ลามก : [มก] ว. หยาบช้าต่ำทราม, หยาบโลน, อันเป็นที่น่ารังเกียจ ของคนดีมีศีลธรรม, เช่น หนังสือลามก พูดลามก ทำลามก. (ป.).
หนัง ๑ : น. ส่วนของร่างกายที่หุ้มเนื้ออยู่, หนังสัตว์ที่เอามาทําเป็นของใช้หรือ เป็นอาหาร; การมหรสพอย่างหนึ่งเอาหนังสัตว์มาสลักเป็นภาพ เช่น หนังตะลุง, หนังใหญ่, (ปาก) ภาพยนตร์ เช่น โรงหนัง ถ่ายหนัง ฉายหนัง เล่นหนัง.
หนัง ๒ :
น. เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว ว่า ขนุนหนัง. (ดู ขนุน๑). (เทียบ ม. nanga).
หนังกลางวัน ๑ :
ดูใน หนัง๑.
หนังกลับ : น. หนังที่ผิวไม่เรียบ มีลักษณะฟูน้อย ๆ คล้ายเนื้อผ้ากำมะหยี่ เช่น เข็มขัดหนังกลับ รองเท้าหนังกลับ, โดยปริยายเรียกสุนัขขี้เรื้อนว่า สุนัขหนังกลับ.
หนังกลางวัน ๑ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้าย หนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์ และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.
หนังกำพร้า : น. หนังที่เป็นผิวชั้นนอกสุดของคนและสัตว์, ผิวหนัง ก็เรียก.
หนังไก่ : น. ชื่อแพรหรือกระดาษพิมพ์ที่มีเนื้อย่นคล้ายหนังไก่.
หนังง่า : น. ตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ (ลัทธิ).
หนังตะลุง : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงา ให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง ''และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์.
หนังเรียด : น. หนังที่ทําเป็นเส้นแบน ๆ เล็ก ๆ สําหรับใช้โยงเร่งเสียง โดย สอดเข้าไปกับไส้ละมานที่ถักไว้รอบ ๆ ขอบหนังทั้ง ๒ หน้าของตะโพน เปิงมาง กลองสองหน้า เป็นต้น มักร้อยถี่จนมองแทบไม่เห็นตัวหุ่นกลอง ถ้าเร่งหนังเรียดให้ตึงขึ้นเท่าใด หน้ากลองก็ตึงยิ่งขึ้นเท่านั้น.
หนังโลม : น. ตัวหนังใหญ่ที่แสดงบทเข้าพระเข้านาง เช่น หนุมานเกี้ยว นางเบญกาย, โลม ก็ว่า.
หนังหน้าไฟ : (สํา) น. ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิด มา พ่อความผิดมาแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ.
หนังหุ้มกระดูก : (สำ) น. เรียกลักษณะของคนหรือสัตว์ที่ผอมมากจนมอง เห็นแนวโครงกระดูกว่า ผอมจนหนังหุ้มกระดูก.
หนังเหนียว : ว. อยู่ยงคงกระพัน เช่น ลือกันว่าโจรคนนี้หนังเหนียว ยิง ไม่ออกฟันไม่เข้า, โดยปริยายหมายความว่า มีประสบการณ์มากรู้เท่าทัน ไปทุกสิ่งทุกอย่าง.
หนังใหญ่ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดใหญ่ กว่าหนังตะลุงมาก คีบด้วยไม้ตับ ๒ อันสำหรับจับเชิด เชิดได้ทั้งหลังจอ และหน้าจอ ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็น คนละคนกัน.
หนังกลางวัน ๒ : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลยาว ๆ.
หนังเงียบ : (ปาก) น. ภาพยนตร์ที่ไม่มีเสียงในฟิล์ม.
หนังสด : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายโขนแต่เดินเรื่องเร็วกว่า ผู้แสดงสวมหัวโขนไม่ปิดคลุมใบหน้า ร้องและเจรจาเอง ใช้ปี่พาทย์ บรรเลงประกอบ, โขนสด ก็เรียก.
หนังสติ๊ก : น. เครื่องยิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยแถบยางผูกติดกับสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ ยิงด้วยลูกกระสุนที่ตามปรกติเป็นลูกดินปั้นกลม ๆ.
ฉาทนะ : [ฉาทะนะ] น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกําบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
เชิดหนัง : ก. ยกชูตัวหนังตะลุงขึ้นให้เคลื่อนไหวไปตาม บทบาท,ยกชูตัวหนังใหญ่แล้วผู้เชิดเยื้องกรายประกอบ ไปตามบทบาท.
ฟอกหนัง : ก. เอาหนังดิบมาแช่นํ้าแล้วหมักไว้เพื่อทําเป็น หนังฟอก.
