ส่อง : ก. ฉายแสง เช่น แดดส่อง ไฟส่อง ส่องไฟ แสงจันทร์ส่อง ตะวันส่อง หน้า, ฉายแสงดู เช่น ส่องสัตว์ในป่า ส่องทาง ส่องกบ, เพ่งมอง เช่น ส่องกล้อง, เล็ง เช่น ส่องปืน(ปาก) ยิง เช่น ถูกส่องด้วยปืนลูกซอง.
ส่องกระจก : ก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง.
กล้องส่องทางไกล : น. กล้องโทรทรรศน์, กล้องสําหรับส่องดูของไกลให้เห็นใกล้.
แว่นส่องหน้า : น. สิ่งที่ทำด้วยโลหะขัดจนเป็นเงา ใช้ส่องหน้าใน สมัยก่อนที่จะมีกระจกเงา.
สอดส่อง : ก. ตรวจดูทั่ว ๆ ไป, เอาใจใส่ดูแล, เช่น รัฐบาลที่ดีจะต้อง สอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร.
เถรส่องบาตร : (สํา) น. คนที่ทําอะไรตามเขาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว.
สอง : น. จํานวนหนึ่งบวกหนึ่ง; เดือน ๒ ทางจันทรคติ เรียกว่า เดือนยี่ ตกในราวเดือนมกราคม.
จำหาย ๒ : ก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉาย).
ฉ่อง : ว. ข้างล่างแคบข้างบนกว้าง คือ ตีนสอบ เช่นพูดว่า เรือนหลังนี้ตีนมัน ฉ่องเข้าไปนัก. (ดิกชนารีไทย). ก. กระจ่าง เช่น ฉ่องพระโฉม; ส่อง. เช่น คันฉ่อง
กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
กล้อง ๑ : [กฺล้อง] น. วัตถุลักษณะยาวกลวงตลอด, เรียกของใช้บางอย่างที่มี ลักษณะเช่นนั้น เช่น กล้องเป่าแล่น กล้องส่อง; เครื่องที่มีรูปร่างต่าง ๆ ประกอบด้วยเลนส์สําหรับถ่ายภาพหรือขยายภาพ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องจุลทรรศน์; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) หลอด เช่น กล้องเกียง ว่า หลอดตะเกียง.
กล้องโทรทรรศน์ : น. กล้องสำหรับดูของไกลให้เห็นใกล้, กล้องส่องทางไกล ก็ว่า. (อ. telescope).
กล้องระดับ : น. กล้องสํารวจชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องวัดระดับชนิด ฟองน้ำที่ใช้ประกอบกับกล้องส่องเพื่อใช้หาระดับสูงต่ำของพื้นที่.
กล้องสนาม : น. กล้องส่องทางไกล มี ๒ ตา.
กล้องสลัด : น. กล้องที่ใช้ใส่อาวุธซัดไป. (พิชัยสงคราม); กล้องส่องทางไกล มีตาเดียว.
กะรุน : น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมีสิ่งอื่นผสมอยู่ทําให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม ถ้าเป็นสีน้ำเงิน เรียกว่า พลอยสีน้ำเงิน ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่อง หรือ เขียวมรกต, อินเดีย เรียก คอรุน. (อ. corundum).
ไขแสง : ก. เริ่มส่องแสง เช่น พระอาทิตย์ไขแสง.
คันฉ่อง : น. เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับ ส่องหน้า; ปัจจุบันเรียกกระจกเงามีกรอบ ๒ ชั้น สําหรับเอนเข้าออกได้ ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง.
คันฉาย ๑ : น. เครื่องส่องหน้า, กระจกเงา.
แครง ๔ : [แคฺรง] ว. ตกแต่ง เช่น ธก็ผลัดแผลงแครงเครื่องอันบริสุทธิ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทําด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจํารัสแครง ใสส่อง. (ทวาทศมาส). น. ผ้า เช่น นางก็ทรงพัสตราภรณ์ พาดแครง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (เทียบ อีสาน แครง ว่า ผ้า, ผ้าพันคอชนิดผืนยาว).
จำหัน ๒ : ว. ฉัน, มีแสงกล้า; เฉกเช่น, ดังเช่น; โบราณเขียนเป็น จำหนน ก็มี เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉัน).
ฉาย ๑ : น. เงา, ที่ร่ม; ราชาศัพท์เรียกกระจกส่องหน้าว่า พระฉาย. (ป., ส. ฉายา).
ฉาย ๒ : ก. ส่องแสงออกไป; (ปาก) กรายให้เห็น เช่น หล่อนฉายไปฉายมาทั้งวัน.
โชดก : น. ผู้รุ่งเรือง, ผู้สว่างไสว, ผู้ส่อง. (ป. โชตก).
โชตกะ : [โชตะกะ] น. ผู้รุ่งเรือง, ผู้สว่างไสว, ผู้ส่อง. (ป.).
เดือนมืด : น. เรียกคืนที่ไม่มีดวงจันทร์ส่องแสงว่า คืนเดือนมืด.
