Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สูตร , then สตร, สูตร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สูตร, 61 found, display 1-50
  1. มงคลสูตร : [มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.
  2. พรหมสูตร : น. ด้ายที่สวมสะพายแล่ง เป็นเครื่องหมายของ, พราหมณ์ สายธุรําของพราหมณ์. (ส.).
  3. ก๊าซไข่เน่า, แก๊สไข่เน่า : น. แก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า มีสูตร H2S เกิดขึ้นจากการเสื่อมสลายของสารอินทรีย์ที่ ประกอบด้วยกํามะถันในธรรมชาติมักมีปรากฏละลายอยู่ใน บ่อน้ำร้อนและในแหล่งน้ำแร่บางแห่ง. (อ. hydrogen sulphide).
  4. กำแสง : (โบ) ก. กันแสง เช่น กําแสงสมรมี กําเสาะจิตรจาบัลย์. (สูตรธนู).
  5. คลอโรฟอร์ม : [คฺลอ-] น. ของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นหอมหวาน มีสูตร CHCl3 ใช้เป็นยาสลบและตัวทําละลาย. (อ. chloroform).
  6. คาร์โบรันดัม : น. สารสีดําแข็งมาก ชื่อเคมีว่า ซิลิคอนคาร์ไบด์ มีสูตร SiC ใช้ประโยชน์ ทําหินสำหรับขัด ใช้ผสมกับคอนกรีตเพื่อทําขั้นบันไดตึก ใช้ทําวัสดุทนไฟ. (อ. carborundum).
  7. คำหลวง : น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง.
  8. โคเคน : น. สารอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H21O4N ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว มีปรากฏในใบของต้นโคคา (Erythroxylum coca Lam.) ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาเสพติด. (อ. cocaine).
  9. จาดตะกั่ว : น. สารประกอบชนิดหนึ่งของธาตุตะกั่ว เป็นสารสี สีขาว มีสูตร 2PbCO3•Pb(OH)2 ใช้เป็นองค์ประกอบของสีทาบางประเภท. (อ. white lead).
  10. จุนสี : [จุนนะสี] น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อ คิวปริกซัลเฟต (CuSO4) เมื่อ เป็นผลึก มีสูตร CuSO4•5H2O ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ใช้ประโยชน์ ในการชุบทองแดงด้วยไฟฟ้า ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าลูกนํ้า, คนทั่วไป เข้าใจว่าเกิดจากสนิมทองแดง.
  11. ซินนามิก : น. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C6H5CH : CHCOOH เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี ละลายนํ้าได้บ้างเล็กน้อย มีปรากฏใน ธรรมชาติทั้งในภาวะอิสระ และในภาวะรวมตัวเป็นสารประกอบ กับสารอื่น มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งหลอมละลายที่ ๔๒?ซ. อีกชนิดหนึ่ง หลอมละลายที่ ๑๓๓?ซ. โดยทั่วไปหมายถึงชนิดหลัง ใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม. (อ. cinnamic acid).
  12. แซ็กคาริน : (วิทยา) น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2•CONH ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐ เท่า ของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทน นํ้าตาลทรายสําหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก. (อ. saccharin).
  13. โซเดียมคาร์บอเนต : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง มีสูตร Na2CO3 เมื่อเป็นผลึกมีสูตร Na2CO3•10H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําแก้ว สบู่ กระดาษ ทําลายความกระด้างของนํ้า. (อ. sodium carbonate).
  14. โซเดียมซัลเฟต : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง มีสูตร Na2SO4 เมื่อเป็นผลึก มีสูตร Na2SO4•10H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ มีสมบัติ เป็นยาถ่าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําสบู่ ผงซักฟอก สีย้อม แก้ว กระดาษ. (อ. sodium sulphate).
  15. โซเดียมไซคลาเมต : น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H11NHSO3Na ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานกว่านํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่าสารนี้ก่อให้เกิด โรคมะเร็งได้. (อ. sodium cyclamate).
  16. โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร HOOC•(CH2)2•CH(NH2)COONa ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ ใช้ประโยชน์ชูรสอาหาร มักเรียกกันว่า ผงชูรส. (อ. sodium hydrogen glutamate).
  17. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHCO3 ลักษณะเป็นผงสีขาว ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําให้ขนมมีลักษณะฟูพรุน เช่น ขนมปัง ใช้เป็นองค์ประกอบเคมีในเครื่องดับเพลิง ทางแพทย์ใช้ เป็นตัวลดกรดในกระเพาะอาหาร. (อ. Sodium hydrogen carbonate).
  18. โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHSO4 ลักษณะเป็นของแข็ง ละลายนํ้าได้ใช้ประโยชน์เป็นสารทํา ความสะอาดแผ่นเหล็กก่อนที่จะฉาบด้วยดีบุก. (อ. sodium hydrogen sulphate).
  19. ด่างทับทิม : น. ของสิ่งหนึ่งเป็นเกล็ด สีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้าจะออกเป็นสี ทับทิม; (วิทยา) เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต มีสูตร KMnO4 เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึกสีม่วงแก่ ใช้ประโยชน์เป็น สารฆ่าเชื้อโรค ใช้ทํายาดับกลิ่น.
