  9. ดลบันดาล : ก. ให้มีให้เป็นหรือไม่ให้มีไม่ให้เป็น เช่น ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงดลบันดาลให้ประสบความสําเร็จหรือให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย.
  10. ตระเชิญ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า เพลงตระเชิญ.
  11. บน ๑ : ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คํามั่นว่าจะให้สิ่งของตอบ แทนหรือทําตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสําเร็จ, บนบาน ก็ว่า. ว. เบื้องสูง, ตรงข้ามกับ เบื้องล่าง, เช่น ข้างบน ชั้นบน เบื้องบน. บ. ในที่ซึ่งอยู่สูงหรือเหนือ เช่น นั่งอยู่บนเรือน วางมือบนหนังสือ มีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ.
  12. บนข้าวผี ตีข้าวพระ : (สํา) ก. ขอร้องให้ผีสางเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ช่วยเหลือโดยจะแก้บนเมื่อสําเร็จประสงค์แล้ว.
  13. บนบาน : ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คํามั่นว่าจะให้สิ่งของ ตอบแทนหรือทําตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสําเร็จ, บน ก็ว่า.
  14. บนบานศาลกล่าว : (สํา) ก. ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ.
  15. ปฏิญญา : [ปะตินยา] น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอา สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการ แสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออํานาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ กันทั่วไป.
  16. ปราสาท : [ปฺราสาด] น. เรือนมียอดเป็นชั้น ๆ สําหรับเป็นที่ประทับของ พระเจ้าแผ่นดินหรือเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปฺราสาท; ป. ปาสาท).
  17. พิษฐาน : [พิดสะถาน] ก. มุ่งหมาย, ขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อ ช่วยบันดาลให้ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนมุ่งหมาย. (เลือนมาจาก อธิษฐาน).
  18. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  19. ลบหลู่ : ก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มี อุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ลบหลู่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข.
  20. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  21. สบถ : [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ ตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือ ไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
  22. สัตยาธิษฐาน : น. การตั้งความจริงใจเป็นหลักอ้าง เช่น ขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก. (ส. สตฺย + อธิษฺ?าน; ป. สจฺจ + อธิฏฺ?าน).
  23. หน้าพาทย์ : น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการ เคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธี ต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์. ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รําหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.
  24. อธิฏฐาน : [อะทิดถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิษฐาน ก็ว่า. (ป.; ส. อธิษฺ?าน).
  25. อธิษฐาน : [อะทิดถาน, อะทิดสะถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิต ปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใด อย่างหนึ่ง, อธิฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. อธิฏฺ?าน).
  26. อมพระมาพูด : (สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูด ก็ไม่เชื่อ.
  27. อาราธน์, อาราธนา : [อาราด, อาราดทะนา] ก. เชื้อเชิญ, นิมนต์, อ้อนวอน, (ใช้แก่ พระภิกษุสามเณรและสิ่งศักดิ์สิทธิ์); ขอ. (ป., ส.).
  28. อำนาจ : น. สิทธิ เช่น มอบอํานาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอม ทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถ บันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อํานาจบังคับของ กฎหมาย อํานาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถ ทําหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อํานาจคุณพระ ศรีรัตนตรัย อํานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กําลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อํานาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อํานาจ; การบังคับ เช่น ขออํานาจศาล.
  29. เครื่องเครา : (ปาก) น. เครื่อง, สิ่ง, สิ่งของ.
  30. จำหุด : ก. แม่น, ปรากฏ, เที่ยง, แข็งแรง, เปรื่องปราด, ศักดิ์สิทธิ์, สําคัญ, เช่น อันหนึ่งให้จำหุดให้กระทำบุญ. (ไตรภูมิ). (ข. จํหุต ว่า ความถูกต้อง, ความเที่ยงตรง).
  31. อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  32. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจ หน้าที่เกี่ยวกับการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพลังงาน การควบคุม รักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและการวิจัย.
  33. สง : ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
  34. ทุกสิ่งทุกอย่าง : ว. ทั้งหมด.
  35. มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
  36. แรง ๑ : น. กําลัง เช่น แรงคน ไม่มีแรง มีแรงมาก ออกแรง, อํานาจ เช่น แรงเจ้าที่ แรงกรรม. ว. ฉุน, จัด, กล้า, เช่น กลิ่นแรง; ใช้กําลังกระทําถึงขีด เช่น อย่าทำแรง ตีแรง ๆ, แข็ง, มีกําลัง; ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ที่นี่เจ้าที่แรง; อัตรา การทำงาน กำหนดเป็นกำลังคนต่อช่วงเวลาหนึ่ง เช่น งานนี้ต้องใช้ ๑๐ แรง. ก. ออกแรง; หมกมุ่น เช่น แรงเสพ แรงเล่น.
  37. คู่ลำดับ : (คณิต) น. สิ่งสิ่งที่จัดเข้าวงเล็บให้อยู่คู่กัน ซึ่งคํานึงถึง การเรียงลําดับก่อนหลังเป็นหลักสําคัญ โดยถือว่า (a, b) ต่างกับ (b, a).
  38. ประตูน้ำ : น. ประตูสําหรับควบคุมระดับนํ้าที่ไหลเข้าออก; (กฎ) สิ่ง ที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อให้เรือแพผ่านทางนํ้าที่มีระดับนํ้าต่างกันได้.
  39. ปริกรรมนิมิต : [ปะริกำมะนิมิด] น. ''อารมณ์ในบริกรรม'' คือ สิ่ง ที่ใช้เพ่งหรือนึกเป็นอารมณ์ในเวลาบริกรรม. (ป. ปริกมฺมนิมิตฺต; ส. ปริกรฺม + นิมิตฺต).
  40. อุปัทวันตราย : [อุปัดทะวันตะราย, อุบปัดทะวันตะราย] น. สิ่ง อุบาทว์และอันตราย. (ป. อุปทฺทว + อนฺตราย).
  41. กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  42. เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
  43. ยื่น : ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุข ยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการ ให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
  44. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  45. ส่ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึง ผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบน ให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อ มีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.
  46. กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
  47. กงจักร : น. สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลม มีริมเป็นแฉก ๆ โดยรอบ.
  48. กฎหมู่ : น. อํานาจกดดันที่บุคคลจํานวนมากนํามาใช้บีบบังคับให้อีก ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือเว้นกระทําสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย).
  49. กดน้ำ : (ปาก) ก. ใช้กําลังกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มิดลงไปในน้ำ ในความว่า จับกดน้ำ จับหัวกดน้ำ.
  50. ก้นกบ : น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1431

(0.2353 sec)