มีดเจียนหนัง : น. มีดขนาดย่อม ใบมีดเป็นแผ่นแบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคมอยู่ตรงปลายมีดที่ตัดเผล้ ส่วนโคนมีกั่นโค้งงอคล้ายคอห่านสอด ติดกับด้ามขนาดพอกำได้สะดวก ใช้ตัดเจียนหนังสัตว์.
ยางหนังสติ๊ก : น. แถบยางยาว ๆ มักทำจากยางในรถจักรยาน เวลานำมา ผูกกับง่ามหนังสติ๊กจะใช้ยางเพียง ๒ เส้น โดยผูกปลายด้านหนึ่งของ แต่ละเส้นกับปลายสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ แล้วเอาปลายอีกด้านหนึ่ง ของแต่ละเส้นผูกกับแผ่นหนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงกลาง สำหรับรองรับลูกกระสุนที่ใช้ยิง.
ลวดหนัง : น. หนังที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ.
คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ : (สํา) น. คนรักมีน้อย คนชังมีมาก.
คอหนัง : (ปาก) น. นาวิกโยธินอเมริกัน.
คาหนังคาเขา : (สํา) ว. จับได้ในขณะที่กําลังกระทําผิดหรือพร้อมกับ ของกลาง, ใช้เพี้ยนว่า คาหลังคาเขา ก็มี.
ฉายหนัง : (ปาก) ก. ฉายแสงผ่านฟิล์มภาพยนตร์ให้ปรากฏภาพเคลื่อนไหว บนจอ.
เป็นเนื้อเป็นหนัง : ว. เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นกอบเป็นกํา.
พากย์หนัง : (ปาก) ก. พูดตามบทพากย์ภาพยนตร์, พากย์ ก็ว่า.
ลูกหนัง : (ปาก) น. ลูกฟุตบอล.
แล่เนื้อเถือหนัง : ก. บีบบังคับเอาทรัพย์สินจนอีกฝ่ายหนึ่งยากแค้น.
กาว ๑ : น. ของเหนียวที่เคี่ยวมาจากเอ็น หนัง กีบสัตว์ เป็นต้น สําหรับใช้ติดหรือผนึกสิ่งของ.
ทวัตดึงสาการ : (แบบ) น. อาการของร่างกาย ๓๒ อย่าง มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น.
บอล : น. ลูกกลมทําด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น หนัง ยาง พลาสติก ภายในมีลมอัด ใช้ในการเล่นกีฬาเป็นต้น, ลูกบอล ก็เรียก. (อ. ball); เรียกงานชุมนุม ทางสังคมที่มีลีลาศ รําวง เป็นหลักสําคัญ ว่า งานบอล.
พากย์ : ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือ ภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนัง ใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือ การแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราว เป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คําพูด, ภาษา; คํากล่าว เรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).
ฟุตบอล : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๑๑ คน รวมทั้ง ผู้รักษาประตู ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต้องเตะลูกบอลให้เข้าประตูของฝ่าย ตรงข้าม ฝ่ายที่ได้ประตูมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกลูกกลมทำ ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น หนัง ยาง พลาสติก ภายในมีลมอัด ใช้ในการ เล่นฟุตบอล ว่า ลูกฟุตบอล. (อ. football).
ยาขัด : น. สิ่งที่ใช้ขัดโลหะ หนัง หรือกระเบื้อง เป็นต้น.
สนะ : [สะหฺนะ] น. เสื้อ; เครื่องสอบสวน; หนัง. ก. เย็บ, ชุน, ปัก.
อาการ, อาการ : [อากาน, อาการะ] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).
กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
กระแชง : น. เครื่องบังแดดฝน โดยนําใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บเป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบมลายู กระชัง = แผงสำหรับคลุมเรือหรือ รถ เย็บด้วยใบไม้); เชือกหนังสําหรับติดกับสายรัดประโคนของช้าง แต่มักติดเบื้องท้ายสันหลัง เพื่อควาญช้างจับในเวลาคับขัน; เชือกบาศสําหรับคล้องช้าง; ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่า เรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทําเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.
กระแซง : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้างผูก กับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับ เมื่อเวลาคับขัน, กระแอก หรือ ประแอก ก็เรียก.
กระบาล : [-บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบาน ศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).
กระเป๋า ๑ : น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อ หรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือ หลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; (ปาก) เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ.
กระพัด : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่ รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลาย ทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะ เดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
กระพัตร : [-พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูก อยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้น ที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า.
กระสอบทราย : น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้าง ขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของ นักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้าย ร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.