Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ่งอื่น, อื่น, สิ่ง , then สง, สงอน, สิ่ง, สิ่งอื่น, อน, อื่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ่งอื่น, 2273 found, display 1-50
  1. อื่น : ว. นอกออกไป, ต่างออกไป.
  2. ตราไปรษณียากร : น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่า ไปรษณียากรหรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจํานวนเงินที่จะต้องเสียในการส่ง ไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งตราไปรษณียากรสําหรับผนึก หรือตราไปรษณียากร ที่พิมพ์ ดุน หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือ สิ่งอื่น ๆ.
  3. นิรมาณกาย : [ระมานนะกาย] น. กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีอันเปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายานเชื่อว่าเป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย.
  4. ประปา : น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและจําหน่ายนํ้าประปาว่า การประปา, เรียกสิ่ง อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา; ป. ปปา).
  5. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  6. ไอ้ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น ไอ้หนุ่ม ไอ้ด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่าง นายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความ สนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย; คําใช้ประกอบหน้าชื่อ ผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคําบางคําที่ ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความ เอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย; คํา ประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น ไอ้เราก็ไม่ดี ไอ้จะไปก็ ไม่มีที่ไป ไอ้จะอยู่หรือก็คับใจ, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อ เน้นในเชิงบริภาษ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้โง่ ไอ้ควาย, คําใช้แทนสิ่งที่ กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น ไอ้นั่น ไอ้นี่, เขียนเป็น อ้าย ก็มี.
  7. ก้มหน้าก้มตา : (สํา) ก. ทําโดยไม่มองดูสิ่งอื่น, ทําโดยตั้งใจ, เช่น ก้มหน้าก้มตาทําไปจนกว่าจะสําเร็จ.
  8. กรด ๑ : [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือ ทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลาย น้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสี น้ำเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้ แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่ง มาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
  9. กระ ๓ : น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
  10. กระจัง ๑ : น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง ใช้เป็นลวดลายสําหรับเครื่องประดับที่อยู่ บนชั้นหรือตามขอบของสิ่งบางอย่าง เช่น ชั้นฐานธรรมาสน์ กระจังมีหลายแบบ เช่น กระจังตาอ้อย กระจังเจิม กระจังปฏิญาณ, เครื่องประดับที่มีลวดลายชนิดนี้ เรียกว่า ตัวกระจัง ใช้ประดับหลัง เฟี้ยมลับแลและอื่น ๆ.
  11. กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
  12. กลบ : [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ใช้เนื้อ, ทดแทน, เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย. (กฎ. ราชบุรี), กลบลบ ก็ว่าเช่น หักกลบลบหนี้.
  13. กลิ่น ๑ : [กฺลิ่น] น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น ของสิ่งนั้นมีกลิ่น.
  14. กลืน : [กฺลืน] ก. อาการที่ทําให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลําคอ ลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทําให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สําแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
  15. กองเกียรติยศ : น. กองทหารหรือตํารวจเป็นต้น ที่จัดขึ้นเพื่อให้ เป็นเกียรติแก่ประมุขของประเทศ บุคคลสําคัญ ศพทหารตํารวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น ธงชัยเฉลิมพล.
  16. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  17. กะรุน : น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมีสิ่งอื่นผสมอยู่ทําให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม ถ้าเป็นสีน้ำเงิน เรียกว่า พลอยสีน้ำเงิน ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่อง หรือ เขียวมรกต, อินเดีย เรียก คอรุน. (อ. corundum).
  18. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  19. กัลปนา : [กันละปะนา] ก. เจาะจงให้. น. ที่ดินหรือสิ่งอื่นเช่นอาคารซึ่งเจ้าของ อุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา; ส่วนบุญที่ผู้ทําอุทิศให้แก่ผู้ตาย. (ส.; ป. กปฺปนา).
  20. กาฟักไข่ : น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง ผู้เล่นหาไม้หรือของอื่นมาคนละชิ้น สมมุติเป็นไข่ มอบให้แก่ผู้ที่ถูกจับสลาก สมมุติเป็นกา ผู้เป็นการักษาสิ่งนั้นไว้ในวงเขตที่กําหนด ผู้เล่นนอกนั้นคอยลักไข่.
  21. กำจาย ๓ : น. เรียกงาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ว่า งากําจาย. (ปรัดเล).
  22. กินเปล่า : [-เปฺล่า] ก. ได้ประโยชน์เปล่า ๆ ไม่ต้องตอบแทน. น. เรียกเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกันว่า เงินกินเปล่า. ว. ได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว เช่น เตะกินเปล่า.
  23. เกลือก ๑ : [เกฺลือก] ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา. เกลือกกลั้ว ก. คบหาสมาคม, คลุกคลี, เช่น เกลือกกลั้วกับคนพาล; ทําให้มัวหมอง, ทําให้มีมลทิน, เช่น ไม่มีอะไรมาเกลือกกลั้ว. เกลือกกลิ้ง ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอน, เกลือก ก็ว่า; พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้หรือด้วย ความทุกข์ทรมาน เช่น นอนกลิ้งเกลือกไปมาด้วยความทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า.
  24. เกาะ ๑ : น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ; ละเมาะ, โดยปริยายใช้เรียก ขึ้นพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้เป็นต้นหนาแน่น มีทุ่งหรือที่เตียนล้อมรอบ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  25. เกาะ ๒ : ก. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่ เช่น นกเกาะกิ่งไม้ แมงมุมเกาะฝา, เอาสิ่งมีขอเป็นต้นเกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่ เช่น เอาขอเกาะต้นไม้, โดยปริยายหมายความถึงอาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ เช่น ปลิงเกาะ หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน เช่น ดินเกาะเป็นก้อนบินเกาะหมู่ วิ่งเกาะกลุ่ม; ไปเอาตัวมาโดยอํานาจศาลเป็นต้น เช่น ไปเกาะตัวมา.
