Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หนักอึ้ง, อึ้ง, หนัก , then หนก, หนัก, หนักอึ้ง, อง, อึ้ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หนักอึ้ง, 441 found, display 1-50
  1. หนัก : ว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.
  2. อึ้ง : ว. นิ่งอั้นอยู่.
  3. หนักกบาล, หนักกบาลหัว : (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะแก่คาบ้าน ก็ไม่หนักกบาลหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกะลาหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  4. หนักกะลาหัว : (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะทำ อย่างนี้ แล้วมันหนักกะลาหัวใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  5. หนักข้อ : ก. กำเริบ เช่น เด็กคนนี้ชักจะหนักข้อขึ้นทุกวัน พ่อแม่ว่ากล่าว อย่างไรก็ไม่ฟัง. ว. รุนแรง เช่น เดี๋ยวนี้โจรผู้ร้ายมักกระทำการหนักข้อ.
  6. หนักท้อง : ว. พอให้อิ่ม, พอประทังหิว, เช่น กินพอให้หนักท้อง.
  7. หนักนิดเบาหน่อย : ว. เกินพอดีไปบ้างหรือน้อยกว่าพอดีไปบ้าง เช่น เป็นสามีภรรยากัน หนักนิดเบาหน่อยก็ควรอภัยให้กัน.
  8. หนักแน่น : ว. มั่นคง, ไม่ท้อถอย, เช่น เขามีใจหนักแน่นไม่ย่อท้อต่อ อุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น; ไม่โกรธง่าย เช่น เขาเป็นคนใจคอหนักแน่น ไม่โกรธใครง่าย ๆ; ไม่หูเบา เช่น ต้องทำใจให้หนักแน่น อย่าเชื่อใครง่าย ๆ.
  9. หนักปาก : ว. ไม่ทันได้พูด เช่น คุยกันอยู่ตั้งนาน หนักปากไปหน่อย เลยไม่ได้ถามว่าชื่ออะไร.
  10. หนักมือ : ว. มากไป เช่น แกงหม้อนี้ใส่เกลือหนักมือไปหน่อย, แรงไป เช่น เด็กเล่นตุ๊กตาหนักมือไปหน่อย แขนตุ๊กตาเลยหลุด; กําเริบ เช่น โจรผู้ร้ายหนักมือขึ้นทุกวัน.
  11. หนักสมอง : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหา หนักสมอง, หนักหัว ก็ว่า.
  12. หนักหน่วง : ว. จริงจัง, มาก, ยิ่ง, เช่น เขาพยายามอย่างหนักหน่วงเพื่อ ส่งเสียให้ลูกเรียน.
  13. หนักหน้า : ก. มีภาระต้องรับผิดชอบทั้งหมด เช่น เรื่องนี้หัวหน้าคณะ หนักหน้าอยู่คนเดียว.
  14. หนักหนา, หนักหนาสากรรจ์ : ว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, ร้ายแรง, เช่นความผิด ครั้งนี้หนักหนาทีเดียว อาจจะต้องถูกไล่ออกจากงาน, นักหนา ก็ใช้.
  15. หนักหัว : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาหนักหัว, หนักสมอง ก็ว่า; (ปาก) เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะสุกคาขั้ว ก็ไม่หนักหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  16. หนักหัวกบาล : (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะไปที่ไหน ก็ไม่เห็นจะหนักหัวกบาลใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัว ก็ว่า.
  17. หนักแผ่นดิน : (สํา) ว. ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย, ทรยศต่อบ้านเมือง ของตน, เสนียดสังคม.
  18. หนักไม่เอา เบาไม่สู้ : (สํา) ว. ไม่มีความอดทนที่จะทำการงาน.
  19. กระเป๋าหนัก : (ปาก) ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็น เจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก.
  20. เก่น : ก. เข่น, หนัก, แรง, เร่ง, เช่น ตาแกก็มุมุ่นมุ่งเขม้น ถ่อกายเก่นตะเกียกเดิน. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  21. ทันธ-, ทันธ์ : [ทันทะ-] (แบบ) ว. ช้า ๆ, เงื่อง, เกียจคร้าน; หนัก; เขลา เช่น ทันธปัญญา คือ ปัญญาเขลา. (ป.).
  22. น้ำหนัก : น. ความหนักของสิ่งต่าง ๆ, ความสําคัญ เหตุผล หรือพยาน หลักฐาน เป็นต้น ที่ควรแก่การเชื่อถือ หรือที่จูงใจให้เชื่อถือ.
