ส้วม ๓ : ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างโอบรัดเข้าไว้ในวงแขน เรียกว่า ส้วมกอด, สวมกอด ก็ว่า.
ส้วม ๑ : น. สถานที่ที่สร้างไว้สำหรับถ่ายอุจจาระปัสสาวะโดยเฉพาะ มักทำ เป็นห้อง.
ส้วม ๒ : (ถิ่นอีสาน) น. ห้องนอน.
ส้วมชักโครก : น. ส้วมแบบส้วมซึมชนิดหนึ่ง ต่างกันตรงที่เมื่อถ่ายแล้ว ใช้กดหรือชักให้น้ำที่อยู่ในถังด้านหลังหรือข้างบนหัวส้วมไหลชำระ สิ่งที่ถ่ายแทนการราดน้ำ.
ส้วมซึม : น. ส้วมที่ตั้งถังซีเมนต์ซ้อนกันลงไปในดินหลาย ๆ ถัง มีหัวส้วมสำหรับนั่งถ่ายอยู่เหนือถังบนสุด เมื่อถ่ายแล้วต้องราดน้ำ เพื่อชำระสิ่งที่ถ่ายให้ลงสู่ถังส้วมแล้วซึมหายไปในดิน.
ส้วมหลุม : น. ส้วมที่ขุดหลุมแล้วใช้ไม้กระดานหรือไม้ท่อนใหญ่ ทอดพาดปากหลุมสำหรับนั่งถ่าย.
วัจกุฎี : น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), เวจกุฎี ก็เรียก. (ป. วจฺจกุฏิ).
เวจกุฎี : น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), วัจกุฎี ก็เรียก. (ป. วจฺจกุฏิ).
สวม : ก. กิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงเป็นต้นครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สวมชฎา สวมหมวก เกี้ยวสวมจุก, คล้อง เช่น สวมพวงมาลัย, นุ่ง ในคําว่า สวมกางเกง, ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมรองเท้า; เข้าแทนที่ เช่น สวมตําแหน่ง.
ห้องน้ำ : น. ห้องอาบนํ้า, ส้วม.
ถาน : น. ส้วมของพระ.
ลูกลอย : น. อุปกรณ์ภายในถังน้ำของส้วมชักโครกเป็นต้น มีหน้าที่ รักษาระดับน้ำในถังน้ำให้คงที่; อุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับเครื่องยนต์ อยู่ในคาร์บูเรเตอร์ ทำหน้าที่รักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในห้อง ลูกลอยให้คงที่.
สวมกอด : ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างโอบรัดเข้าไว้ในวงแขน เช่น แม่ สวมกอดลูก, ส้วมกอด ก็ว่า.
สวมบท, สวมบทบาท : ก. แสดงบทบาท เช่น สวมบทพระเอก สวม บทบาทผู้ร้าย; แสดงออกในลักษณะที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น คนใจบาปสวมบทนักบุญ.
สวมวิญญาณ : ก. เอาวิญญาณของผู้อื่นหรือสัตว์อื่นเป็นต้นมาสวมใส่ ในจิตใจของตน เช่น สวมวิญญาณนักรบ สวมวิญญาณสัตว์ป่า.
สวมหน้ากาก : (สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัย ใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากาก เข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า.
สวมหัวโขน : ก. เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรง ตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดง อำนาจ.
สวมหมวกหลายใบ : (สำ) ก. ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในเวลา เดียวกัน.
กลวม : [กฺลวม] (โบ) ก. กรวม, สวม; ทับ เช่น บงงเมฆกลวมกลุ้มหล้า หล่อแสง. (ยวนพ่าย).
วิ่งสวมกระสอบ : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแต่ละคนสวมกระสอบ
สรวม : [สวม] ก. ขอ. (ข.).
กรวม : [กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวมพนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวม ตอ ปลูกเรือนกรวมทาง; รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กํากวม เช่น พูดกรวมข้อ. (ปาเลกัว).
ท้น : ก. เอ่อสูงขึ้นจนเปี่ยมพร้อมจะไหลล้นหรือไหลทวนกลับขึ้นไป เช่น นํ้าท้นฝั่ง, อาการที่เนื้อล้นออกมาจนเห็นเป็นรอยนอกเสื้อ เช่น สวม เสื้อคับจนเนื้อท้น.
หุ่นขี้ผึ้ง : น. หุ่นที่ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นต้น มักทำเป็นรูปคนที่มีชื่อเสียง สวม ใส่เสื้อผ้า มองดูคล้ายคนจริง ๆ.
กรบ : [กฺรบ] น. เครื่องแทงปลา ทําด้วยไม้ ๓ อัน มัดติดกัน มีลักษณะคล้าย ๓ เส้า สวมเหล็กแหลมที่ปลายด้ามรูปงอคล้ายไม้เท้า.
