Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สีม , then สม, สิม, สีม, สีมา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สีม, 144 found, display 1-50
  1. สม ๓ : [สะมะ, สมมะ, สม] ว. เท่ากัน, เสมอกัน.
  2. สม ๑ : ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสม ฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้ แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  3. สม ๒ : ใช้ประกอบกับคำกริยาบางคำมีความหมายว่า ร่วมด้วยกัน รวมกัน เช่น สมคิด สมรู้.
  4. สมน้ำหน้า : ว. คําแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  5. สมน้ำสมเนื้อ : ว. พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อ กันดีแล้ว.
  6. สมบุกสมบัน : ว. ทนลําบากตรากตรำโดยไม่คิดถึงตัว เช่น เขาทำงานสมบุกสมบัน จึงประสบความสำเร็จ; อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัยหรือโดยไม่ ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว ใช้วัวควายไถนา อย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.
  7. สมประกอบ : ว. มีอวัยวะสมบูรณ์เป็นปรกติ เช่น เขาเป็นคนมีร่างกาย สมประกอบ. สมพรปาก คํารับคำหวังดีต่อผู้ที่พูดอวยพรให้เป็นมงคล เช่น ขอให้ สมพรปากนะ.
  8. สมรัก : ก. ร่วมประเวณี เช่น ชายลอบลักสมรักทำชู้ด้วยลูกสาวท่าน ก็ดี สองลอบสมรักด้วยกัน มิได้สู่ขอมีขันหมากเปนคำนับ. (สามดวง).
  9. สมหน้าสมตา : ว. เหมาะแก่เกียรติและฐานะ เช่น ลูกสาวบ้านนั้นเขา แต่งงานไปอย่างสมหน้าสมตา.
  10. สมเหตุสมผล : ว. มีเหตุผลสมควร, มีเหตุผลรับกัน, เช่น คำชี้แจง ของเขาสมเหตุสมผล เขาอภิปรายได้สมเหตุสมผล.
  11. สมพัตสร : [พัดสอน] น. อากรสวนใหญ่เก็บจากผลของไม้ยืนต้นเป็นรายปี. (ส. สํวตฺสร ว่า ปี).
  12. สมสอง : (วรรณ) ก. อยู่เป็นคู่ผัวเมีย, เขียนเป็น สํสอง ก็มี เช่น ยงงขวบคืนสํสอง เศกไท้. (กำสรวล).
  13. คุ้ม ๑ : ก. กัน, ป้องกัน, เช่น คุ้มฝน; พอ, สม, พอสมควรกัน, เช่น คุ้มค่า คุ้มเหนื่อย; พอเท่ากัน เช่น คุ้มทุน. ว. มากพอสมควรกัน เช่น กินเสียคุ้ม.
  14. คู่สร้าง, คู่สร้างคู่สม : น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยา กันมาแต่ชาติก่อน, ชายหญิงที่สมเป็นคู่ครองกัน, เนื้อคู่ ก็ว่า.
  15. จารุ : (แบบ) น. ทองคํา. ว. งาม, น่ารัก, สม, เหมาะ. (ป., ส.).
  16. ผณินทรสมพัตสร : [ผะนินทฺระสมพัดสอน] น. ปีงูใหญ่, ปีมะโรง. (ป. ผณิ + ส. อินฺทฺร + ส. สํวตฺสร).
  17. สมจริงสมจัง : ว. คล้ายกับที่เป็นจริงมาก เช่น เขาเล่าถึงเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ได้สมจริงสมจัง.
  18. สมฤดี, สมฤๅดี : [สมรึดี, สมรือดี] น. ความรู้สึกตัว, ใช้เป็น สมปฤดี สมปฤๅดี หรือ สมประดี ก็มี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
  19. สระสม : [สฺระ] (วรรณ) ว. สวย เช่น พิศดูคางสระสม. (ลอ).
  20. เหมาะสม : ว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.
  21. ตรีเพชรสมคุณ : [-เพ็ดสะมะคุน] น. คุณเสมอเพชร ๓ อย่าง คือ ว่านหางจระเข้ ฝักราชพฤกษ์ รงทอง.
  22. ใบสีมา, ใบเสมา : น. แผ่นหินที่ทําเป็นเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์, ใบพัทธสีมา ก็ว่า.
  23. ผณินทรสมพัตสร : ดู ผณิน.
  24. วันทาสีม : ก. ไหว้พัทธสีมาก่อนที่จะเข้าอุโบสถในพิธีอุปสมบท (ใช้แก่นาค).
  25. อุปสมบัน, อุปสัมบัน : [อุปะ, อุบปะ] น. ผู้อุปสมบทแล้ว, ภิกษุ, คู่กับ อนุปสัมบัน ได้แก่ ผู้ที่ไม่ได้อุปสมบท คือ สามเณรและคฤหัสถ์. (ป. อุปสมฺปนฺน).
  26. ศมะ : [สะ-] น. ความสงบ, ความนิ่ง. (ส.; ป. สม).
