หมายกำหนดการ : น. เอกสารแจ้งกําหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีที่ จะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า ''นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า'' เสมอไป.
หมาย : น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมาย เกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงาน สั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัว กระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.
กำหนดการ : น. ระเบียบการที่บอกถึงขั้นตอนของงาน ที่จะต้องทําตามลําดับ.
หมายขัง : (กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไว้ระหว่าง สอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา.
หมายค้น : (กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจค้น เพื่อยึดสิ่งของ หรือจับกุมบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ หรือเพื่อช่วยบุคคลซึ่งถูกหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย.
หมายจับ : (กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องหาหรือจําเลย.
หมายจำคุก : (กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้จําคุกผู้ต้องคําพิพากษาให้ จําคุกหรือประหารชีวิต.
หมายบังคับคดี : (กฎ) น. หมายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อ ศาลเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล.
หมายปล่อย : (กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้ปล่อยตัวบุคคลที่ต้องขังหรือ จําคุกตามหมายศาล.
หมายมั่น : ก. มุ่งหมายอย่างแน่วแน่, มั่นหมาย ก็ว่า.
หมายรับสั่ง : น. หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายในตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า ''ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ''.
หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
หมายหน้า : ก. ประมาทหน้า, ดูถูก, เช่น หมายหน้าไว้ว่าจะต้องสอบตก แน่ ๆ; ตราหน้า เช่น เขาถูกหมายหน้าว่าเป็นคนไม่ดี.
หมายหัว : ก. จดจำไว้ด้วยความประสงค์ร้าย เช่น เขาถูกพวกนักเลงหมายหัว ไว้ว่าจะต้องหาทางกำจัดให้ได้, คาดหมายไว้ว่าจะเป็นไปในทางไม่ดี เช่น เด็กคนนี้ถูกหมายหัวไว้ว่าจะต้องสอบตกแน่ ๆ.
หมายอาญา : (กฎ) น. หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สั่งให้เจ้าหน้าที่จับ ขัง จําคุก หรือปล่อย ผู้ต้องหา จําเลยหรือนักโทษ หรือให้ทําการค้น รวมทั้งสําเนาหมายเช่นนี้ อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคําบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับ แล้วด้วย.
หมายเกณฑ์ : (กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน ที่ถูกเกณฑ์.
หมายตัว : ก. กําหนดตัวไว้.
หมายน้ำบ่อหน้า : (สํา) ก. มุ่งหวังจะได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง.
หมายมั่นปั้นมือ : (สำ) ก. มุ่งมั่นจะเอาหรือจะเป็นให้ได้.
กระต่ายหมายจันทร์ : (สํา) น. ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า.
กะ ๑ : น. เครื่องหมายบอกทํานองสวด เช่น กะมหาชาติคําหลวง, ทํานองสวด เช่น สวดกะ; รอบการเข้าเวร, ระยะเวลาที่ ผลัดเปลี่ยนกันทํางาน, เช่น กะแรก กะที่ ๒. ก. กําหนด, หมาย, คะเน, ประมาณ.
ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง : น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมาย ที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
บาดหมาย : (โบ) น. บัตรหมาย.
เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
มอบหมาย : ก. กำชับสั่งเสีย เช่น มอบหมายการงาน, กะให้, กําหนดให้, เช่น มอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบ.
มั่นหมาย : ก. มุ่งหมายอย่างแน่วแน่ เช่น เขามั่นหมายว่าจะได้งานทำ, หมายมั่น ก็ว่า.
มุ่งหมาย : ก. ตั้งใจที่จะให้บรรลุถึงจุดที่หมายไว้.
เล็ง : ก. เพ่งมอง, จ้องตรงไป, หมาย, หมายเฉพาะ; (โหร) อาการที่ดาว พระเคราะห์ดวงหนึ่งอยู่ในเรือนตรงกันข้ามกับดาวพระเคราะห์ อีกดวงหนึ่งซึ่งอยู่ในเรือนที่ ๗ นับจากเรือนที่ตนอยู่.
สักหมาย : (โบ) น. เครื่องหมายที่สักเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อให้รู้ว่าสังกัดอยู่ ในหมู่ใดกรมใด เช่น ไพร่หลวงทั้งปวงซึ่งมีสักหมายหมู่กรมนั้นแล้ว. (ตราสามดวง).
เอาปูนหมายหัว : (สํา) ก. ผูกอาฆาตไว้, คาดโทษไว้, เชื่อแน่ว่า จะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้, ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้.
ที่หมาย : น. ที่ที่มุ่งไปให้ถึง, จุดที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง.
นัดหมาย : ก. กําหนดและกะกันไว้.
บัตรหมาย : น. หนังสือเกณฑ์ในทางราชการ.
มุ่งร้ายหมายขวัญ : ก. คิดปองร้าย.
เลขหมาย : น. จํานวนตัวเลขที่กําหนดไว้.
คระ ๑ : [คฺระ] คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำ หรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมาย ความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).
คาด ๒ : ก. นึกไว้, หมายไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา คะเน หรือ หมาย เป็น คาดคะเน คาดหมาย.
กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
กฎหมายอาญา : (กฎ) น. กฎหมายที่กําหนดลักษณะของการกระทํา ที่ถือว่าเป็นความผิด และกําหนดบทลงโทษทางอาญาสําหรับ ความผิดนั้น. (อ. criminal law).
กฏุก, กฏุก- : [กะตุก, กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
ก็ดี, ก็ได้ ๑ : นิ. แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ หรือเน้นความให้มี น้ำหนักเท่ากัน เช่น บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตร ยานี้กินก็ได้ ทาก็ได้.
ก็ได้ ๒ : นิ. แสดงความหมายว่ายอมอย่างไม่เต็มใจนัก เช่น ท่านจะไปก็ได้.
ก็ตาม : นิ. ใช้อย่าง ก็ดี, แต่บางแห่งมีแววความหมายเท่ากับ ก็ตามใจ ก็ตามที ก็ตามเรื่อง แล้วแต่กรณีที่ใช้ โดยอาศัย พฤติการณ์ของเรื่องเป็นเครื่องแวดล้อม.
ก้นบึ้ง : น. ส่วนสุดของสิ่งที่ลึก, ส่วนใต้สุด, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นบึ้งของหัวใจ.
กนิษฐ-,กนิษฐ์ : [กะนิดถะ-, กะนิด] ว. ''น้อยที่สุด''. (ส.; ป. กนิฏฺ?), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว.(ส.; ป. กนิฏฺ?).
กบดาน : ก. นอนพังพาบกับพื้นใต้น้ำ เป็นอาการของจระเข้, โดยปริยายหมายถึงหลบซ่อนตัวไม่ออกมา.
กบเต้นกลางสระบัว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หมายชิดมิตรเชือนไม่เหมือนหมาย.
กรด ๑ : [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือ ทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลาย น้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสี น้ำเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้ แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่ง มาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.