ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
เว้า ๒ : ว. มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งหรือบุ๋มเข้าไป เช่น เสื้อแขนเว้า.
เว้า ๑ :
ส่วนรวม : น. หมู่คณะ เช่น เห็นแก่ส่วนรวม ทำเพื่อส่วนรวม, ส่วน ที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำส่วนรวม ของใช้ส่วนรวม.
ส่วนแบ่ง : น. ส่วนย่อยที่แยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น เขาได้ส่วนแบ่ง มรดก ๓ ใน ๑๐ ส่วน.
ส่วนกลาง : น. ส่วนเมืองหลวง, ศูนย์กลาง.
ส่วนเกิน : น. ส่วนที่นอกเหนือไปจากที่กำหนด เช่น ได้รับบัตรเชิญ ไปงาน ๒ คน แต่ไป ๓ คน คนที่ ๓ เป็นส่วนเกิน.
ส่วนควบ : (กฎ) น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดย จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป.
ส่วนได้ส่วนเสีย : น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียด้วย.
ส่วนตัว : ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว. ส่วนท้องถิ่น น. เขตเทศบาล.
ส่วนบุญ : น. ส่วนที่เป็นบุญกุศล เช่น แผ่ส่วนบุญ เปรตขอส่วนบุญ.
ส่วนประกอบ : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่ง ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, องค์ประกอบ ก็เรียก.
ส่วนผสม : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ผสมกันให้เกิดเป็นสิ่งรวม เช่น ส่วนผสม ของอาหาร ส่วนผสมของยา ส่วนผสมของปูนซีเมนต์.
ส่วนพระองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่เจ้านายตั้งแต่พระองค์เจ้า ขึ้นไป) เช่น หนังสือส่วนพระองค์.
ส่วนภูมิภาค : น. ส่วนหัวเมือง.
ส่วนร่วม : น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วม ในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุน บริษัท.
ส่วนหน้า : น. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการ ที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาใน การปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหาร สูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. ส่วนหลัง น. เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลัง บํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง.
ส่วนองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์.
เว้าวอน : ก. วิงวอนออดอ้อน.
กระชับ ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xanthium strumarium L. ในวงศ์ Compositae มักขึ้นเป็นวัชพืชในทุ่งนาและริมน้ำ ลําต้นและใบคาย ใบมนเว้า ขอบจักโคนใบแหลม ดอกเล็กรวมเป็นกระจุก ผลรี ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีหนามปลายงอทั่วทั้งผล รากหอมอ่อน ๆ ใช้อบผ้าได้ บางส่วนของไม้นี้ใช้เป็นยาได้ แต่ทั้งต้นเป็นพิษต่อปศุสัตว์, ขี้ครอก หรือ ขี้อ้น ก็เรียก.
คุ้ง : น. ส่วนเว้าโค้งเข้าไปของฝั่งนํ้าด้านที่ตรงกันข้ามกับหัวแหลม. (โบ) ว. ยาว, อ้อม, นาน, ตลอดไป, คุง ก็ว่า. (โบ) สัน. ตราบเท่า, คุง คุ้ม หรือ คุ้มเท้า ก็ว่า.
จะละเม็ด ๑ : น. ชื่อปลาทะเลในวงศ์ Stromateidae รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลําตัวแบน ข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ได้แก่ จะละเม็ดขาว (Pampus argenteus) หางเป็นแฉกยาว เว้าลึก จะละเม็ดเทา (P. chinensis) หางเว้าตื้น ทั้ง ๒ ชนิดนี้ไม่มีครีบท้อง ส่วนจะละเม็ดดํา (Parastromateus niger) ที่บริเวณคอดหางเป็นสันคม และมีครีบท้อง เฉพาะในปลาขนาดเล็ก.
ชายผ้าสีดา : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Platycerium วงศ์ Polypodiaceae เหง้าใหญ่สั้น ใบมี ๒ แบบ ใบที่ทาบกับ ต้นไม้เป็นใบไม่สร้างอับสปอร์แผ่นใบตั้ง ไม่มีก้านใบ ติดอยู่กับต้นตลอดไป ส่วนใบสร้างอับสปอร์แผ่นใบ ตั้งขึ้นหรือห้อยลง ขอบหยักเว้า ใบจะร่วงไปตามอายุ.
อ่าว : น. ส่วนของมหาสมุทร ทะเล หรือทะเลสาบ ที่ลํ้าเข้าไปในฝั่งหรือ ในแผ่นดิน มีลักษณะเว้าโค้งและเปิดกว้าง ทำให้มีแนวของ ชายฝั่งทะเลยาว.
