กินสี่ถ้วย : ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีน้ำกะทิใส่ชามอยู่กลาง].
แจงสี่เบี้ย : ก. อธิบายละเอียดชัดแจ้ง.
ชักกระบี่สี่ท่า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
พรหมสี่หน้า : [พฺรม] น. ชื่อกระบวนมวยท่าหนึ่ง, ชื่อกระบวนรํา ท่าหนึ่ง.
จดุร- : [จะดุระ] (กลอน) แผลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่.
จดูร- : [จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
จตุสดมภ์ : น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดย ตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
จัตุ : [จัดตุ] ว. สี่. (ป. จตุ; ส. จตุรฺ).
จัตุร- : [จัดตุระ-] ว. สี่. (ส. จตุร; ป. จตุ).
จัตุสดมภ์ : [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัย โบราณ โดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
กระเบื้องหน้าวัว : น. กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยดินเผา; กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้อง ขนมเปียกปูน ก็เรียก.
กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
กษมา ๑ : [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา).
กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
กำพต : [-พด] น. ลูกศร เช่น พระเอาโอสถ ทาลูกกําพต พาดสายศิลปคือ พระอัคนี สมเด็จสี่มือ ดาลเดชระบือ ระเบิดบาดาล. (สุธน).
กำไร : น. ผลที่ได้เกินต้นทุน. ว. ยิ่ง, เกิน, เช่น ทรงบําเพ็ญบารมีสี่อสงไขยกําไรแสนมหากัป.
เขียด : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับกบแต่มักมีขนาดเล็กกว่า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขียดอ๋อง (Rana nigrovittata) เขียดหลังขาว . (R. limnocharis)
ไข่กบ : ดูใน กินสี่ถ้วย.
คลาน : [คฺลาน] ก. ไปด้วยมือและเข่าอย่างเด็ก; กิริยาที่ใช้มือและเท้าทั้ง ๒ ทาบพื้นแล้วเคลื่อนไป เรียกว่า คลานสี่เท้า; กิริยาที่เคลื่อนไปด้วยเข่า และศอก เรียกว่า คลานศอก, ด้วยเข่า เรียกว่า คลานเข่า; กิริยาที่เดินไป อย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้, เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เช่น รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป.
คางคก ๑ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ใน ประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน (Bufo melanostictus) คางคกป่า (B. macrotis).
คางคกไฟ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก แต่ตัวเล็กกว่ามาก ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ.
ค่าว : (ถิ่น-พายัพ) น. กลอนหรือกวีนิพนธ์แบบหนึ่ง มักใช้แต่งรําพันความรัก หรือแต่งเป็นเรื่อง เช่น ค่าวเรื่องจําปาสี่ต้น หมายถึง คํากลอนเรื่องจําปาสี่ต้น.
จงโคร่ง, โจงโคร่ง : [-โคฺร่ง] น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริมลําธาร หรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก.
จตุ- : [จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).
จตุบท : น. สัตว์สี่เท้า. (ป.).
จตุร- : [จะตุดถะ-, -ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.). [จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).
จตุลังคบาท : [จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า.
จัตตาฬีสะ : (แบบ) ว. สี่สิบ. (ป.).
จัตวา : [จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ + ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).
จาตุ- : ว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลี.
จาตุร- : [จาตุระ-] (แบบ) ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบ หน้าคําที่มาจากภาษาบาลี.
จำปา :
น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
จิตระ, จิตรา : [จิดตฺระ, จิดตฺรา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๔ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปต่อมนํ้าหรือ ไต้ไฟ เช่น จิตราก็ปรากฏดําบล เสถียรที่สิบสี่หมาย. (สรรพสิทธิ์), ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวตาเสือ ก็เรียก. (ส.; ป. จิตฺตา).
จุทสะ : [จุดทะสะ] (แบบ) ว. สิบสี่. (ป. จุทฺทส; ส. จตุรทศ). จุทสมสุรทิน น. วันที่ ๑๔ ทางสุริยคติ.
ชุมพา : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง ขนยาวคล้ายขนแกะ. (พจน. ๒๔๙๓).
ตกลูก : ก. ออกลูก (ใช้แก่สัตว์สี่เท้า).
ตรีบูร : น. เมืองอันมีป้อมค่าย ๓ ชั้น, ๓ ชั้น เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพัน สี่ร้อยวา. (จารึกสยาม), อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร. (กําสรวล). (ส. ตฺริปุร ว่า ป้อม ๓ ชั้น).
ตะโพก : น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อ ส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า.
ตะแลงแกง : น. ทางสี่แพร่ง, ต่อมาเลือนไปหมายถึงที่สําหรับฆ่านักโทษในสมัยโบราณ.
ทวิบถ : น. สถานที่ที่ทางทั้ง ๒ ตัดผ่านกัน, สี่แยก. (ส.).
ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
ทองเนื้อเก้า : น. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
แท่นลา : น. แท่นสี่เหลี่ยมที่ทําขึ้นเพื่อเคลื่อนย้ายไปตั้งในพิธีต่าง ๆ ได้ตามประสงค์มีขนาดกว้างยาวพอตั้งพระเก้าอี้และโต๊ะเครื่อง ราชูปโภคเป็นต้น สูงประมาณ ๖-๘ นิ้ว.
นกปล่อย : ดูใน กินสี่ถ้วย.
นนทลี : [นนทะลี] น. แม่ เช่น สี่ไทธิเบศร์วรดิลก ชนกแลนนทลี. (สมุทรโฆษ).
นวนิยาย : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครง เรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ เรื่อง สี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง.
ปริศนาอักษรไขว้ : น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคําลงในตาราง สี่เหลี่ยมที่กําหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนว ยืนและแนวนอน.
ปาด ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบก ในวงศ์ Rhacophoridae รูปร่างคล้ายเขียดแต่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ปลายนิ้วแบนช่วยใน การเกาะ ทํากองฟองวางไข่ตามกิ่งไม้ชายนํ้า มีหลายชนิด เช่น ชนิด Rhacophorus leucomystax ซึ่งพบทั่วไป, ปาดบิน (R. nigropalmatus), เขียดตะปาด ก็เรียก.
มะลิลอย : ดูใน กินสี่ถ้วย.