เดือนหงาย : น. เรียกคืนที่มีดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.
ตะลุง ๑ : น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).
ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
ทรรปณ์, ทรรปณะ : [ทับ, ทับปะนะ] (แบบ) น. แว่นส่องหน้า, ทัปนะ ก็ใช้. (ส. ทรฺปณ; ป. ทปฺปน).
ทัปนะ : [ทับปะนะ] (แบบ) น. แว่นส่องหน้า, ทรรปณ์ หรือ ทรรปณะ ก็ใช้. (ป. ทปฺปน; ส. ทรฺปณ).
โทรทรรศน์ : น. กล้องส่องดูสิ่งที่อยู่ไกลให้เห็นใกล้ เรียกว่า กล้องโทรทรรศน์, กล้องส่องทางไกล ก็เรียก. (อ. telescope).
บริราช : [บอริราด] ก. ส่องแสงทุกด้าน, ฉายรัศมีโดยรอบ. (ส. ปริราช).
บังเงา : ว. เรียกหญิงหากินที่ในเวลากลางคืนมักยืนแอบอยู่ตามเงามืด ที่แสงไฟส่องไปไม่ถึงว่า นางบังเงา.
บังเพลิง : น. เครื่องส่องแสงไฟที่มีกําบังไม่ให้เห็นผู้ส่อง.
เพลิงฟ้า : น.ไฟที่ใช้แว่นส่องจุดด้วยแสงแดด.
ยกกระบัตร : (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียน เป็น ยุกกระบัตร ก็มี.
แยงตา : ก. อาการที่แสงส่องสวนตรงมายังนัยน์ตา เช่น แสงอาทิตย์แยงตา.
ร่ม : น. บริเวณที่แดดส่องไม่ถึง เช่น ร่มไม้; สิ่งที่ใช้สำหรับกางกันแดด กันฝน มีด้ามสำหรับถือโดยปริยายหมายถึง ที่พึ่ง, ที่คุ้มครอง, เช่น ใต้ร่มพระบรม โพธิสมภาร ใต้ร่มกาสาวพัสตร์. ว. ซึ่งมีอะไรบังแดด เช่น ถนนสายนี้ร่ม ตลอดวัน.
ระยับ : ว. พราวแพรว, วับวาบ, (ใช้แก่แสงหรือรัศมี) เช่น ผ้ามันระยับ, นิยมใช้ เข้าคู่กับคำ ระยิบ เป็น ระยิบระยับ เช่น ดาวส่องแสงระยิบระยับ.
ลายน้ำ : น. ลวดลายหรือภาพในเนื้อกระดาษที่ทําขึ้นพร้อม ๆ กับ กระดาษจะมองเห็นได้ชัดเมื่อยกกระดาษนั้นขึ้นส่องกับแสงสว่าง.
วิภาส : ก. ส่องสว่าง, มีแสงสว่าง. (ส. วิภาสา ว่า แสง).
แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
แว่นแก้ว : น. แผ่นแก้วกระจกใช้ส่องขยายให้เห็นชัด.
แว่นขยาย : น. เลนส์นูนที่มีระยะโฟกัสสั้น ใช้สําหรับส่องดูให้เห็น เป็นภาพขยาย.
ศุภร : [สุบพฺระ] ว. ส่องแสง, สว่าง; งาม, สดใส; ขาว, ผ่อง; บริสุทธิ์ ไม่มีตําหนิ เช่น ศุภรทนต์ คือฟันงาม. (ส. ศุภฺร).
สาด ๒ : ก. ซัดไป เช่น สาดน้ำ สาดโคลน สาดทราย, วักน้ำหรือตักน้ำซัดออกไป โดยแรง เช่นสาดน้ำรดแปลงผัก, ซัดหรือกระเซ็นเข้ามา เช่น ฝนสาด, ซัด หรือยิงอาวุธหรือกระสุนปืนทีละมาก ๆ เช่น สาดอาวุธเข้าหากัน สาดกระสุนเข้าใส่กัน; ส่องแสงเข้ามา เช่น ดวงจันทร์สาดแสง ห้องนี้ แดดสาดทั้งวัน, กระจาย เช่น ถูกตีหัวเลือดสาด.
หงาย : ก. พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หงายหน้า หงายมือ หงายไพ่, ตรงข้ามกับ ควํ่า. ว. อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หน้าหงาย; เรียกคืนที่มี ดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.
หนังตะลุง : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงา ให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง ''และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์.
หรดาลแดง : น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด หรือ เป็นก้อนอัดแน่น อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๕ สีแดงหรือแดงส้ม เป็นมัน มีสูตรเคมี AsS, As2S2, As4S4 ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม หนังสัตว์ ใช้เป็นตัวทําให้ขนร่วง ใช้ในงานอุตสาหกรรมทํากระสุนปืน ส่องวิถี ใช้ในงานความร้อนสูง เช่น ดอกไม้ไฟ พลุสี ใช้เป็นสารฆ่าสัตว์ แทะ เช่น หนู และใช้เป็นสีทา. (อ. realgar).