บุรุษ, บุรุษ- : [บุหฺรุด, บุหฺรุดสะ-] น. ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะ ที่สุภาพ; (ไว) คําบอกผู้พูด เรียกว่า บุรุษที่ ๑, คําบอกผู้ที่พูดด้วย เรียกว่า บุรุษที่ ๒, คําบอกผู้ที่พูดถึง เรียกว่า บุรุษที่ ๓. (ส. ปุรุษ; ป. ปุริส).
บุรุษโทษ : [บุหฺรุดสะโทด] น. ลักษณะชั่วของคน.
บุรุษธรรม : [บุหฺรุดสะทํา] น. คติสําหรับตัว.
บุรุษเพศ : [บุหฺรุดเพด] น. เพศชาย, คู่กับ สตรีเพศ.
กู : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด ในปัจจุบันมักถือกันว่าไม่สุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
คุณ ๑, คุณ- : [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษขึ้นไป; (ไว) คําแต่งชื่อ. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
เจ้า ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น จะไปด้วยหรือเปล่า.
ดิฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, ดีฉัน ก็ว่า, ตามแบบผู้ชาย ใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ดีฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, ดิฉัน ก็ว่า, ตามแบบผู้ชาย ใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ผม ๒ : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย ใช้พูดโดยสุภาพ, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๑.
มึง : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, มักถือกันว่าไม่สุภาพหรือหยาบคาย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ร่ายสุภาพ : น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่ง มี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือ ที่ ๓ ของวรรคถัดไปและจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.
สตรี : [สัดตฺรี] น. ผู้หญิง, เพศหญิง, คู่กับ บุรุษ, (ใช้ในลักษณะที่สุภาพ). (ส.; ป. อิตฺถี, ถี).
อิฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, อีฉัน ก็ว่า, (แบบ) ผู้ชายใช้ว่า ดิฉัน หรือ ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อิฉัน หรือ อีฉัน, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑.
อีฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, อิฉัน ก็ว่า, (แบบ) ผู้ชายใช้ว่า ดิฉัน หรือ ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อิฉัน หรือ อีฉัน, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑.
ปฐมบุรุษ : [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลี หมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.
มฤทุ : [มะรึ-] ว. นุ่ม, อ่อน, อ่อนโยน, สุภาพ; แช่มช้า. (ส. มฺฤทุ; ป. มุทุ).
ลิลิตสุภาพ : น. ลิลิตที่ใช้ร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณขึ้นต้น แล้วใช้ โคลงสุภาพกับร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณสลับระคนอยู่ในเรื่อง เดียวกัน เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตเตลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต.
สัณห์ : ว. เกลี้ยงเกลา; อ่อน, นุ่ม; นุ่มนวล, สุภาพ; งาม, ละมุนละม่อม, ละเอียด. (ป.; ส. ศฺลกฺษฺณ).
อุทาร : [ทาน] ว. สูง, เลิศ, ประเสริฐ, ยิ่งใหญ่; ซื่อตรง, มีความจริงใจ; สุภาพ; ถูกต้อง. (ส.).
เอาทาร : [ทาน] ว. สูง, เลิศ, ประเสริฐ, ยิ่งใหญ่; ซื่อตรง, มีความจริงใจ; สุภาพ; ถูกต้อง. (แผลงมาจาก อุทาร).
สภาพ : น. ความเป็นเองตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ เช่น สภาพความ เป็นอยู่ สภาพดินฟ้าอากาศ, ลักษณะในตัวเอง; ภาวะ, ธรรมชาติ. (ป. สภาว; ส. สฺวภาว).
กลอนสุภาพ : น. กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียกว่า กลอนตลาด.
กาบุรุษ : [กาบุหฺรุด] (แบบ) น. คนเลว. (ส. กาปุรุษ; ป. กาปุริส).
คำสุภาพ : (ฉันทลักษณ์) น. คําที่ไม่ผันด้วยวรรณยุกต์ทั้ง ๔.
มัชฌิมบุรุษ : น. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.
เอกบุคคล, เอกบุรุษ : [เอกกะบุกคน, เอกะบุกคน, เอกกะบุหฺรุด, เอกบุหฺรุด] น. คนเยี่ยมยอด, คนประเสริฐ.
นิวาต : [วาด] (แบบ) ว. สงัดลม, สงัด; เสงี่ยม, เจียมตัว, สุภาพ. (ป.).
บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
บาท ๓ : น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคําประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่ง มี ๔ บาท.
โปส : น. บุรุษ. (ป.).
เรียบร้อย : ว. สุภาพ เช่น พูดจาเรียบร้อย กิริยามารยาทเรียบร้อย; เป็น ระเบียบ เช่น จัดห้องเรียบร้อย, มีระเบียบ เช่น ทำงานเรียบร้อย, ประณีต เช่น เย็บผ้า ''เรียบร้อยเสร็จ; เช่น กินข้าวมาเรียบร้อยแล้ว; สงบราบคาบ เช่น สถานการณ์บ้านเมืองเรียบร้อย.
สยามานุสติ : [สะหฺยามมานุดสะติ, สะหฺยามานุดสะติ] น. การระลึกถึง ประเทศสยาม, ชื่อโคลง ๔ สุภาพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
อาขยาต : [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์ บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
กบาล : [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คําไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้ว นําไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้า ข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
กระเฉด : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Neptunia oleracea Lour. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำ ลําต้นอ่อนอุ้มน้ำ มีปลอกเป็นปุยขาว ๆ เป็นทุ่น เรียกว่า นม ใบย่อยเล็กเมื่อถูกสัมผัสก็หุบราบไป ดอกเหลืองเล็กออก ชิดกันเป็นก้อนกลม ลําต้นและใบใช้เป็นอาหารได้, คำสุภาพเรียกว่า ผักรู้นอน, พายัพ เรียก ผักหนอง.
กระบาล : [-บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบาน ศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).
กระผม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
กรุณา : [กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).
กะลา ๑ : น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคําไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สํา) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.
กัน ๑ : (ปาก) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อย ในทํานองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
กามโรค : น. โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกัน โดยใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น, เรียกเป็นสามัญว่า โรคบุรุษ หรือ โรคผู้หญิง.
เกล้ากระผม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมาก หรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
เกล้ากระหม่อม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
แก ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒; (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
โกหก : ก. จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง, พูดปด, พูดเท็จ, (มักใช้ในที่ไม่สุภาพ). (ป., ส. กุหก).
ขม้ำ : [ขะมํ่า] ก. เอาปากงับกินเร็ว ๆ (ใช้แก่สุนัขเป็นต้น ถ้าใช้แก่คน ถือว่าเป็นคําไม่สุภาพ).
ขยม : [ขะหฺยม] น. ขยุม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษ ที่ ๑. (ข. ขฺญุํ).
ขยุม ๑ : [ขะหฺยุม] น. ขยม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.