  23. บุญหนักศักดิ์ใหญ่ : ว. มีฐานันดรศักดิ์สูงและอํานาจวาสนายิ่งใหญ่ เช่น น้อยหรือนางบุญหนักศักดิ์ใหญ่. (สังข์ทอง).
  24. ปากหนัก : ว. ไม่ใคร่พูดขอร้องต่อใคร ๆ, ไม่ใคร่ทักทายใคร. ก. พูดได้ช้า (ใช้แก่เด็กที่สอนพูด). น. เรียกยุงที่กัดเจ็บมาก ว่า ยุงปากหนัก.
  25. มือหนัก : ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างรุนแรงหรือไม่ประณีต บรรจง, ตรงข้ามกับ มือเบา; มากผิดปรกติ (มักใช้ในการเล่น การพนันหรือตกรางวัลเป็นต้น) เช่น เขาแทงโปมือหนัก เขาตกรางวัลนักร้องมือหนักไป.
  26. แย่ : ก. แบะขาและย่อลง, ย่อลง. ว. เต็มที, หนัก, เช่น ปลายเดือนการเงินแย่ อาการไข้แย่เพียบลงทุกวัน.
  27. ลูกน้ำหนัก : น. ลูกกลมทำด้วยเหล็ก ใช้ในการเล่นกรีฑาทุ่มน้ำหนัก.
  28. ใหญ่หลวง : ว. รุนแรง, หนัก, เช่น บุญคุณของท่านใหญ่หลวงนัก.
  29. อง : น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกาย ชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
  30. ก้นหนัก : ว. ไปนั่งคุยอยู่นาน ไม่ยอมกลับง่าย ๆ.
  31. ขัดหนัก : ก. ถ่ายอุจจาระไม่ค่อยออก.
  32. ข้าวหนัก : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลช้ากว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวง ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวได้ใน ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เช่น พันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง ๑๗ พันธุ์ข้าวพวงนาก ๑๖.
  33. ใจหนักแน่น : ว. มีใจอดทน, ไม่เชื่อง่าย.
  34. ธาตุหนัก : [ทาด] ว. ที่ต้องกินยาถ่ายมาก ๆ จึงจะถ่าย.
  35. ปิดหนักปิดเบา : ก. ถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่ออก.
  36. ผ่อนหนักเป็นเบา : (สํา) ก. ลดความรุนแรงลง, ลดหย่อนลง.
  37. แม่หนัก : (ราชา) น. ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง.
  38. หูหนัก : ว. ไม่เชื่อคำป้อยอหรือยุแหย่เป็นต้นของใครง่าย ๆ.
  39. เพียบ : ก. เกือบจม, เต็มแปล้, เช่น เรือบรรทุกสินค้าจนเพียบ รถบรรทุกของ จนเพียบ, หนัก เช่น คนไข้อาการเพียบ.
  40. แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
  41. ขนาด ๑ : [ขะหฺนาด] น. ลักษณะของรูปที่กําหนดสังเกตได้ว่าใหญ่ เล็ก สั้น ยาว หนัก หรือ เบา เท่านั้นเท่านี้ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดยาว ขนาด ๒ x ๑ เมตร; อัตรา, เกณฑ์ที่กําหนดไว้, เช่น ดีถึงขนาด เกินขนาด ไม่ได้ขนาด.
  42. ครุก- : [คะรุกะ-] (แบบ) ว. หนัก เช่น ครุกาบัติ ว่า อาบัติหนัก. (ป.).
  43. ทองนพคุณ : น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนด ราคาตามคุณภาพของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  44. ทำงน : ก. ห่วงใย, ยุ่งใจ. น. ภาระ. (ข. ทํงน่ ว่า หนัก).
  45. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  46. นพคุณ : [นบพะ] น. ทองคําเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกําหนด ราคาตามคุณภาพของเนื้อ หนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้านํ้า, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ.
  47. ภาร, ภาร–, ภาระ ๑ : [พาน, พาระ–] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการ อบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระ ส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  48. วรรณพฤติ : หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ.
  49. คอน : น. ไม้ที่ทําไว้ให้นกหรือไก่จับ. ว. หนักข้างหนึ่งเบาข้างหนึ่ง. ก. เอา สิ่งของห้อยที่ปลายไม้คานหรือปลายไม้เพียงข้างเดียวแล้วแบกบ่าพาไป; เหยียดแขนข้างหนึ่งแล้วเอามือจับปลายของที่หนักยกขึ้น.
  50. คาร์บอนไดออกไซด์ : น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์องธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์ ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา นํ้าหวาน ใช้ทํานํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทําความเย็น. (อ. carbon dioxide).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-441

(0.1396 sec)