  20. ดีเกลือฝรั่ง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อแมกนีเซียมซัลเฟต มีสูตร MgSO4•7H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ มีสมบัติเป็นยาระบาย. (อ. epsom salts).
  21. ดีดีที : น. ชื่อสารประกอบเคมี มีชื่อเต็มว่า Dichloro Diphenyl Trichloroethane มีสูตร (C6H4Cl)2•CH•CCl3 ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ใช้ประโยชน์เป็น สารอย่างแรงในการฆ่าแมลง.
  22. ไดแซ็กคาไรด์ : (วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจําพวกนํ้าตาลที่ประกอบด้วย โมโนแซ็กคาไรด์ ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน มีสูตรโมเลกุล C12H22O11. (อ. disaccharide).
  23. ตรีปิฎก : น. พระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมี ๓ หมวดใหญ่ หมวดหนึ่ง เรียกว่า ปิฎกหนึ่ง คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมซึ่งโดยมากเรียกว่า ปรมัตถ์, ใช้ว่า ไตรปิฎก ก็ได้. (ส. ตฺริปิฏก; ป. ติปิฏก ว่า ตะกร้า ๓).
  24. ตะกั่วแดง : น. สารประกอบประเภทออกไซด์ของตะกั่ว มีสูตร Pb3O4 ลักษณะ เป็นผงละเอียดสีแดงเข้ม ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําสีทา และทําแก้ว, เสน ก็เรียก. (อ. red lead, minium).
  25. ทีฆนิกาย : น. ชื่อคัมภีร์นิกายแรกแห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดยาว รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ในหมวดนี้.
  26. ทีเอ็นที : น. สารประกอบอินทรีย์ ชื่อเต็มคือ ไทรไนโทรโทลูอีน (trinitrotoluene) มีสูตร C7H5(NO2)3 ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกสีเหลืองอ่อน หลอมละลายที่ ๘๒?ซ. เป็นวัตถุ ระเบิดชนิดร้ายแรง. (อ. TNT).
  27. ธรรมจักร : น. ชื่อปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; แดนธรรม; เครื่องหมายทาง พระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง. (ส.).
  28. นักธรรม : น. ผู้รู้ธรรม, ผู้สอบความรู้ธรรมได้ตามหลักสูตรที่กําหนดไว้ มี ๓ ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก; ฤษี.
  29. นิโคติน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C10H14N2 ลักษณะเป็นของเหลวข้น มีขีดเดือด ๒๔๗?ซ. เป็นพิษอย่างแรง มีปรากฏอยู่ในใบยาสูบ. (อ. nicotine).
  30. นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
  31. เนติบัณฑิต : น. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชากฎหมายของโรงเรียน กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม, ผู้สอบได้ตามหลักสูตรของสํานักศึกษา อบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา.
  32. ปฐมเทศนา : [ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถม เทดสะหฺนา] น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมาย สําคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทํานิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทํา ท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง.
  33. ผงชูรส : น. เกลือกรดชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต หรือโมโนโซเดียมกลูทาเมต มีสูตร HOOC(CH2)2CH(NH2) COONa ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ในการปรุงแต่งรสอาหาร.
  34. ผงฟู : น. สารผสมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเปียกนํ้าหรือทําให้ร้อนจะให้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา มีองค์ประกอบที่สําคัญ คือ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต มีสูตร NaHCO3 ปนแป้ง ผสม คลุกเคล้ากับสารอื่นซึ่งมักเป็นกรดทาร์ทาริก มีสูตร HOOC CHOHCHOHCOOH หรือโพแทสเซียมไฮโดรเจนทาร์เทรต มีสูตร KHC4H4O6 หรือแคลเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต มีสูตร Ca(H2PO4)2 หรือสารส้มใช้ประโยชน์ทําให้ขนมปังและขนม บางประเภทมีเนื้อฟูพรุน.
  35. พาราฟิน : (เคมี) น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่งซึ่งมีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 1, 2, 3, … ในปัจจุบันเรียกสารประกอบประเภทนี้ว่า อัลเคน (alkane). (อ. paraffin); ชื่อนํ้ามันประเภทหนึ่ง ซึ่งมีขีดเดือดอยู่ ระหว่าง ๒๐๐?๓๐๐?ซ. เป็นสารผสมของสารประกอบอินทรีย์ซึ่ง มีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 1216 ได้มาจากการนํานํ้ามันปิโตรเลียม มากลั่น ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงได้, นํ้ามันก๊าด ก็เรียก. (อ. paraffin oil); ชื่อของแข็งประเภทหนึ่ง ลักษณะสีขาวโปร่งแสง หลอมละลาย ระหว่าง ๕๐?๖๐?ซ. เป็นสารผสมของสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 2030 ใช้ประโยชน์ทําเทียนไข กระดาษไข ยาขัด เป็นต้น. (อ. paraffin wax).
  36. พิธีธรรม : น. พระสงฆ์จํานวน ๔ รูปที่ได้รับสมมุติให้สวดภาณวาร หรือสวดอาฏานาฏิยสูตร ในงานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ หรือ สวดอภิธรรมในการศพของหลวง เรียกว่า พระพิธีธรรม.
