ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
หนึ่ง : น. ตัวเลขตัวแรกของจำนวนนับ; จำนวนเดียว, คนเดียว, สิ่งเดียว, เช่น หนึ่งในดวงใจ. ว. เดี่ยว; เป็นเอก, เป็นเลิศ, เช่น เพื่อน ๆ ยกให้เขาเป็น หนึ่งในรุ่น.
ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
ขันธ์ : น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยก ออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕. (ป.; ส. สกนฺธ).
ตอน : น. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น แม่นํ้า สายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือเล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศ ไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดิน พอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้วตัดกิ่งออก จากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือทําลายอวัยวะซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.
ผืน : น. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนเป็นแผ่นอย่างผ้า หนังหรือเสื่อ เป็นต้น มีขนาดเต็มตามกําหนดและอาจม้วนหรือพับได้เช่นผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสื่อ พรม และหนัง ว่า ผืนผ้า ผืนหนังเป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น ผ้า ๓ ผืน เสื่อ ๒ ผืน; ''เรียกแผ่นดินทั้งหมดหรือส่วนใด ส่วนหนึ่ง เช่น ผืนแผ่นดิน แผ่นดินผืนนี้ ที่ดินผืนนั้น.
พวน ๓ : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาว ส่วนหนึ่ง ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย.
อรรธ, อรรธ : [อัด, อัดทะ] น. ครึ่งหนึ่ง, ซีก, ส่วนหนึ่ง. (ส. อรฺธ; ป. อฑฺฒ, อทฺธ).
กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
แขวง : [แขฺวง] น. เขต, แดน, ส่วน, ฝ่าย, อาณาบริเวณที่กําหนดไว้เพื่อสะดวก ในการปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ซีก : น. ส่วนที่ผ่าครึ่ง, ส่วนของสิ่งบางอย่างเช่นไม้ไผ่หรือแตงโมที่ผ่าออก โดยปรกติตามยาว, โดยปริยายหมายความว่า ด้าน, ส่วน, เช่น ร่างกาย ตายไปซีกหนึ่ง ปลาทูซีกนี้; ลักษณนามเรียกส่วนที่แยกออกนั้น เช่น มะม่วงซีกหนึ่ง แตงโม ๒ ซีก; ใช้สําหรับมาตราเงินโบราณเท่ากับ (เศษ ๑ ส่วน ๒) ของเฟื้อง.
หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
ตัน ๒ : น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่ง เท่ากับ นํ้าหนัก ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๖ (เศษ ๒ ส่วน ๓) หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒. ตันระวางเรือ ถ้าคํานวณระวางบรรทุกสินค้า และห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคํานวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคํานวณนํ้าหนักทั้ง ลําเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตัน ระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑,๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์ เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง. (อ. ton).
ท่อน : น. ส่วนที่ตัดหรือทอนออกเป็นตอน ๆ เช่น ท่อนหัว ท่อนกลาง ท่อนหาง, ตอนหนึ่ง ๆ ของเพลงไทย เช่น ท่อน ๑ ท่อน ๒ ท่อน ๓; ลักษณนามเรียกสิ่งที่ตัดแบ่งหรือทอนออกเป็นท่อน ๆ เช่น ฟืนท่อน หนึ่ง ฟืน ๒ ท่อน เพลง ๓ ท่อน.
ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย : (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและ ชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบ สีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ''ธงไตรรงค์''.
ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว ของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายใน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพาน แว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม.
ปฐมเทศนา : [ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถม เทดสะหฺนา] น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมาย สําคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทํานิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทํา ท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง.
แมง : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกายแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกันส่วนหนึ่ง และส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง มีขา ๘ หรือ ๑๐ ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง มักเรียกสับกับคําว่า แมลง.
โม่ : น. เครื่องบดชนิดหนึ่งทําด้วยหิน รูปร่างคล้ายสีสีข้าว มี ๒ ส่วน ส่วนบนซึ่งเรียกว่า ลูกโม่นั้น มีมือถือสำหรับหมุน และมีรูสำหรับกรอกเมล็ดพืช เมื่อหมุนลูกโม่จะบด เมล็ดพืชให้ละเอียดและไหลลงสู่ส่วนล่างซึ่งมีลักษณะเป็นรางสำหรับรองรับอยู่เกือบ รอบลูกโม่ ด้านหนึ่งของส่วนล่างมีช่องเปิดให้สิ่งที่โม่แล้วไหลลงสู่ภาชนะ ที่รองรับได้. ก. บดให้ละเอียดด้วยโม่.
วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
...ใด...หนึ่ง : ว. ใครก็ได้, อะไรก็ได้, เช่น คนใดคนหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
ส่วนรวม : น. หมู่คณะ เช่น เห็นแก่ส่วนรวม ทำเพื่อส่วนรวม, ส่วน ที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำส่วนรวม ของใช้ส่วนรวม.
