Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สุราเมรัย, เมรัย, สุรา , then มรย, เมรัย, สรา, สุร, สุรา, สุราเมรัย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สุราเมรัย, 49 found, display 1-49
  1. เมรย-, เมรัย : [เมระยะ-] น. นํ้าเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่, นํ้าเมาที่ไม่ได้กลั่น. (ป.).
  2. แก่ดีกรี : (ปาก) ว. ดื่มสุราหรือเมรัยมาก.
  3. จัณฑ-, จัณฑ์ : [จันทะ-, จัน] ว. ดุร้าย, หยาบช้า, เกรี้ยวกราด, ฉุน, ฉุนเฉียว; ราชาศัพท์. ใช้เรียกสุราหรือเมรัยว่า นํ้าจัณฑ์. (ป., ส.)
  4. น้ำเมา : น. นํ้าที่ดื่มแล้วทําให้มึนเมา ได้แก่สุราและเมรัยเป็นต้น.
  5. เบญจศีล : น. ศีล ๕ คือ ๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. งดเว้นจาก การลักทรัพย์ ๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. งดเว้น จากการพูดเท็จ ๕. งดเว้นจากการเสพสุราเมรัย, คู่กับ เบญจธรรม.
  6. ฟรีบาร์ : (ปาก) ว. เปิดบาร์ให้กินฟรีโดยไม่จํากัดในคําว่า เปิดฟรีบาร์ (มักใช้แก่การเลี้ยงสุราเมรัย).
  7. เอทิลแอลกอฮอล์ : น. แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C2H5OH ลักษณะเป็นของเหลว ใสไม่มีสี มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. จุดไฟติด ดื่มเข้าไปทําให้เกิดอาการ มึนเมา เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราเมรัยทุกประเภท ใช้ประโยชน์ เป็นตัวทําละลายเป็นเชื้อเพลิงและใช้สังเคราะห์สารเคมีอื่นได้มากมาย. (อ. ethyl alcohol).
  8. แอลกอฮอล์ : น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหย ง่าย มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกัน สั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภท แป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะ ออกฤทธิ์ทําให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย และ เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. (อ. alcohol, ethyl alcohol).
  9. พิษสุราเรื้อรัง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งสมองและประสาทเสื่อม เนื่องจากดื่มสุรามากเป็นเวลานาน มีอาการมือสั่น เดินเซ สติปัญญาเสื่อม บางครั้งชักแบบลมบ้าหมู.
  10. ร่ำสุรา : (ปาก) ก. ดื่มสุราแล้วดื่มสุราเล่า.
  11. มณฑ์ : น. ของมัน ๆ; นํ้าเมา, สุรา. (ป.; ส. มณฺฑา).
  12. มัณฑ- : น. มณฑ์, ของที่เป็นมัน; นํ้าเมา, สุรา. (ป.; ส. มณฺฑา).
  13. ยาเสพติด : น. ยาหรือสารเคมีซึ่งเมื่อเสพหรือฉีดเข้าสู่ร่างกายติดต่อกัน ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะติด ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง ทําให้ร่างกายและจิตใจ เสื่อมโทรม เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน ยานอนหลับ สุรา.
  14. สถานบริการ : (กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ ในการค้า ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและ ประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอสำหรับ ปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการ นวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง.
  15. กะแช่ : น. น้ำเมาชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเหนียวนึ่งหมักแช่กับแป้งเชื้อ แต่ยังมิได้กลั่นเป็นสุรา.
  16. คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
  17. จีนเต็ง : น. หัวหน้าคนงานที่เป็นชาวจีน (ใช้เฉพาะในสถานที่ทําการร่วม กันมาก ๆ เช่น บ่อนหรือโรงสุรายาฝิ่น). (จ.).
  18. น้ำอ้อย : น. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทําเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ, ถ้าทําเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสําหรับต้มกลั่นสุรา หรือใช้ผสมปูนสอสําหรับการก่อสร้าง.
  19. บรั่นดี : [บะหฺรั่น-] น. ชื่อสุราชนิดหนึ่งกลั่นจากเหล้าองุ่น. (อ. brandy).
  20. บาง ๑ : น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้าม กับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็ก เอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลําบากไม่ได้ เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
  21. บาน ๑, บาน- : [บาน, บานนะ-] น. นํ้าสําหรับดื่ม, เครื่องดื่ม เช่น สุราบาน ชัยบาน อัฐบาน. (ป., ส. ปาน).