  26. แกน : น. วัตถุแข็งที่อยู่ตรงกลางของสิ่งอื่นสําหรับยึดให้อยู่, วัตถุแข็งที่มีสิ่งอื่นหุ้ม. ว. แข็งเป็นไตอยู่ข้างใน (มักใช้แก่ผลไม้) เช่น ทุเรียนแกน มะม่วงแกน; ขัดสน,จําใจ, เช่น อยู่ไปแกน ๆ เต็มแกน.
  27. แกว่ง : [แกฺว่ง] ก. อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นทีทางนี้ทีโดยที่โคน หรือต้นของสิ่งนั้นติดอยู่กับสิ่งอื่น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยู่กับที่, ไม่อยู่ในแนว, เช่น จิตแกว่ง.
  28. โกย : ก. อาการที่ใช้มือหรือสิ่งอื่นคุ้ยหรือกวาดสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้าว ถ่าน มาทีละมาก ๆ, ขนหรือรวบเอาไปเป็นจํานวนมาก; (ปาก) วิ่งหนีไปโดยเร็ว.
  29. ใกล้ : [ไกฺล้] ว. จวน, เกือบ, เคียง, ไม่ห่าง. ใกล้เกลือกินด่าง (สํา) ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดี ที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหา สิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี.
  30. ขน ๑ : น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
  31. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  32. ขอทาน : ก. ขอเงินหรือสิ่งของเลี้ยงชีวิต, หากินทางขอสิ่งที่ผู้อื่นให้. น. เรียกบุคคลที่หาเลี้ยงชีพอย่างนั้นว่า ขอทาน.
  33. ขา ๑ : น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สําหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะ คล้ายขาสําหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
  34. เข็ม ๑ : น. เหล็กแหลมใช้เย็บผ้าเป็นต้นหรือกลัดสิ่งของ, ของอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง คล้ายเข็ม เช่น เข็มนาฬิกา เข็มฉีดยา; ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่น ที่มีลักษณะเช่นนั้นสําหรับฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เสาเข็ม ก็ว่า; เครื่องประดับสําหรับกลัดเป็นเครื่องหมาย เช่น เข็มข้าหลวงเดิม; โดย ปริยายหมายความว่า จุดมุ่งหมาย เช่น ตั้งเข็มชีวิต.
  35. เขี่ย : ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียนหรือ วาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือ เป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป.
  36. เขื่อน : น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
  37. คน ๒ : ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นกวนเพื่อทําสิ่งที่นอนก้นหรือที่เกาะกันอยู่ เป็นกลุ่มเป็นก้อนให้กระจายขยายตัว หรือกวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน.
  38. คลึง : [คฺลึง] ก. ใช้ฝ่ามือกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเบา ๆ แล้วเคลื่อนมือหมุนไปมา เพื่อ ให้กลมหรือให้เรียบเป็นต้น, อาการที่ทําเช่นนั้นด้วยสิ่งอื่น เช่น คลึง ด้วยลูกประคบ.
  39. คลื่น : [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไป เป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
  40. ควาน : [คฺวาน] ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นค้นหาสิ่งของในนํ้าหรือในที่มืดเป็นต้น.
  41. ความรู้สึกด้อย : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึกและผู้นั้นไม่จําเป็นต้องมี ปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อ มั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).
  42. คิ้ว : น. ส่วนโค้งขอบกระบอกตาข้างบนซึ่งมีขนขึ้นที่โค้งนั้น; ไม้ที่ช่างลอก เป็นลวดสําหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์; เรียกพายที่ทําเป็นลวดใน ใบพายว่า พายคิ้ว.
  43. คีบ : ก. เอาปลายสิ่งที่เป็นง่ามเช่นคีมหรือปลายไม้ ๒ อันจับสิ่งอื่นให้อยู่.
  44. คุ้ย : ก. ใช้มือ เท้า หรือสิ่งอื่นตะกุยขึ้นมา.
  45. เครื่องสำอาง : น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่อง พระสําอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
  46. เค้า ๑ : น. สิ่งที่เป็นเครื่องกําหนดหมายบอกให้รู้ เช่น ฝนตั้งเค้า; สิ่งที่ส่อแสดง ให้รู้ได้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น เช่น นาย ก มีเค้าหน้าเหมือนนาย ข; ต้นเงื่อน เช่น ต้นเค้า; รูปหรือรูปความโดยย่อ เช่น เขียนพอให้เห็นเป็น เค้า; ร่องรอย เช่น พอได้เค้า; เหง้า เช่น โคตรเค้าเหล่ากอ; ข้า. (อนันตวิภาค); ตัวเงินหรือวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน เช่นเมล็ดมะขามเป็นต้นที่เป็นทุนซึ่งตั้ง ไว้สําหรับเล่นในบ่อนการพนันบางชนิด, เรียกผู้ถือต้นทุนในการพนัน ว่า ถุงเค้า.
  47. งากำจาย : น. งาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ.
  48. เงาตามตัว : (สํา) น. ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย; สิ่งที่ เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามกัน เช่น นํ้ามันขึ้นราคา สินค้าอื่น ๆ ก็ขึ้น ราคาเป็นเงาตามตัว.
  49. เงินกินเปล่า : น. เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกัน.
  50. จ่อ ๑ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก; มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามี ใจจดจ่อกับงาน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2273

(0.2308 sec)