ผู้เป็นหุ้นส่วน : (กฎ) น. บุคคลซึ่งนําสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงหุ้นด้วย ในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นํามาลงหุ้นด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สิน สิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้, (ปาก) หุ้นส่วน.
ส่วนแบ่ง : น. ส่วนย่อยที่แยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น เขาได้ส่วนแบ่ง มรดก ๓ ใน ๑๐ ส่วน.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน ๒ จําพวก คือ (๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งจํากัดความรับผิด เพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น และ (๒) ผู้เป็น หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้าง หุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัดจํานวน ห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้นกฎหมายบังคับว่าต้อง จดทะเบียน.
ห้างหุ้นส่วนสามัญ : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว จึงจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้าง หุ้นส่วนนั้น.
ส่วนกลาง : น. ส่วนเมืองหลวง, ศูนย์กลาง.
ส่วนเกิน : น. ส่วนที่นอกเหนือไปจากที่กำหนด เช่น ได้รับบัตรเชิญ ไปงาน ๒ คน แต่ไป ๓ คน คนที่ ๓ เป็นส่วนเกิน.
ส่วนควบ : (กฎ) น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดย จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป.
ส่วนได้ส่วนเสีย : น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียด้วย.
ส่วนตัว : ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว. ส่วนท้องถิ่น น. เขตเทศบาล.
ส่วนบุญ : น. ส่วนที่เป็นบุญกุศล เช่น แผ่ส่วนบุญ เปรตขอส่วนบุญ.
ส่วนประกอบ : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่ง ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, องค์ประกอบ ก็เรียก.
ส่วนผสม : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ผสมกันให้เกิดเป็นสิ่งรวม เช่น ส่วนผสม ของอาหาร ส่วนผสมของยา ส่วนผสมของปูนซีเมนต์.
ส่วนพระองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่เจ้านายตั้งแต่พระองค์เจ้า ขึ้นไป) เช่น หนังสือส่วนพระองค์.
ส่วนภูมิภาค : น. ส่วนหัวเมือง.
ส่วนร่วม : น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วม ในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุน บริษัท.
ส่วนหน้า : น. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการ ที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาใน การปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหาร สูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. ส่วนหลัง น. เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลัง บํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง.
ส่วนองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์.
หนึ่งไม่มีสอง : ว. เป็นเลิศอยู่คนเดียว.
ดา ๑ : น. ชื่อแมลงพวกมวน มีหลายสกุล, ชนิดที่ตัวกว้าง รูปไข่ แบน เมื่อพับปีก ปีกจะแนบไปกับสันหลัง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖.๒-๘.๒ เซนติเมตร ส่วนท้องกว้าง ๒.๖-๒.๘ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแก่หรือนํ้าตาลอมเขียว ด้าน หลังของส่วนอกตอนต้นมีลายเป็นแถบ ๕ แถบ คือ แมลงดา หรือ แมลงดานา (Lethocerus indicus) ใช้ตํากับนํ้าพริก กินได้; อีกสกุลหนึ่ง คือ แมลงดาสวน หรือ แมลงสีเสียด (Sphaerodema rusticum และ S. molestum) รูปร่างคล้าย แมลงดานามาก แต่เล็กกว่า ขนาดยาว ๑.๓-๑.๗ เซนติเมตร กว้าง ๐.๙ เซนติเมตร นํามาคั่วกับเกลือ กินได้; และยังมีสกุล Laccotrephes ได้แก่ชนิด L. ruber และ L. robustus ซึ่งมีลําตัวยาว ๓-๔.๔ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลอมแดง มีหางยาว ๒ อัน ยาว ๑.๒-๑.๓ เซนติเมตร, สกุลนี้ แมลงดาโป้งเป้ง ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว ก็เรียก.
เอี่ยว : ว. หนึ่ง, แต้ม ๑ ของลูกเต๋า, เรียกลําดับชุดที่ ๑ ของไพ่ตองว่า เอี่ยว เช่น เอี่ยวเกือก เอี่ยวชี เอี่ยวยาว. (ปาก) น. หุ้น, ส่วนร่วม. ก. มี ส่วนร่วม เช่น เรื่องนี้ขอเอี่ยวด้วยคน.
กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
กงสี : น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสําหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท. (จ. กงซี ว่า บริษัททําการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
กบฏ : [กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การ ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้าย ต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิด อาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน ราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้ กําลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรืออํานาจ ตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอํานาจ ปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
กรด ๑ : [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือ ทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลาย น้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสี น้ำเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้ แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่ง มาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
กรรตุการก : [กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสําคัญ ส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของ ประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ตํารวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).
กรรมการก : [กํามะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทํา เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่ง ใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทําเด่น ก็เรียงเป็นภาค ประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตํารวจยิง.