ส้ม ๑ : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยว หรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (C. aurantium L.) ส้มโอ [C. maxima (Burm.) Merr.] ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (C. reticulata Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง (C. sinensis Osbeck), ถ้าผลไม้จําพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคํา ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. ว. สีเหลือง เจือแดง เรียกว่า สีส้ม.
ส้ม ๒ : ว. เปรี้ยว เช่น สารส้ม. น. คําใช้ประกอบหน้าชื่อพรรณไม้และของกิน ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มเช้า ส้มตำ ส้มฟัก.
ส้มกุ้ง ๑ : น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม มีรสเปรี้ยว, กุ้งส้ม ก็ว่า.
ส้มฉุน : น. ของกินชนิดหนึ่ง ใช้มะม่วงดิบมะยมดิบยำกับกุ้งแห้งใส่ น้ำปลาน้ำตาล บางทีก็นำไปตากแดด, ส้มลิ้ม ก็เรียก.
ส้มแผ่น : น. มะม่วงสุกที่กวนแล้วแผ่เป็นแผ่นบาง ๆ, ส้มลิ้ม ก็เรียก.
ส้มมือ : น. ชื่อส้มชนิด Citrus medica L. var. sarcodactylis Swing. ในวงศ์ Rutaceae ส่วนล่างของผลมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ ใช้ทํายาดมได้.
ส้มลิ้ม ๑ : น. ของกินชนิดหนึ่ง ใช้มะม่วงดิบมะยมดิบยำกับกุ้งแห้ง ใส่น้ำปลาน้ำตาล บางทีก็นำไปตากแดด, ส้มฉุน ก็เรียก; มะม่วงสุก ที่กวนแล้วแผ่เป็นแผ่นบาง ๆ, ส้มแผ่น ก็เรียก.
ส้มกุ้ง ๒ : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Ampelocissus martinii Planch. ในวงศ์ Vitaceae เถาและใบมีขนสีแดง ผลกลมออกเป็นพวงคล้ายองุ่น. (๒) ชื่อไม้เถา ชนิด Embelia ribes Burm.f. ในวงศ์ Myrsinaceae เถาและใบเกลี้ยง ผล กลมออกเป็นช่อ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อไม้เถาชนิด Rubus moluccanus L. ในวงศ์ Rosaceae เถามีขนและหนาม ผลออกเป็นกระจุก สุกสีแดง กินได้. (๔) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Begonia inflata C.B. Clarke ในวงศ์ Begoniaceae ต้นและใบอวบนํ้า ใบมีรสเปรี้ยว.
ส้มจี๊ : น. ของกินชนิดหนึ่ง ใช้พุทราตากแห้งป่นให้ละเอียด กวนกับ น้ำตาลทรายให้งวด อัดเป็นแท่ง.
ส้มชื่น :
(ถิ่นพายัพ, อีสาน) น. ต้นเขยตาย. (ดู เขยตาย).
ส้มเช้า : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Euphorbia ligularia Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae ต้นคล้ายต้นสลัดได แต่มีใบซึ่งมีรสเปรี้ยวในเวลาเช้า. (๒) ดู ต้นตายใบเป็น.
ส้มลิ้ม ๒ : น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
ส้มสันดาน : น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissus hastata Miq. ในวงศ์ Vitaceae ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ทํายาได้.
ส้มเสี้ยว : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bauhinia malabarica Roxb. ในวงศ์ Leguminosae ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ทํายาได้.
เมี่ยงส้ม : น. ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยมะพร้าวขูดคั่ว กวนกับน้ำตาลปึกผสม ถั่วลิสงตำพร้อมด้วยหอมแดง ปรุงให้มีรสเค็มหวาน เมื่อได้ที่โรยใบมะกรูด หั่นฝอย กินแกมกับผักกาดหอมหรือใบทองหลาง และผลไม้มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มโอ มะม่วงดิบ มะปรางดิบ.
กะส้มชื่น :
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นว่านน้ำ. (ดู ว่านน้ำที่ ว่าน).
กุ้งส้ม : น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม.
ปูดกกส้มมอ :
(ถิ่น-อีสาน) น. โกฐพุงปลา. (ดู โกฐพุงปลา ที่ โกฐ).
มดส้ม :
ดู มดแดง ที่ มด๑.
กะละปังหา : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวเล็กมาก รูปร่างทรงกระบอกหรือรูปถ้วย สร้างเปลือกเป็นโครงร่างแข็ง หุ้มลําตัว มีช่องเปิดให้ตัวโผล่ออกมา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โครงซากทับถมกันจนมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ มีสีต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่และแข็งมาก นิยมนํามาทําเป็นลูกปัด เครื่องประดับ พวกที่อยู่ในอันดับ Gorgonacea มีสีแดง เหลือง ส้ม ม่วง พวกที่อยู่ในอันดับ Antipatharia มีสีดํา, กัลปังหา ก็เรียก. (เทียบมลายู kalam pangha).
เกลี้ยง ๒ :
น. ส้มเกลี้ยง. (ดู ส้ม๑).
แก้ว ๕ :
น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลางชนิด Murraya paniculata (L.) Jack ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นตามป่าดิบ กิ่งก้านสีขาว ใบสีเขียวสด เป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้แข็งใส เหนียว มีลาย ใช้ทําด้ามมีด และไม้ถือ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. นิยมกินดิบ ๆ หรือดอง. (๓) ส้มแก้ว. (ดู ส้ม๑). (๔) (ถิ่น-พายัพ) ต้นพิกุล. (ดู พิกุล).
จุก ๓ :
น. ส้มจุก. (ดู ส้ม๑).
ซ่า ๑ :
น. ส้มซ่า. (ดู ส้ม๑).
ไน ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cyprinus carpio ในวงศ์ Cyprinidae ตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ ในบางประเภทของปลา อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดําคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก.
ปอ ๒ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดและหลายวงศ์ในอันดับ Odonata หัวและอก สั้นป้อม ส่วนท้องแคบและยาว หนวดสั้นเล็กมองคล้ายขน ตาโต ใหญ่ ๒ ข้างดูเต็มหัว ปีก ๒ คู่ ขนาดเท่า ๆ กันหรือโตกว่ากันเล็กน้อย ลักษณะยาว บางใส มีเส้นปีกมากมาย อาจมีสีต่าง ๆ เช่น ส้ม เหลือง หรือนํ้าเงิน, แมลงปอ ก็เรียก.
รุ้ง ๑ : น. แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่าง ๆ ๗ สี คือ ม่วง คราม นํ้าเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง, สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร. ว. กว้างโค้ง, โค้ง เช่น ขุดรุ้งรางเข้าไป.
โอ ๑ :
น. (๑) ส้มโอ. (ดู ส้ม๑). (๒) ชื่อลูกจันชนิดหนึ่ง. (ดู จัน).
สม ๓ : [สะมะ, สมมะ, สม] ว. เท่ากัน, เสมอกัน.
ก้นขบ : น. ชื่องูชนิด Cylindrophis ruffus ในวงศ์ Aniliidae หรือ Uropeltidae สีดําแกมม่วง มีลายขาวเป็นปล้อง ๆ ไม่มีพิษ แต่เข้าใจกันว่ามีพิษ ข้างหางเพราะชูและแผ่หางซึ่งปลายมีสีแดงส้ม.
กระดอม : น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz ในวงศ์ Cucurbitaceae เถา ๕ เหลี่ยม มีมือจับ ผล ๑๐ เหลี่ยม สุกสีส้ม มีรสขม ใช้ทํายาได้, ขี้กาดง หรือขี้กาเหลี่ยม ก็เรียก.
กระทุ่ม ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับ กิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อนหอม เนื้อไม้เหลือง หรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).
กระทู้ ๓ : น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคล้ำ ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือ เส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมน้ำตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาว ที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่ เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือ หนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว.
กระเบา ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบาน้ำ (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้น ขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีน้ำตาล ขนาดเท่าผลส้มโอ ขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีน้ำมัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.