  37. ฟอร์มาลดีไฮด์ : น. แก๊สชนิดหนึ่ง มีสูตร HCHO มีกลิ่นฉุนระคายเยื่อจมูกและ เยื่อตา ละลายนํ้าได้ใช้ประโยชน์นําไปทําฟอร์มาลิน พลาสติก สี เป็นต้น. (อ. formaldehyde).
  38. มอร์ฟีน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H19O3N ลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๒๕๔ ? ซ. มีในฝิ่น เป็น ยาเสพติดอย่างแรง ทางแพทย์ใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์หรือเกลือ แอซีเทต หรือเกลือซัลเฟตของมอร์ฟีนเป็นยาระงับความปวด. (อ. morphine).
  39. มัชฌิมนิกาย : น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดปานกลาง รวบรวมพระสูตรขนาดปานกลางไว้ในหมวดนี้. (ป.).
  40. มัสตาร์ด ๒ : น. สารพิษร้ายแรงชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า ไดคลอโรไดเอทิลซัลไฟด์ (dichloro diethylsulphide) มีสูตร (CH2CH2Cl)2 S ลักษณะเป็นของเหลว คล้ายนํ้ามัน เคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และเรียกกันว่า แก๊สมัสตาร์ด.
  41. มีเทน : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไวไฟ มีสูตร CH4 มีปรากฏในที่ซึ่งมีสารอินทรีย์ผุพังเน่าเปื่อย ในบ่อถ่านหิน ในแก๊สธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง และใช้ในอุตสาหกรรมสังเคราะห์โปรตีนเป็นต้น. (อ. methane).
  42. เมทิลแอลกอฮอล์ : น. แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง มีสูตร CH3OH ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีขีดเดือด ๖๔.๖?ซ. จุดไฟติด เป็นพิษ เมื่อดื่มเข้าไปจะทําให้ตาบอดได้ ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย เชื้อเพลิง และใช้สังเคราะห์สารเคมีบางอย่าง เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์, เมทานอล ก็เรียก. (อ. methyl alcohol).
  43. เมนทอล : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C10H20O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๔๒?ซ. มีกลิ่นหอมเย็น มีอยู่ในนํ้ามันหอมระเหยที่ได้จาก พืชบางชนิด เช่น นํ้ามันมินต์ซึ่งสกัดจากใบมินต์ ใช้ประโยชน์ในทางยา ปรุงกลิ่นและปรุงรส. (อ. menthol).
  44. โมโนแซ็กคาไรด์ : (วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจําพวกนํ้าตาล ส่วนมากเป็นพวกที่มี สูตรโมเลกุล C6H12O6 (hexoses)หรือ C5H10O5 (pentoses), มอโนแซ็กคาไรด์ ก็ว่า. (อ. monosaccharide).
  45. ไมกา : น. แร่ประเภทซิลิเกต มีหลายชนิด ชนิดที่สําคัญที่สุด ได้แก่ แร่มัสโคไวต์ มีสูตร KAl3Si3O10(OH)2 และแร่โฟลโกไพต์ มีสูตร KMg3AlSi3O10(OH)2 ลักษณะผิวเป็นมันวาว ลอกออกได้เป็นแผ่นบางโปร่งแสง ทนความร้อนได้ดี ใช้ประโยชน์เป็นฉนวนความร้อนทําอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นต้น, แร่กลีบหิน ก็เรียก. (อ. mica).
  46. ยิปซัม : น. แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อไฮเดรเตดแคลเซียมซัลเฟต (hydrated calcium sulphate) มีสูตร CaSO4?2H2O เมื่อนํามาเผาให้ร้อนถึง ๑๒๐?๑๓๐?ซ. จะได้ผงสีขาว เรียกว่า ปูนปลาสเตอร์, หินฟองเต้าหู้ หรือ เกลือจืด ก็เรียก. (อ. gypsum).
  47. ยูริก : น. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C5H4N4O3 ลักษณะเป็นของแข็ง ไม่มีสี ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีปรากฏอยู่เป็นจํานวนน้อยในปัสสาวะและใน โลหิต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกาต์ คือมีอาการบวมปวดบริเวณข้อกระดูก จะ ปรากฏมีเกลือโซเดียมและโพแทสเซียมของกรดนี้เกาะอยู่ที่ข้อกระดูก นั้น ๆ เรียกว่า กรดยูริก.
  48. เลป–, เลปน์ : [เลปะ–, เลบ] น. การไล้, การทา, เครื่องลูบไล้ เช่น เฉวียงสายพรรณ รายสูตรวิภุสนพัตรมาลัยเลปน์กามา ตระศัก. (เสือโค). (ป., ส.).
  49. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  50. สดมภ์ : [สะดม] น. เสา, หลัก; (คณิต) ช่องในแนวตั้งสําหรับกรอกรายการ ต่าง ๆ เช่น ตัวเลข สัญลักษณ์สูตร. (ส. สฺตมฺภ; ป. ถมฺภ).
  51. [1-50] | 51-61

(0.0626 sec)