กระแบ่ : (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
กระแบะ ๑ : น. แผ่น, ชิ้น, ส่วน, กระแบ่ ก็ว่า.
กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
ขัณฑ- : [ขันทะ-] น. ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น. (ป., ส. ขณฺฑ).
แขวง : [แขฺวง] น. เขต, แดน, ส่วน, ฝ่าย, อาณาบริเวณที่กําหนดไว้เพื่อสะดวก ในการปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ซีก : น. ส่วนที่ผ่าครึ่ง, ส่วนของสิ่งบางอย่างเช่นไม้ไผ่หรือแตงโมที่ผ่าออก โดยปรกติตามยาว, โดยปริยายหมายความว่า ด้าน, ส่วน, เช่น ร่างกาย ตายไปซีกหนึ่ง ปลาทูซีกนี้; ลักษณนามเรียกส่วนที่แยกออกนั้น เช่น มะม่วงซีกหนึ่ง แตงโม ๒ ซีก; ใช้สําหรับมาตราเงินโบราณเท่ากับ (เศษ ๑ ส่วน ๒) ของเฟื้อง.
ด้าน ๑ : น. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.
ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
เภท : น. การแบ่ง, การแตกแยก, การทำลาย, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส, เช่น สามัคคีเภท สังฆเภท; ส่วน, ภาค; ความแตกต่าง, ความแปลก; ชนิด, อย่าง. ก. แตก, หัก, ทําลาย, พัง. (ป., ส.).
วิภาค : น. การแบ่ง, การจําแนก; ส่วน, ตอน. (ป., ส.).
อวยวะ, อวัยวะ : [อะวะยะวะ, อะไวยะวะ] น. ชิ้น, ส่วน, ส่วนของร่างกาย, ใน บทกลอนใช้ว่า อพยพ ก็มี. (ป., ส. อวยว).
อังส, อังสะ : [อังสะ] น. เรียกผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ห้อยเฉวียงบ่าว่า ผ้าอังสะ; ส่วน, ภาค; ส่วนของมุม. (ป. อํส).
กระฉอก : ก. อาการที่ของเหลวเช่นน้ำเป็นต้นในภาชนะกระเพื่อมอย่างแรง เพราะความสั่นสะเทือน. ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม), ฉอก ก็เรียก.
กัลเว้า : [กันเว้า] ว. พูดอ่อนหวาน, พูดเอาใจ, เช่น ก็มีพระราชโองการอนนกัลเว้า. (ม. คําหลวง มหาราช).
ฉอก : ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม) ในคําว่า ผมฉอก, กระฉอก ก็ใช้.
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : (กฎ) น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน.
แบ่งสันปันส่วน : ก. แบ่งให้ตามสัดตามส่วนที่ควรจะได้.
ปันส่วน : ก. แบ่งเฉลี่ยตามส่วน. ว. ที่แบ่งเฉลี่ยตามส่วน เช่น ข้าวปันส่วน.
เป็นสัดเป็นส่วน : ก. แยกไว้เฉพาะเป็นหมู่เป็นพวก เช่น ของทำบุญ จัดให้เป็นสัดเป็นส่วน.
ผู้เป็นหุ้นส่วน : (กฎ) น. บุคคลซึ่งนําสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงหุ้นด้วย ในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นํามาลงหุ้นด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สิน สิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้, (ปาก) หุ้นส่วน.
ย่อส่วน : ก. จำลองแบบให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วน เช่น จงย่อส่วนแผนที่นี้. น. แบบที่จำลองให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่า ต้นแบบตามส่วนอย่างหุ่นจำลอง เช่น นี่เป็นย่อส่วนของแผนที่ฉบับนั้น.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน ๒ จําพวก คือ (๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งจํากัดความรับผิด เพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น และ (๒) ผู้เป็น หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้าง หุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัดจํานวน ห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้นกฎหมายบังคับว่าต้อง จดทะเบียน.
ห้างหุ้นส่วนสามัญ : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว จึงจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้าง หุ้นส่วนนั้น.
หุ้นส่วน : น. ทุนที่เข้ากันเพื่อทําการต่าง ๆ เช่น ค้าขายเป็นต้น; (ปาก) ผู้เป็น หุ้นส่วน.
ได้ส่วน, ได้ส่วนสัด : ก. ได้ขนาดที่พอเหมาะพอดี.
ถูกส่วน : ว. ได้สัดส่วน, สมส่วน.