กระโห้ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Catlocarpio siamensis ในวงศ์ Cyprinidae หัวโต เกล็ดใหญ่ ลําตัวด้านหลัง สีเทาดํา หางและครีบสีแดงคล้ำหรือส้ม พบใน แม่น้ำใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบ ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร นับเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่มากในจําพวกปลามีเกล็ดด้วยกัน, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก.
กร่าง : [กฺร่าง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Ficus altissima Blume ในวงศ์ Moraceae เปลือกเรียบสีเทา ใบกว้างหนารูปไข่ ปลายมน ไม่มีขน ผลกลม เมื่อสุกสีส้มออกแดง, ลุง ฮ่างหลวง หรือ ไทรทอง ก็เรียก. (ปาก) ว. อาการที่ทำท่าทางหรือพูดจาวางโต เช่น เขาชอบทำกร่างอยู่เรื่อย.
กล้าย : [กฺล้าย] น. ชื่อกล้วยลูกผสมพันธุ์หนึ่งในสกุล Musa วงศ์ Musaceae ผลใหญ่โค้ง เป็นเหลี่ยม และยาวกว่ากล้วยหอม เปลือกหนา เนื้อเหนียว ไส้แข็งสีส้ม รสหวาน นิยมกินเมื่อทำให้ สุกแล้ว, กล้วยกล้าย ก็เรียก.
กะรางหัวขวาน : น. ชื่อนกชนิด Upupa epops ในวงศ์ Upupidae ปากยาวแหลมโค้งสีดํา หงอนสีส้มขอบดํา ลักษณะหงอน เหมือนหมวกของอินเดียนแดง ขนตามลําตัวสีน้ำตาลแดง มีแถบดําขาวสลับกัน, การางหัวขวาน ก็เรียก.
ก้าง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Channa gachua ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนหรือปลากระสงซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม, ขี้ก้าง ก็เรียก.
กาฬพฤกษ์ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia grandis L.f. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นดํา ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นําเข้ามาปลูก.
แก้ว ๓ : น. ชื่อตัวหนอนซึ่งเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อ ตามลําตัวมีขนน้อยและ มักเป็นขนสั้น ๆ ผิวลําตัวเป็นมันเลื่อมคล้ายแก้ว มีสีสันต่าง ๆ กัน บางชนิดสีเขียว เขียวปนเหลือง และบางชนิดมีลายเป็นดวง ๆ บางชนิดจะปล่อยสารใสคล้ายแก้วเห็นเป็นทางเมื่อเคลื่อนผ่านไป เช่น หนอนแก้วส้ม (เช่น ชนิด Papilio demoleus) ในวงศ์ Papilionidae.
แก้วกุ้ง : น. รังไข่ของกุ้งที่เจริญเต็มที่ มีสีแดงอมส้มหรือสีส้ม, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นมันกุ้งที่เป็นก้อนอยู่ในหัวกุ้ง.
โกฐพุงปลา : น. ชื่อเรียกสิ่งที่นูนปูดขึ้นมาตามกิ่งและใบของไม้ต้น หลายชนิดในสกุล Terminalia วงศ์ Combretaceae เช่น สมอไทย (T. chebula Retz.), อีสานเรียก ปูดกกส้มมอ.
ข้างตะเภา : น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Plectorhynchus และ Diagramma วงศ์ Haemulidae ลำตัวป้อม แบนข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ใต้คางมีรู ๑-๓ คู่ เกล็ดเล็กสากมือพื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลา ขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อตัว โตขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบ อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ขนาดตั้งแต่ ๓๐-๘๐ เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก. (๒) ดู ข้างลาย.
ขาวจีบ : น. ชื่อส้มโอพันธุ์หนึ่ง ผลขนาดส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ แต่แป้นกว่า.
ขาวพวง : น. ชื่อส้มโอพันธุ์หนึ่ง ผลคล้ายส้มจุก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ ๑๕ เซนติเมตร.
ข้าวยำ : น. อาหารชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ ใช้ข้าวสุกคลุกกับ เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว นํ้าเคยหรือนํ้าบูดู ส้มโอ และผักต่าง ๆ หั่นละเอียด เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วฝักยาว.