  27. สมญา : [สมยา] น. ชื่อที่ตั้งให้ กร่อนมาจากคำว่า สมัญญา. สมญานาม [สมยานาม] น. สมญา.
  28. สมนาคุณ : [สมมะนาคุน] ก. ตอบแทนบุญคุณด้วยทรัพย์ สิ่งของ หรือ แรงงาน เป็นต้นแล้วแต่กรณี เช่น ร้านค้ามีของสมนาคุณผู้ซื้อ ธนาคารให้ของ สมนาคุณแก่ลูกค้า, เรียกทรัพย์หรือสิ่งของเป็นต้นที่ให้ในลักษณะ เช่นนั้นว่า เงินสมนาคุณ ของสมนาคุณ.
  29. สมบัติพัสถาน : [สมบัดพัดสะถาน] น. ทรัพย์สิน ที่ดิน และบ้านเรือน.
  30. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ : [สมบูระนายาสิดทิราด] น. ระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์ มีอํานาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ. (อ. absolute monarchy).
  31. สมมต, สมมติ, สมมติ, สมมุติ, สมมุติ : [สมมด, สมมด, สมมดติ, สมมุด, สมมุดติ] ก. รู้สึกนึกเอาว่า เช่น สมมติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง. สัน. ต่างว่า, ถือเอาว่า, เช่น สมมุติว่าได้มรดก สิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่าถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก. ว. ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยายโดยไม่คํานึง ถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมติเทพ.
  32. สมมติฐาน, สมมุติฐาน : [สมมดติ, สมมุดติ] น. ข้อคิดเห็นหรือถ้อย แถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย. (อ. hypothesis).
  33. สมมาตร : [สมมาด] น. ลักษณะที่รูป ๒ รูปหรือรูปรูปเดียว แต่แยกได้เป็น ๒ ส่วน มีสมบัติว่า ถ้านํารูปแรกไปทับรูปที่ ๒ หรือพับส่วนแรกไปทับส่วนที่ ๒ ในกรณีที่เป็นรูปเดียวกันแล้ว ทั้ง ๒ รูปหรือ ๒ ส่วนนั้นจะทับกันสนิท, ถ้าเป็นรูปทรง ๓ มิติ เมื่อแบ่งครึ่งออกไป ๒ ซีกจะเหมือนกันทุกประการ. (อ. symmetry).
  34. กระแจะ ๑ : น. ผงเครื่องหอมต่าง ๆ ที่ประสมกันสําหรับทาหรือเจิม โดยปรกติมี เครื่องประสม คือไม้จันทน์ แก่นไม้หอม ชะมดเชียง หญ้าฝรั่น.
  35. กระสรวล : [-สวน] (กลอน) ก. ยินดี, ร่าเริง, เช่น นางนกกระสรวลสันต์ สมเสพ. (นิ. นรินทร์).
  36. กฤติกา : [กฺริดติ-] (โบ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว เช่น หมู่สามสมมุติ์กุกกุฏโบ- ดกกฤติกาขาน. (สรรพสิทธิ์), ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก. (ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).
  37. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  38. กะทัดรัด : ว. สมทรง, สมส่วน, เหมาะเจาะ.
  39. กิ่งทองใบหยก : (สํา) ว. เหมาะสมกัน (ใช้แก่หญิงกับชาย ที่จะแต่งงานกัน).
  40. เกณฑ์หัด : น. ทหารลูกหมู่เลกสมที่ให้หัดตามแบบทหารสมัยใหม่.
  41. ข้าง ๆ คู ๆ : ว. ออกนอกแนวนอกเรื่องอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น เถียงไปข้าง ๆ คู ๆ.
  42. ข้าวเบือ : น. ข้าวสารที่ตําละเอียด ใช้ประสมกับนํ้าแกงเพื่อให้นํ้าแกงข้น.
  43. เข้าเจ้าเข้านาย : ก. รู้จักธรรมเนียมเข้าเฝ้าเจ้านาย และเข้าไปหาผู้หลัก ผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม.
  44. เข้าท่า : ก. มีท่าทางดี, น่าดูไม่ขัดตา, เหมาะสม.
  45. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  46. ไข่แดง : น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน อยู่รอบส่วนที่จะเจริญเป็นตัวอ่อน มักมีสีเหลืองหรือแดง เป็น สารประเภทไขมันที่สะสมไว้สําหรับเลี้ยงตัวอ่อนขณะที่เติบโต.
  47. คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
  48. คราญ : [คฺราน] ว. งาม, สวย, น่ารัก, ใช้ประสมกับคําอื่น เช่น นงคราญ สะคราญ.
  49. คอหยัก ๆ สักแต่ว่าคน : (สำ) น. คนที่ประพฤติตัวไม่สมศักดิ์ศรี ของความเป็นคน.
  50. คะใน : (โบ) บ. ข้างใน, ในกลอนเขียนเป็น คใน เช่น ปางพระไปนอน คในพนานต์ พระเอาภูบาล ไปสมกัลยา. (สมุทรโฆษ).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-144

(0.0641 sec)