หมึก ๑ : น. นํ้าที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดําจัด จึงใช้เปรียบกับของดำว่า ดำเป็นหมึก, น้ำหมึก ก็ว่า. (จ.); โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ขีดเขียน หรือพิมพ์หนังสือเป็นต้น เช่น หมึกแดง หมึกแห้ง หมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์ ลายมือ.
หมึก ๒ : ดู ปลาหมึก.
หมึกจีน : น. แท่งหมึกสีดำ ก่อนใช้ต้องฝนกับน้ำ แล้วใช้พู่กันป้ายเขียน.
น้ำหมึก : น. น้ำที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดำจัด จึงใช้เปรียบกับ ของดำว่า ดำเป็นน้ำหมึก, หมึก ก็ว่า.
แท่นหมึก : น. ที่ฝนหมึกแท่งของจีน สําหรับใช้พู่กันจุ้มเขียนหนังสือ.
ปากกาหมึกซึม : น. ปากกาที่มีไส้สําหรับใส่นํ้าหมึกหรือหลอด บรรจุหมึก น้ำหมึกจะค่อย ๆ ไหลซึมออกมาที่ปลายปากกาเอง โดยไม่ต้องจุ้ม.
ปากกาหมึกแห้ง : น. ปากกาลูกลื่น.
ปลาหมึก : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีขาซึ่งเรียกว่าหนวดอยู่บริเวณหัว อาศัยอยู่ในทะเล มีถุงบรรจุนํ้าสีดําอย่างหมึกสําหรับพ่นเพื่อพรางตัว มีหลายสกุล เช่น ปลาหมึกกระดอง สกุล Sepia ในวงศ์ Sepiidae, ปลาหมึกกล้วย สกุล Loligo และปลาหมึกหอม (Sepioteutis lessoniana) ในวงศ์ Loliginidae, ปลาหมึกสาย สกุล Octopus ในวงศ์ Octopodidae, หมึก ก็เรียก.
มสิ : [มะสิ] น. เขม่า; หมึก. (ป., ส.).
กระดาษซับ : น. กระดาษที่ทําเนื้อยุ่ย ๆ สําหรับซับหมึกหรือน้ำ.
จิ้ม : ก. จุ่ม, จุ้ม, เช่น จิ้มนํ้าพริก จิ้มหมึก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทิ่มหรือแทงเบา ๆ เช่น จิ้มฟัน, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแตะ ๆ เช่น เอามะม่วงจิ้มพริกกะเกลือ.
จุ้ม : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งชุบหรือจุ่มลงไปในของเหลว เช่น เอาปากกาจุ้มหมึก.
ชุบ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสาร ละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียน หนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
ซับ : ก. เอาของเช่นผ้าหรือกระดาษทาบลงที่นํ้าหรือสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้นเพื่อให้แห้ง; (ถิ่นอีสาน) ซึมซาบ, กำซาบ. น. รองในในการฝังเพชรหรือพลอยในกระเปาะ แหวน; เรียกกระดาษที่ใช้ซับหมึกให้แห้งว่า กระดาษซับ; เรียกที่ที่มีน้ำซึมซาบอยู่ภายใต้ว่า ที่น้ำซับ.
ปากกา ๑, ปากไก่ : น. เครื่องสําหรับขีดเขียนชนิดหนึ่ง ประกอบ ด้วยตัวปากและด้าม ตัวปากมักทำด้วยโลหะ เช่น ปากกาคอแร้ง ปากกาเบอร์ ๕ ใช้เสียบที่ด้ามจุ้มหมึกหรือน้ำสีอื่นเขียน.
ปากกาลูกลื่น : น. ปากกาที่ใช้ไส้บรรจุหมึกสําเร็จรูป ปลายไส้มักทํา ด้วยโลหะกลมเล็ก ๆ, ปากกาหมึกแห้ง ก็เรียก.
พิมพ์ดีด : น. เครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง ใช้ปลายนิ้วเคาะแป้นอักษรให้ ตัวอักษรไปกดผ้าหมึกให้กระทบกระดาษปรากฏเป็นตัวอักษร.
พิมพ์ลายนิ้วมือ : ก. กดปลายนิ้วมือที่ทาหมึกให้เป็นรอยติดอยู่เป็น หลักฐาน โดยปรกติใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ, (ปาก) แตะโป้ง หรือ แปะโป้ง.