กรรภิรมย์ : [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
กรรแสง ๒ :
[กัน-] (โบ) น. ผ้าสไบ เช่น กรรแสงสวมคอหิ้ว ตายบทันลัดนิ้ว หนึ่งดี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ดู กันแสง).
กระจับ ๒ : น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวายหรือ ไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้าง เสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
กระจุบ, กระจุ๊บ : น. ส่วนของโคมตรงที่สวมหลอด; ส่วนหนึ่งของตะเกียงที่ไส้ ผ่านสําหรับจุดไฟ.
กระแจะ ๓ : น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสําหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิด อย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกําลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทําด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่ สําหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจาก ปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สําหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้าง ข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อ ช้างจะได้ลาก ช้างกําลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกที จนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือ กำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.
กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
กระแตเวียน : น. อุปกรณ์สำหรับช่วยให้เด็กหัดเดิน ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วสวมลงกับหลักไม้ เหนือข้อตอนบน สอดไม้ขวางให้ยาวพอสมควรสำหรับให้เด็กเกาะเดิน. (รูปภาพ กระแตเวียน)
กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
กระปุ่ม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้.
กลัก : [กฺลัก] น. สิ่งที่ทําเป็นรูปคล้ายกระบอกสําหรับบรรจุของ เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ, ซองยาสูบทําด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทําเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
กำปั่น ๒ : น. หีบทําด้วยเหล็กหนา สําหรับใส่เงินและของต่าง ๆ รูปค่อนข้างเป็นรูปลูกบาศก์ ฝามีหูยาวตรงกลาง ตอนปลาย ทําเป็นช่องเล็กเพื่อปิดลงมาสวมขอเหล็กโค้งที่ตัวหีบสําหรับใส่กุญแจ เดิมทําเป็นหีบฝังตะปูหัวเห็ดทั่วตัว.
กำไล : น. ชื่อเครื่องประดับสําหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทําด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกําไลมือว่า ทองพระกร กําไลเท้าว่า ทองพระบาท.
เกราะ ๑ : [เกฺราะ] น. เครื่องสวมใส่หรือเครื่องหุ้มสําหรับป้องกันอาวุธ หรืออันตราย เช่น เสื้อเกราะ รถเกราะ.
เกี้ยว ๑ : น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัยสําหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว; เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา; ผ้าคาดพุงสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดพุงที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่ง อย่างหนึ่ง) .ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี. (โลกนิติ); พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.
เกี้ยวนวม : น. เกี้ยวที่ใส่หัวและนวมที่สวมคอ.
เข้าเครื่อง : ก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสําคัญ ๆ; คําพูด สําหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้า ตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียง เข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.
เข้ามุม : ก. นำไม้ ๒ ชิ้นมาประกอบเป็นมุม โดยตกแต่งอันหนึ่งให้เป็น เดือยรูปสามเหลี่ยม ๒ เดือย ส่วนอีกอันหนึ่งเจาะให้เป็นช่องรูปสามเหลี่ยม ๒ ช่อง มีขนาดพอที่จะสวมกันได้สนิท.
เข้าแว่น : ก. ถึงวัยหรือเวลาที่ต้องสวมแว่นตา.
แขนทุกข์ : น. ปลอกแขนสีดําสําหรับสวมติดแขนเสื้อข้างซ้าย เป็นการแสดงความไว้อาลัยต่อคนตาย.
โขน ๑ : น. การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรํา มักเล่นเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดง สวมหัวจําลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน.
ครุฑพ่าห์ : [คฺรุดพ่า] น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธง เทำด้วยผ้าปักไหมทองป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ใน คันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวม ต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระ ครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และ ธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.
ครุย : [คฺรุย] น. ชายผ้าที่ทําเป็นเส้น ๆ, ชายครุย ก็ว่า; ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวม หรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.
คล้อง : [คฺล้อง] ก. เอาของที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นวงหรือเป็นบ่วง คาด เกี่ยว หรือสวมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า เช่น ผ้าคล้องคอ คล้องพวงมาลัย คล้องช้าง, เอาของที่เป็นวงหรือโค้งเกี่ยวหรือเกี่ยวกัน เช่น ลูกโซ่คล้องกัน คล้องแขน, รับกัน เช่น ชื่อคล้องกัน.
คอเสื้อ : น. ส่วนของเสื้อที่ชิดคอหรือที่คว้านให้เป็นวงเพื่อสวมหัวได้, ส่วนประกอบของคอเสื้อ มีแบบต่าง ๆ เช่น คอตั้ง คอแบะ.