  22. เบียร์ : น. นํ้าเมาอย่างหนึ่งเป็นชนิดเมรัย. (อ. beer).
  23. พาณินี : น. นางละคร, นางระบํา; หญิงเมาสุรา. (ส.).
  24. ภาษีสรรพสามิต : [–สับพะ–, –สันพะ–] (กฎ) น. ภาษีที่กรมสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนําเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่ กฎหมายกําหนด เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา. (อ. excise tax).
  25. วอดวาย : ก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น บ้านเรือนถูกไฟไหม้วอดวายแล้ว, วอด ก็ว่า; (วรรณ)ตาย เช่น ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กราย แกล้งเมินก็เกินไป. (นิ. ภูเขาทอง).
  26. ว่างเว้น : ก. งด, เว้น, เช่น ว่างเว้นจากการเสพสุรายาเมา เขาเคยมา เสมอ แต่หมู่นี้ว่างเว้นไป.
  27. วิรัติ : [รัด] ก. งดเว้น, เลิก. น. การงดเว้น, การเลิก, เช่น มังสวิรัติ สุราวิรัติ. (ป., ส. วิรติ).
  28. วิสกี้ : น. ชื่อสุราชนิดหนึ่งกลั่นจากเมล็ดธัญพืชบางชนิด. (อ. whisky).
  29. เหล้ายาปลาปิ้ง : น. สุราและกับแกล้ม.
  30. เหล้าโรง : น. เหล้าที่กลั่นจากโรงงานสุราโดยทั่วไปมักมีความเข้มข้นของ เอทิลแอลกอฮอล์ประมาณ ๒๘ ดีกรี หรือ ๔๐ ดีกรี, เหล้าขาว ก็เรียก.
  31. อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
  32. อาละวาด : ก. ทําเกะกะระราน, แสดงอาการดุร้าย เอะอะตึงตัง หรือคลุ้มคลั่ง, เช่น เมาสุราอาละวาด ช้างตกมันอาละวาด.
  33. ตรีสุรผล : น. ยามีผลกล้า ๓ อย่าง คือ สมุลแว้ง เนื้อไม้ เทพทาโร.
  34. ปฐมสุรทิน : [ปะถมมะสุระทิน] น. วันที่ ๑ แห่งเดือนทางสุริยคติ.
  35. ปัณรสมสุรทิน : น. วันที่ ๑๕.
  36. สร ๒ : [สอระ] ว. ทิพย์, แกล้วกล้า, เช่น สรศาสดา สรศักดิ์ สรสีห์. (ป., ส. สุร).
  37. ขัค ๒ : (แบบ) น. ขรรค์ เช่น สุรขัคอนันต์. (สมุทรโฆษ). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
  38. จตุตถ-, จตุตถี : [จะตุดถะ-, -ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.).
  39. จตุร- : [จะตุดถะ-, -ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.). [จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).
  40. จุทสะ : [จุดทะสะ] (แบบ) ว. สิบสี่. (ป. จุทฺทส; ส. จตุรทศ). จุทสมสุรทิน น. วันที่ ๑๔ ทางสุริยคติ.
  41. ฉพีสติม- : [ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่ง เดือนสุริยคติ). (ป.).
  42. ฉับฉ่ำ : (กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำ ที่ตำนานอนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).
  43. ทวาทศม- : [ทะวาทะสะมะ-] ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศมสุรทิน = วันที่ ๑๒. (ส.; ป. ทฺวาทสม).
  44. ทศม- : [ทะสะมะ-, ทดสะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมสุรทิน = วันที่ ๑๐. (ส.).
  45. ทุติย- : [ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).
  46. นวม ๒ : [นะวะมะ] (แบบ) ว. ที่ ๙ เช่น นวมสุรทิน = วันที่ ๙. (ป.).
  47. เบญจม- : [เบนจะมะ-] ว. ครบ ๕, ที่ ๕. (ป. ปญฺจม). เบญจมสุรทิน น. วันที่ ๕ แห่งเดือนสุริยคติ.
  48. วิจล : [วิจน] ว. อาการที่เคลื่อนไปมา, อาการที่หวั่นไหว, อาการที่ส่ายไปมา; วุ่นวาย, วุ่นใจ, เช่น ในสุรสถานดำหนักพน อย่ารู้วิจลสักอันเลย. (ม. คำหลวง จุลพน). (ส.).
  49. ศวศุระ : น. พ่อตา, พ่อผัว. (ส. ศฺวศุร; ป. สสฺสุร).
  50. [1-49]

(0.1163 sec)