พิมพ์ลายมือ : ก. กดปลายนิ้วมือหรือฝ่ามือที่ทาหมึกให้เป็นลายลักษณ์ ติดอยู่เป็นหลักฐาน.
ยางลบ : น. ยางไม้หรือพลาสติกบางประเภทที่ทําเป็นแท่งหรือเป็นก้อน ใช้ลบรอยดินสอรอยหมึกเป็นต้น.
ลินสีด : น. ชื่อเมล็ดของต้นแฟลกซ์ มีลักษณะแบนรูปไข่ ยาว ๓๔ มิลลิเมตร สีนํ้าตาล เรียบเป็นมัน. (อ. linseed); เรียกนํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดของ ต้นแฟลกซ์ว่า นํ้ามันลินสีด มีลักษณะข้น เหนียว เมื่อถูกอากาศจะ แข็งตัว ใช้ประโยชน์ในการผสมสี หมึกพิมพ์ นํ้ามันชักเงา เป็นต้น.
เลว : ว. มีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน เช่น กระดาษเลวเขียนหมึกแล้วซึม; สามัญ เช่น ทหารเลว ไพร่เลว; ต่ำ, ทราม, เช่น มารยาทเลว. ก. รบ, รบศึก, มักใช้เข้าคู่กับคํา รบ เป็น รบเลว.
เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
สัก ๓ : ก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้ เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทําเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนังเพื่อแสดง เป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือ เป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิก เป็นต้น.
สักกระหม่อม : ก. ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงลงกลางศีรษะ ให้เป็นอักขระหรือเครื่องหมาย.
หมก ๑ : ก. ซุกไว้ใต้ เช่น หมกดิน หมกโคลน หมกทราย, หลบหน้า เช่น ไปหมกหัว อยู่ที่ไหน, ทิ้งสุม ๆ ไว้ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วอย่าหมกไว้; เรียกวิธีทําอาหาร บางอย่างให้สุกด้วยการหมกไฟ เช่น หมกปลา หมกหัวมันเทศ.
หยด : ก. ไหลหรือทําให้ไหลหลุดออกมาเป็นหยาด ๆ เช่น น้ำหยด. น. หยาด ของเหลวที่ไหลหลุดออกมา เช่น หยดน้ำ หยดหมึก, ลักษณนามใช้เรียก สิ่งที่ไหลหลุดออกมาเช่นนั้น เช่น นํ้าหยดหนึ่ง นํ้าหมึก ๒ หยด.
หมก ๒ :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลากระบอก. (ดู กระบอก๒).
หมกไหม้ : ว. ร้อนระอุ เช่น ตกนรกหมกไหม้, มีความทุกข์มาก เช่น หัวอกหมกไหม้.
ข้าวหมก : น. อาหารชนิดหนึ่งของมุสลิม ประกอบด้วยข้าวสวย ปรุงด้วยเครื่องเทศและขมิ้น มีเนื้อไก่หรือเนื้อแพะหมกในข้าว.
มุ่นหมก : ก. กังวลรักใคร่อยู่, ลุ่มหลงอยู่, หมกมุ่น ก็ว่า.
กฤตยา ๒, กฤติยา : [กฺริดตะ-, กฺริดติ-] น. การใช้เวทมนตร์, เสน่ห์, อาถรรพณ์, เช่น มนตร์กฤตยานั้นซั้น เสื่อมสิ้นทุกอัน. (โลกนิติ), หาแม่มดถ้วนหน้า หมู่แก้ กฤติยา. (ลอ).
ขนบ : [ขะหฺนบ] น. แบบอย่าง, แผน, ระเบียบ; กลีบ, รอยที่พับ (ของสมุดข่อย หรือผ้าจีบ หรือจีวร เป็นต้น); ชั้น เช่น ขนบหิน. (ข. ขฺนบ่ ว่า สิ่งที่อยู่ ในห่อ, ที่หมก).
จม : ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลาย ที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.
ซุก : ก. หมกซ่อนหรือยัดแทรกไว้ในที่มิดชิดเช่นตามซอกตามมุม.
ดอง ๑ : ก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้ เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ; โดยปริยายหมายความว่า เก็บหมกไว้นานเกินควร เช่น เอาหนังสือไปดองไว้. ว. เรียกสิ่งที่ดองแล้วนั้น เช่น ผักดอง ยาดอง ศพดอง.